ชวนคนไทย…ป้องกันทุจริตอาหารกลางวันเด็ก

ช่วงนี้ครูประถมจะได้ยินข่าวเรื่องทุจริตในโรงเรียนอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุด ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ประกาศชัดว่าจะไม่ให้มีการทุจริตในหน่วยงานภายใน สพฐ. โดยประกาศ 7 มาตรการสกัดทุจริตในหน่วยงาน  ครูประถมมั่นใจได้ว่า การทุจริตจะหมดไป ทำให้การสอนของครูประถมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Advertisements

ชวนคนไทย…ป้องกันทุจริตอาหารกลางวันเด็ก??

Advertisements

เหตุการณ์ทุจริตอาหารกลางวันเด็กนักเรียน?? กลายเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความสะเทือนใจแก่คนในสังคมอย่างมาก ถึงขนาดนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความห่วงใย และกำชับให้ผู้รับผิดชอบไปดูแลตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
.
?ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะกำกับดูแลโรงเรียนทั่วประเทศ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ 5 แนวทาง ดังนี้
.
1. มอบนโยบายให้ทุกโรงเรียนจัดให้มีโครงการอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
2. มีกระบวนการนิเทศ ติดตาม กำกับ ประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
3. ประกาศให้สถานศึกษาในสังกัดเป็นสถานศึกษาปลอดภัย ส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชนร่วมกันทำเกษตรอินทรีย์ และนำวัตถุดิบเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน เพื่อให้นักเรียนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
4. เน้นย้ำให้ทุกโรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch เพื่อวางแผนการจัดอาหารที่มีคุณภาพ นักเรียนได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
5. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการจัดอาหารที่ปลอดภัย ขยายผลสู่โรงเรียนให้ครูผู้รับผิดชอบเป็นนักโภชนาการประจำโรงเรียน
.
ส่วนกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้กำชับผู้อำนวยการโรงเรียนทุกแห่งให้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างถูกต้องตามระเบียบและข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด และถ้าพบว่าผู้ประกอบการทำอาหารไม่ได้คุณภาพ หรือ มีปริมาณไม่เพียงพอ ทางโรงเรียนสามารถ “เลิกสัญญา” ได้ และยังตั้งคณะกรรมการในระดับอำเภอและท้องถิ่น ไปสุ่มตรวจเป็นระยะ ๆ กำหนดให้ผู้ประกอบการ “ติดรายการอาหาร” ในแต่ละวัน หากตรวจสอบพบการทุจริตทุกรูปแบบจะต้องดำเนินการทางกฎหมายทั้งแพ่ง อาญา และวินัย อย่างเด็ดขาด
.
สำหรับข้อเสนอของ “ภาคประชาสังคม” ชี้ว่า สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ “มาตรการลงโทษต้องเด็ดขาด” หากพบมีความผิดจริง ต้องได้รับโทษสูงสุด เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อไป
.
?สอง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องช่วยตรวจสอบ โดยให้บุตรหลานช่วยแจ้งเตือนว่าอาหารแต่ละมื้อของโรงเรียนที่เด็กนักเรียนรับประทานในแต่ละวันนั้นมีอะไรบ้าง อาจแนะนำให้เด็กถ่ายคลิปหรือถ่ายรูปรายงานทุกวัน เพื่อป้องปรามเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการทุจริตได้ เพราะแม้บางโรงเรียนจะจัดซื้อจัดจ้างถูกต้องตามระเบียบ แต่อาหารกลางวันที่จัดสรรให้เด็กนักเรียนกลับไม่มีคุณภาพทางโภชนาการ
.
?สาม ชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน โดยเฉพาะการนำสินค้าเกษตรในท้องถิ่นหรือชุมชนมาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร หรืออาจดำเนินการในลักษณะของการบริจาคก็ได้
.
โดยสรุปแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริตอาหารกลางวันอย่างยั่งยืน ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า เด็กนักเรียน โรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชน จะต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไข และเมื่อพบการทุจริตต้องไม่นิ่งเฉย ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ เพื่อตัดวงจรการทุจริตให้หมดสิ้นไป

แหล่งที่มา:ไทยคู่ฟ้าแฟนเพจ

Comments are closed.