การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน จะยึดตามตัวชี้วัด จะประเมินโดยใช้วิธีการ 4 รูปแบบ (โดยสถานศึกษา / ครูผู้สอนเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมิน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

รูปแบบที่ 2 การใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

รูปแบบที่ 3 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ

รูปแบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

  • สถานศึกษาส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบที่ 1 คือ บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
  • การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ควรประเมินในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด
  • หากประเมินโดยใช้เวลานอกห้องเรียน ควรมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มที่สะท้อนความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นพิเศษ
  • จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินเป็นครั้งๆ แล้วนำผลมาสรุปรวมโดยควรแบ่งระยะเวลาสรุปเป็นช่วงๆ
  • สำหรับตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับประถมศึกษามีดังนี้

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3

  1. สามารถอ่านหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย

  2. สามารถอ่านจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน

  3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม

  4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ

  5. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

  1. สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่างๆ

  2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน

  3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน

4.สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน

  1. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

การตัดสินผลการประเมินเพื่อเลื่อนชั้น – ใช้ผลการประเมินปลายปี

การตัดสินผลการประเมินเพื่อจบระดับการศึกษา- ใช้ผลการประเมินปลายปี

สุดท้ายของระดับการศึกษา

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มี ๔ ระดับ ดังนี้

ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

เขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

ดี           หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

       เขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

ผ่าน       หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

        เขียนที่มีข้อบกพร่องบางประการ

ไม่ผ่าน   หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์

  และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุง

  แก้ไขหลายประการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก krupuk