Take a fresh look at your lifestyle.

นวัตกรรมการศึกษา : นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542   ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531)

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร 

แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป 

หลักการ
โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นทฤษฎีที่มีอิทธิพล
ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการการมีออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
และ
– การจัดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Function Literacy)
– การจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ตามลำดับขั้นจนบรรลุเป้าหมาย (Mastery Learning Curriculum)
– หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (Individualized Curriculum)ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียนลักษณะสำคัญของการสอนแบบองค์รวม
– เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจําตัวหนังสือผ่านสนทนาโต้ตอบ
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้
-มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือกอย่างหลากหลาย
– ครูแนะนําสอนการอ่านในกลุ่มใหญ่มักใช้หนังสือเล่มใหญ่เห็นชัดเจนทั่วกัน
– ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย สนุกในกลุ่มย่อย และรู้จักวิธีการใช้หนังสือ
– ให้เด็กกลุ่มย่อยผลัดกันอ่าน แลกเปลี่ยนกัน ออกเสียงดัง
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้
– ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้

2. นวัตกรรมสื่อการสอน(และเทคโนโลยีการศึกษา) 

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
่ – คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)
– มัลติมีเดีย (Multimedia)
– การประชุมทางไกล (Tele Conference)
– วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video)
– บทเรียนสำเร็จรูป (Programed Instruction)
– เครื่องช่วยสอน(Teaching Machine)
– วิทยุและโทรทัศน์ช่วยสอน (Teaching By Radio and TV)
– ชุดการสอน (Learning Packages)

3. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล 

เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
– การพัฒนาคลังข้อสอบ
– การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
– การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
– การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
– การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ (Formative and Summative Evaluation)
– การประเมินผลเพื่อแก้ข้อ บกพร่อง (Diagnostic Evaluation)
– การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (Automatic Promotion)
– การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-test)
นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบางสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากร ที่มีความอำนวยด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

4. นวัตกรรมการบริหารจัดการ 

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหาร เช่น
– การจัดการศึกษาแบบเปิด (Open University)
– การจัดการศึกษาตามแนวมานุษยนิยม (Humanistic Education)
– การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
– การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (Non-Formal Education)
– การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก (Summer Hill School)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
– การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
– การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ
และจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรม
การเรียนกาารสอนเรกจิโอ เอมีเลีย การจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมีเลีย การจัดการศึกษาตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็ก ปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การ ถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การสอนในเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่การมองว่าเด็กเป็นแก้วที่ว่างเปล่า ที่ครูจะเทน้ำตามความต้องการของครูลงไป สู่เด็ก นักการศึกษาที่เรกจิโอ เอมีเลียเปรียบเทียบ การเรียนรู้ของเด็กและการสอนของครูเป็นการผสมผสาน ของวัตถุจากแก้วทั้งสองใบรวมกัน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตน สนใจ เรียนรู้ภายใต้การจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เหมาะสม กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
ปรัชญาของ เรกจิโอ เอมิเลีย
มองว่าเด็กแต่ละคนเต็มไปด้วยพลังและความสามารถตั้งแต่แรกเกิด และมุ่งหวังที่จะเป็นคนเก่งและคนดี เด็กมีวิถีของการเรียนรู้เป็นไปตามระยะ ของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กมีความสามารถที่จะแสดงออกในทิศทางเพื่อที่จะสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้อื่นรวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว

หลักสูตร
ไม่มีการกําหนดเนื้อหาแน่นอนชัดเจน วิธีปฏิบัติคือแต่ละโรงเรียนใน Reggio Emilia จะรวบรวมรายชื่อหัวข้อโครงการที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับความสนใจของเด็ก โครงการที่เตรียมอยู่ในมือครนั้นจะมีทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาว แต่ถ้าเด็กสนใจในเรื่องที่อยู่นอกเหนือรายการหัวข้อที่ครูกําหนดไว้ล่วงหน้า กิจกรรม โครงการ ในห้องเรียนก็จะปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจของเด็ก สภาพการจัดกิจกรรมและประสบการณ์จะลื่นไหลไปตามสภาวการณ์ที่สนองความสนใจของเด็กในขณะนั้น เช่นหัวข้อโครงการ “สิ่งปลูกสร้าง” (building) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการอาจปรากฏชิ้นงานของเด็กเป็นกระท่อม เสาสูง บ้านเช่าแบบห้องชุด หรืออื่นๆ ตามจินตนาการและการสร้างสรรค์จากเด็ก
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมีเลียเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือการสอนที่เน้นเด็กเป็นฐาน โดยเด็กเองเป็นคนคิดหัวข้อโครงการที่ต้องการเรียนด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนดังนี้1. ขั้นเตรียม ถึงแม้ว่าเด็กจะมีบทบาทในการเป็นผู้เลือก แต่การเตรียมส่วนหนึ่งนั้นเป็นของครู สิ่งที่ครูเตรียมได้แก่ เตรียมสื่อและอุปกรณ์สร้างสรรค์สำหรับงานศิลปะเด็ก จัดเตรียมหัวข้อโครงการที่คาดว่าเด็กจะสนใจทั้งระยะสั้น ระยะยาว สำหรับให้เด็กเลือกหรือไม่มีความเห็นว่าจะเรียนอะไร2. ขั้นดำเนินการ ครูนำประเด็นให้เด็กคิดหัวข้อที่สนใจด้วยการนำเสนอปัญหาที่เด็กคิดแก้ไข ถามแล้วให้แนวทางซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียน โดยครูอาจใช้วิธีสังเกตความสนใจของเด็กและนำมาแนะนำหัวข้อให้กับเด็กเมื่อเห็นว่าสำคัญ หัวข้อที่เรียนอาจเป็นความสนใจของครูและความต้องการทางวิชาชีพที่เห็นว่าเด็กต้องเรียน ความสนใจร่วมกันระหว่างครูกับเด็กหรือบางหัวข้ออาจนำมาจากความสนใจของผู้ปกครองหรือชุมชน
3. ขั้นสอน เมื่อมีหัวข้อโครงการแล้วครูตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การดำเนินงานตามขั้นตอนการเรียนรู้คือ
– ขั้นวางแผนงานให้เด็กหาคำตอบว่า อยากรู้อะไรบ้าง จะใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อความคิด และจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างนี้ครูต้องบันทึกความเห็นของเด็ก แนวทางการดำเนินการของเด็กแล้วนำไปวิเคราะห์ร่วมกัน
– ขั้นดำเนินการ เด็กออกหาคำตอบตามแผนการที่กำหนด ครูบันทึกความก้าวหน้าของเด็กโดยจัดทำสารนิทัศน์จากผลงานของเด็กล้วนนำมาเสนอเป็นงานเชิงศิลปะแสดง เช่น ภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ภาพวาดของเด็ก สิ่งประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ภาพปั้น วัสดุที่เด็กเก็บมาศึกษาก็สามารถนำมาแสดงเป็นผลงานได้ ซึ่งในขั้นนี้ต้องส่งเสริมให้เด็กสังเกต ใช้กระบวนการคิด สร้างสรรค์แล้วสื่องานออกมาตามระดับความสามารถของเด็กเพื่อเสนอให้ผู้อื่นทราบ
– ขั้นสรุป นำเสนอเป็นนิทรรศการให้ดูไว้เพื่อให้เห็นการการทำกิจกรรมของเด็กและความก้าวหน้าของเด็ก
4. การประเมินผล จากการคิดค้นอย่างอิสระของเด็กในหัวข้อหรือโครงการที่เด็กสนใจ เด็กจะซึมซับสิ่งที่เด็กเรียนรู้จากความคิดของตนเองและเสนอออกมาเป็นงานศิลปะ แก้ปัญหาและเพิ่มสาระจากการโต้ตอบปัญหาอภิปรายกับครูไปสู่การปรับผลงานศิลปะ และบันทึกซ้ำอีกครั้งจากการได้เห็นของจริงว่าเป็นสิ่งของ ธรรมชาติ และชุมชนและปรับความรู้อีกครั้ง ผลงานศิลปะทุกชิ้นของเด็กเป็นภาพสะท้อนการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกและประทับในจิตใจงานที่ครูสามารถนำมาประเมินได้แก่ การแสดงออกทางความคิดด้วยงานศิลปะของเด็ก ผลการเรียนรู้จากการค้นหาคำตอบของเด็ก ผลงานของเด็ก

การจัดสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับการมองเห็นของเด็กและเกิดความรู้สึกต่อห้องเรียนเรียกได้ว่า สิ่ง แวดล้อมในโรงเรียนเป็นครูคนที่สามของเด็ก สถานที่ในโรงเรียนเรกจิโอเอมิเลียต้องสวยงาม ครูต้องจัดบรรยากาศของห้องเรียนให้เหมาะกับการเรียน สิ่งแวดล้อมต่างๆต้องเหมาะกับการเรียน สิ่งแวดล้อมต่างๆจึงต้องสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยั่วยุ เชิญชวนให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆและสามารถแก้ปัญหา มีสถานที่ที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่มเล็กบ่อยๆ เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันรวมทั้งต้องมีพื้นที่ให้เด็กแสดงผลงานและสะสมผลงานของเด็ก จึงกล่าวได้ว่าการจัดสภาพแวดล้อมภาพนอกห้องเรียนและภายในห้องเรียนที่สะท้อนถึงความพิถีพิถันของการออกแบบที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างสนุกสนาน มุมกิจกรรมแต่ละมุมโต๊ะที่จัดวางวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนท้าทายและเชิญชวนให้เด็กเข้าไปค้นหาเรียนรู้ ทำกิจกรรมตามความสนใจของเด็กได้ตลอดเวลา

บทบาทของครู

ครูเป็นผู้มีบทบาทย่างมากในการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำและสื่อให้ครูทราบด้วยงานศิลปะ บทบาทของครูดำเนินการมีดังนี้1.ครูเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ให้แก่เด็ก กระตุ้นให้เด็กสื่อความคิดออกมาเป็นงานศิลปะ พร้อมสนับสนุนให้จัดสิ่งแวดล้อมเป็นงานศิลปะจากผลงานของเด็ก
2.ครูคือผู้สร้างบรรยากาศของการเรียน
3.ครูเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำตามแนวคิดของเด็กด้วยความเชื่อที่ว่าเด็กมีศักยภาพและความสามารถสูงพอที่จะแสดงออกด้วยการกระทำด้วยตัวเอง
4.ครูคือผู้ใช้ศักยภาพความสามารถของครูในการประสานการค้นหาประสบการณ์ของเด็ก
5. ครูเป็นผู้ประเมินความคิดเห็นเด็ก ติดตาม ตั้งสมมุติฐานว่าต่อไปเด็กจะพบอะไร จะเกิดการเรียนรู้อะไร พร้อมสนับสนุนให้เด็กบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เก็บข้อมูลเด็กและเก็บผลงานเด็กเพื่อจัดสารนิทัศน์การประเมินเด็ก
6.ครูเป็นผู้จัดการเวลาและโอกาสให้เด็กในการจัดผลงาน และพร้อมที่นำผลงานเด็กมาเสนอเชิงศิลปะ

การนำไปใช้

ข้อจำกัดที่เป็นข้อสังเกตของการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย คือ ใช้เวลาในการเรียนแต่ละเรื่องนาน ทำให้มีโอกาสเรียนได้น้อยเรื่อง ขอบเขตของการเรียนรู้แคบ สาระการเรียนรู้ได้มีเฉพาะเรื่องที่เรียนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กพัฒนาครอบคลุมทุกด้านครูควรบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ การเขียน อ่าน ในระหว่างกระบวนการจัดกิจกรรมในโครงการด้วยข้อดีของการเรียนการสอนแบบ เรกจิโอ เอมิเลีย คือ การจัดกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเล็ก จะช่วยเด็กในการเรียนรู้สังคมเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน เกิดการยอมรับ สร้างความอดทน ทำให้เกิดพัฒนาการด้านสังคม นอกจากนี้การใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของเด็กออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยขยายความคิดของเด็กให้กว้างออกไปด้วย ทำให้เด็กรู้สักการสังเกตสิ่งต่างๆ ในแง่มิติสัมพันธ์ ฝึกสายตา การมอง การใช้กล้ามเนื้อ สร้างความรักความชอบในงานศิลปะให้กับเด็ก (กุลยา, 2545)
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

3. นวัตกรรมสื่อการสอน(และเทคโนโลยีการศึกษา)

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
่ – คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)
– มัลติมีเดีย (Multimedia)
– การประชุมทางไกล (Tele Conference)
– วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video)
– บทเรียนสำเร็จรูป (Programed Instruction)
– เครื่องช่วยสอน(Teaching Machine)
– วิทยุและโทรทัศน์ช่วยสอน (Teaching By Radio and TV)
– ชุดการสอน (Learning Packages)เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ – คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) – มัลติมีเดีย (Multimedia) – การประชุมทางไกล (Teleconference) – ชุดการสอน (Instructional Module) – วีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video)
4.นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
– การพัฒนาคลังข้อสอบ
– การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
– การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
– การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
– การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ (Formative and Summative Evaluation)
– การประเมินผลเพื่อแก้ข้อ บกพร่อง (Diagnostic Evaluation)
– การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (Automatic Promotion)
– การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-test)
นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบางสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากร ที่มีความอำนวยด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่ – การพัฒนาคลังข้อสอบ – การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต – การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา – การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด – ฯลฯ

5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหาร เช่น
– การจัดการศึกษาแบบเปิด (Open University)
– การจัดการศึกษาตามแนวมานุษยนิยม (Humanistic Education)
– การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
– การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (Non-Formal Education)
– การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก (Summer Hill School)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
– การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
– การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ
และจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก eced06.blogspot.

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี