ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ๒๕๖๒

ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของสังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับสถานศึกษา ปี ๒๕๖๒ ที่จะประเมินในรอบปีนี้ สําหรับสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษามาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๒๘ จนกระทั่งสถานศึกษาทุกแห่งได้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มากว่าสิบปี

แต่กระแสสังคมก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบบประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษายังไม่เข้มแข็ง สถานศึกษาไม่ได้สร้างระบบประกันคุณภาพให้เกิดอย่างเข้มแข็ง มุ่งเน้น การปรับปรุงเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางปฏิบัติในการดําเนินงานการประกัน คุณภาพการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สําหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา และเตรียมการสําหรับการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งจะทําให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานจาก การดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

โดยกําหนดให้สถานศึกษาต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นดําเนินการ ดังนี้

๑. ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเพื่อให้เกิด การพัฒนาและเพื่อเป็นกลไกลในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนา และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

Advertisements

๒. การดําเนินการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ดําเนินการ ดังนี้

๒.๑ กําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษา ปฐมวัยและหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ และให้สถานศึกษากําหนดเป้าหมาย ความสําเร็จตามมาตรฐานของสถานศึกษาตามบริบทโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาทั้งนี้ สามารถเพิ่มเติมประเด็นในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา นอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ โดยสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดําเนินการและรับผิดชอบร่วมกัน

๒.๒ จัดทําแผนพัฒนาการศึกษา ๔ ปี แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ และแผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจําเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความสําเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๒.๓ ดําเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา ๔ ปี แผนการปฏิบัติประจําปีงบประมาณ และแผนปฏิบัติ การประจําปีการศึกษา

๒.๔ ประเมินผลการดําเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกําหนดผู้รับผิดชอบ และวิธีการที่เหมาะสม

๒.๕ ติดตามผลการดําเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา และนําผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา

๒.๖ จัดทํารายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษานําเสนอรายงานผลการประเมินตนเองต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ ความเห็นชอบและจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อหน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจําทุกปี

๒.๗ พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเอง (SelfAssessment Report : SAR) และตามคําแนะนําของหน่วยงานต้นสังกัดหรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๓. ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพภายนอก เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาตามข้อเสนอแนะของสํานักงานรับรองคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน กํากับดูแล เพื่อนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาต่อไป

ประกาศกระทรวงมหาดไทย

[embeddoc url=”https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/04/แนวทางการประเมินคุณภาพฯ.pdf” download=”all”]

Advertisements

คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

[embeddoc url=”https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/04/คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังก.pdf” download=”all”]

ขอขอบคุณ ข้อมูลกลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาท้องถิ่น

Comments are closed.