Take a fresh look at your lifestyle.

เคล็ดลับปรับห้องเรียน แบบ BBL  (Brain-based Learning)

การบริหารจัดการชั้นเรียน

Classroom  Tips
1.เตรียมปรับห้องเรียนใหม่   เคล็ดลับปรับห้องเรียน แบบ BBL (Brain-based Learning) เนื่องจากสภาพโรงเรียนในประเทศไทยส่วนมาก  มักอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างรก  ข้าวของที่สะสมไว้ในแต่ละปีมากขึ้นทุกวัน  ดังนั้น  โรงเรียนควรกำหนดวัน “Big Cleaning Day” (วันทำความสะอาดครั้งใหญ่) ทุกๆสองสามเดือน  โดยกำหนดวันที่แน่นอน ให้คุณครู  นักเรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดโรงเรียนด้วยถ้าโรงเรียนเปิดให้ดูงานด้วย  และมีคนมาดูงานจำนวนมาก  อาจต้องทำความสะอาดบ่อยขึ้น

1.1.นักเรียนมีส่วนร่วม  เปิดโอกาสให้นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดและทาสีโต๊ะของตัวเองเพื่อลดภาวะของคุณครูและภารโรง  การใช้กระดาษทรายขัดโต๊ะก่อนทาสี  จะทำสีติดดีและดูเรียบร้อย
1.2.ทำความสะอาดพื้นห้องเรียน  และบริเวณโรงเรียน
1.3.ทำความสะอาดโต๊ะเรียนของตัวเอง
1.4.เก็บสิ่งที่ไม่ได้ใช้ออกจากห้องเรียน

2.ปรับสีผนังห้องเรียน     ห้องเรียนควรมีสีสันกระตุ้นสมอง  ห้องเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยแ  ยังคงเป็นห้องเรียนเหมือนกับเมื่อ  100 ปีก่อน  จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสีสันให้สอดคล้องกับยุคสมัย  การใช้คู่สีที่เข้ากันจะทำให้ห้องดูสวยงาม  แต่ที่สำคัญคือ  ทำให้ห้องรู้สึกมีเอกภาพ  เป็นระบบ  ทำให้ครูสามารถควบคุมชั้นเรียนได้ง่าย
2.1.ใช้สีเดียวทั้งห้อง
2.2.เลือกทาสีเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของห้อง
2.3.เลือใช้สองสี
สิ่งที่ไม่ควรทำ
1.ไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง  เพราะรบกวนสายตาของนักเรียน
2.ไม่ใช้สีโทนมืด  หรือสีเข้ม  เช่น  ม่วง  แดง  น้ำเงิน  ส้มเข้ม  เป็นบริเวณกว้าง
3.ในห้องเรียนไม่ควรใช้สีเกิน 2 สี  ถ้าใช้ให้เน้นสีอ่อน
4.อาคารไม้ไม่ควรใช้สีน้ำมัน (ที่เงาและทึบมืด) ทา  เพราะจะทำให้ดูมืด  อึดอัดและร้อน
5.พื้นห้องควรเป็นสีเรียบ  ไม่ใช้กระเบื้องลาย  เพราะจะทำให้ห้องดูไม่สงบรบกวนสมาธิ
6.หน้าต่างและประตูควรจะเป็นสีโทนเดียวกันหมด
7.ใช้สีที่ไม่มีสารตะกั่ว  หรือสารปรอท  และมีเนื้อสีที่สวยงาม  ไม่หลุดร่อนเป็นผงเป็นฝุ่น (ควรใช้สีที่มีคุณภาพดี)

3.การปรับปรุงโต๊ะเรียนและเก้าอี้    โต๊ะเรียนและเก้าอี้ควรใช้สีโทนอ่อน  เช่น เขียวอ่อน  เหลืองอ่อน  ชมพูอ่อน  ฟ้าอ่อน  หลีกเลี่ยงสีโทนเข้ม  สีมืด  เช่น  น้ำตาล  ดำ  แดงเข้ม  เขียวแก่  สีโทนเข้ม  สีมืด  ไม่ช่วยกระตุ้นสมอง  ทำให้สมองปิดต่อการเรียนรู้
3.1.ด้านบนของโต๊ะและเก้าอี้   รองพื้นด้วยสีขาว  แล้วทาสีทับด้วยสีโทนอ่อน  เพื่อป้องกันการหลุดลอกและยืดอายุการใช้งาน
3.2.ที่พักเท้าของนักเรียน   โต๊ะนักเรียนควรมีที่พักเท้าเพื่อลดความเครียดขณะนั่งเรียนหนังสือ
3.3.ขาโ๊ะและเก้าอี้   ใช้สีขาวทาบริเวณขาโต๊ะ  และเก้าอี้ส่วนพนักพิงใช้สีเดียวกับที่นั่งจะช่วยให้ดูสวยงามมากขึ้น
4.การจัดโต๊ะเรียน     การจัดโต๊ะเรียนที่ดี  มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ต่อการสอนของคุณครู  อย่างไรก็ตามลักษณะการจัดโต๊ะเรียนขึ้นอยู่กับวิธีการสอนที่คุณครูถนัดด้วยเช่นกัน
4.1.โต๊ะหน้ากระดาน   วางโต๊ะหันหน้าเข้าหากระดาน  อาจจะวางเป็นคู่ 2-2-2  หรือ  3-2-3  หรือ  2-3-2  ก็ได้  เหมาะสำหรับ  การสอนที่ใช้กระดานดำเป็นหลัก
4.2.โต๊ะแบบกลุ่ม     การวางโต๊ะเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4 – 6 ตัว   เหมาะสำหรับ   การสอนที่เน้นให้เด็กลงมือทำกิจกรรมเองหรือเป็นกลุ่ม  มีการอภิปรายสนทนา
4.3.โต๊ะแบบตัว U    วางโต๊ะเป็นรูปตัว U และอาจเพิ่มโต๊ะตรงกลางตัว U ก็ได้  เหมาะสำหรับ  การสอนที่จะเป็นต้องใช้กระดานดำ  ไม่เน้นกิจกรรมกลุ่ม  แต่ต้องการทำให้ห้องเรียนดูแปลกใหม่และน่าสนใจ  ทำให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วม

รูปแบบการจัดชั้นเรียน

  1. U-Shape

    เคล็ดลับปรับห้องเรียน
    U-Shape

เคล็ดลับปรับห้องเรียน จัดห้องด้วยตัว”ยู” พื้นที่ว่างตรงกลางใช้ทำกิจกรรม

ข้อดี

นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ มองเห็นกันทุกคน ครูสามารถเดินไปดูแลแต่ละคนได้สะดวก ทำกิจกรรมต่างๆได้ง่าย เอ่อ…ทำความสะอาดสะดวก

ข้อเสีย

เหมาะกับห้องเรียนที่มีนักเรียนน้อยเท่านั้น ถ้านักเรียนเยอะมาก บางคนจะมองไม่เห็นกระดาน

สรุป

ห้องแบบตัวยู เหมาะสำหรับห้องที่มีนักเรียนน้อย และเน้นการเรียนแบบปฏิบัติ หรือเหมาะกับห้องแล็บ วิชาที่ต้องมีการสาธิต เป็นต้น

  1. Military

    เคล็ดลับปรับห้องเรียน
    Military

แบบทหาร(ก็ดูเป็นแถวดีนี่นา) สำหรับห้องเรียนปกติ

ข้อดี

นักเรียนได้นั่งเป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์แบบเพื่อนช่วยเพื่อน(แต่ควรปล่อยให้เลือกที่นั่งเองบ้าง หรือสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ) นักเรียนมากหรือน้อยก้จัดได้

ข้อเสีย

ครูอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง เดินดูลำบาก นักเรียนนั่งคุยกันเอง

สรุป

เหมาะกับห้องที่มีนักเรียนเยอะ แต่ควรเป็นเด็กที่มีวินัยในตนเองบ้าง เน้นการเรียนแบบทฤษฎี(มองกระดาน) เหมาะกับการเรียนแบบกลุ่ม

  1. Double Edge

    เคล็ดลับปรับห้องเรียน
    Double Edge

เรียงซ้อนสองแถวรอบสี่ทิศให้ครูอยู่ตรงกลาง คล้ายๆกับยูเชปแต่รองรับนักเรียนได้มากกว่า

ข้อดี

ที่ว่างมาก นักเรียนเห็นกันทุกคน ครูดูแลง่ายๆ เดินดูเป็นคนๆได้เลย การสอนภาคปฏิบัติครูจะสอนได้ละเอียด นักเรียนเห็นภาพชัดกว่าเดิม รองรับนักเรียนได้มากกว่ายูเชป ประยุกต์ใช้พื้นที่ได้หลายแบบ

ข้อเสีย

ไม่เหมาะกับการเรียนทฤษฎี

สรุป

ดับเบิลเอจ เหมาะกับห้องเรียนปฏิบัติที่มีนักเรียนจำนวนมาก เหมาะที่จะจัดห้องชมรมต่างๆ

ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของ เคล็ดลับปรับห้องเรียน แบบ BBL (Brain-based Learning) เท่านั้น

ขอบคุณที่มาจากvcharkarn.com

namsongkram.com

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี