Take a fresh look at your lifestyle.

แนวคิดและความหมาย การสอนแบบบูรณาการคืออะไร?

คุณครูประถมเคยได้ยินการสอนแบบบูรณาการมานานแล้วการสอนแบบบูรณาการไม่ใช้แค่การสอนแบบหลายวิชาพร้อมกัน แต่ครูประถมจะต้องเข้าใจหลักของการสอนแบบบูรณาการก่อน วันนี้เรารวบรวมข้อมุลต่างๆมาให้ครูประถมแล้ว

ความหมาย แนวคิดสำคัญ  หลักการและทฤษฎีเกี่ยวข้องและสำคัญอย่างไรมาติดตามกันค่ะ

การเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ มีกระบวนการและวิธีที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ควรใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง การปฏิบัติจริง การเรียนรู้จากธรรมชาติและการเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาและหลักสูตรที่ผสมผสานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างบูรณาการและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ วันนี้ขอนำสาระดี..ดีมาฝากเริ่มที่

 

สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Integrated Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามรถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

หลักสูตรบูรณาการ(Integrated Curriculum) หมายถึง การรวมเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ ในหลักสูตรที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันและทักษะในการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน โดยการตั้งเป็นหัวข้อเรื่องขึ้นใหม่ และมีหัวข้อย่อยตามเนื้อหาสาระ อีกทั้งสอดคล้องกับบริบทการเรียนรู้ของสังคมอย่างสมดุล มีความหมายแก่ผู้เรียน และให้โอกาสผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองให้มากที่สุด และการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนหลายวิธี จัดกิจกรรมต่างๆในการสอนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงกัน ตลอดจนมีการฝึกทักษะที่หลากหลาย (สิริพัชร์  เจษฏาวิโรจน์. 2546 : 16)

            นักวิชาการศึกษาหลายท่าน ได้กล่าวถึงความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Lardizabal and Others. (1970: 141)  กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ยังผลให้เกิดการพัฒนาในด้านบุคลิกภาพในทุก ๆ ด้าน ผู้เรียนสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อทุกสถานการณ์ การแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้พื้นฐาน การสอนแบบบูรณาการจะให้ความสำคัญกับครูและนักเรียนเท่าเทียมกัน ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตย

กาญจนา คุณารักษ์.( 2522:21)  กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนรู้ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางจิตพิสัย และพุทธิพิสัย หรือกระบวนการหรือการปฏิบัติในอันที่จะรวบรวมความคิด มโนภาพ ความรู้ เจตคติ ทักษะ และประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล

สุมานิน รุ่งเรืองธรรม.(2522:32) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนเพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพื่อการเรียนรู้ที่มีความหมาย ให้เข้าใจลักษณะความเป็นไปอันสำคัญของสังคม เพื่อดัดแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เข้ากับสภาพชีวิตได้ดียิ่งขึ้นย่างต่อไปนี้

ผกา สัตยธรรม.( 2523:45-54) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง ลักษณะการสอนที่นำเอาวิชาต่างๆ เข้ามาผสมผสานกัน โดยใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักและนำเอาวิชาต่าง ๆ มาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามความเหมาะสม

นที ศิริมัย.(2529:63-65) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง เทคนิคการสอนโดยเน้นความสนใจความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน ด้วยการผสมผสานเนื้อหาวิชาในแง่มุมต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน เป็นการสร้างความคิดรวบยอดให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน และยังสามารถนำความคิดรวบยอดไปสร้างเป็นหลักการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วย

           โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งทางด้านสติปัญญา(Cognitive) ทักษะ (Skill) และจิตใจ (Affective) สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

                                    การสอนแบบบูรณาการ มีกรอบแนวความคิด ดังนี้

     1. ศาสตร์ทุกศาสตร์ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้ เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของคนที่ต้องดำรงอยู่อย่างประสานกลม

กลืนเป็นองค์รวม การจัดให้เด็กได้ฝึกทักษะและเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จะทำให้การเรียนรู้มีความหมาย

สอดคล้องกับชีวิตจริง

    2. การจัดการเรียนรู้อย่างบูรณาการ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา ลดเวลาการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นการแบ่งเบาภาระในการสอนของครู

    3. การเรียนแบบบูรณการ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด ประสบการณ์ความสามารถและทักษะต่างๆ อย่าง

หลากหลาย ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อมๆ กัน

ลักษณะของการบูรณาการ มีลักษณะโดยสรุป  ดังนี้
1. การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ ในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย (  Unit ) หรือหัวเรื่อง ( Theme )
2. การบูรณาการเชิงวิธีการ  เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอน  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี  การสนทนา  การอภิปราย  การใช้คำถาม  การบรรยาย  การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม  การไปศึกษานอกห้องเรียน  และการนำเสนอข้อมูลเป็นต้น
3. การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อม ๆ กัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดเป็นต้น
4. การบูรณาการความรู้  ความคิด  กับคุณธรรม  โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน  เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม ”
5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน พยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน (สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์.  2546: 25)

                      แนวคิดสำคัญของการจัดหลักสูตรบูรณาการและการสอนแบบ บูรณาการ

                               แนวคิดรูปแบบการบูรณาการในหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

คำว่าบูรณาการ (Integration) หมายถึง การทำให้สมบูรณ์สมดุลในตัวเองจนนำไปใช้ประโยชน์ได้

Jacob (อ้างถึงใน FraZee and Rudnitski, 1998 : 137-138) ได้เสนอรูปแบบของการบูรณาการ 5 ลักษณะซึ่งเรียกว่า Five option for integration  ไว้ดังนี้

1.   Discipline Based เน้นเนื้อหาของแต่ละรายวิชา สอนแยกกัน

2.   Parallel เป็นการสอน 2 วิชาในเนื้อหาร่วมกัน (Concurrent Event)

3.   Multidisciplinary เป็นการสอนหลายวิชาแยกกัน แต่สอนในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน

4.  Interdisciplinary เป็นการสอนหลายวิชาร่วมกันในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน

5.  Integrated เป็นการรวมระหว่างการผสมผสานเนื้อหาหลายวิชากับกิจกรรมการเรียนการสอน

จากรูปแบบแนวคิดของจาคอบนั้น ในข้อ 2-4 เป็นการบูรณาการที่แสดงถึงการจัดเนื้อหาวิชาต่างๆในหลักสูตร แต่ถ้าเป็นการบูรณาการในแง่ของการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ จะเป็นการบูรณาการแบบ Integrated Learning ในข้อ 5

                                               แนวคิดการสร้างหลักสูตรบูรณาการ 

Ornstein and Hunkins. (1988:321-325) ให้แนวคิดการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ(Integrated Curriculum) คือการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกประเภทเข้าด้วยกันในแผนการจัดหลักสูตรโดยเน้นการเชื่อมโยงประเด็นและหมวดหมู่จากเนื้อหาต่างๆ ทั้งหมด เข้าด้วยกันในแนวนอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพรวมของความรู้และได้เรียนรู้ความหมายที่ลึกซึ้งของสาระวิชาที่เรียน ซึ่งจะต้องมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบในแนวนอน ในลักษณะเป็นหน่วยเดียวกันไม่แยกเป็นส่วนๆและแต่ละราชวิชาต้องเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆ ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน

ดังนั้นสรุปว่ากิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการจะเน้นที่แนวคิด ของประเด็นในปรากฏการณ์จริง ซึ่งต้องนำความรู้จากเนื้อหาวิชาต่างๆมาประสานเชื่อมโยงกันและกันในลักษณะใหม่

                                              แนวคิดสำคัญการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

Lardizabal and others. (1970:142-143) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ต้องยึดหลักสำคัญที่ว่าแกนกลางของประสบการณ์อยู่ที่ความต้องการของผู้เรียนและประสบการณ์ในการเรียนรู้ จัดเป็นหน่วยการเรียน

หน่วยการเรียนอาจแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ได้ 3 ประเภท

1. หน่วยเนื้อ หา (Subject – Matter Unit) เป็นการเน้นหน่วยเนื้อ หาหรือหัวข้อเรื่องต่างๆหลักการหรือสิ่งแวดล้อม

2. หน่วยความสนใจ (Center of Interest Unit) จัดเป็นหน่วยขึ้นโดยพื้นฐานความสนใจและความต้องการ หรือจุดประสงค์เด่นๆของผู้เรียน

3. หน่วยเสริมสร้างประสบการณ์ (Integrative Experience Unit) เป็นการรวบรวมประสบการณ์ หรือจุดเน้นอยู่ที่ผลการเรียนรู้และสามารถนำไปสู่การปรับพฤติกรรม การปรับตัวของผู้เรียน

หน่วยดังกล่าว หมายถึง กลุ่มกิจกรรมหรือ ประสบการณ์ที่จัดไว้เพื่อสนองจุดมุ่งหมายหรือสำหรับการแก้ปัญหาใด ปัญหาหนึ่ง การเรียนเริ่มจากจุดสนใจใหญ่ แล้วแยกไปสู่กิจกรรมในแง่มุมต่างๆ จนกระทั่ง ผู้เรียนสามารถตอบสนองสถานการณ์ที่กำหนดไว้ได้

Unesco- unep. (1994: 51) กำหนดลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนไว้ 2 แบบคือ

1. แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ได้แก่ การสร้างเรื่อง (Theme) ขึ้น มาแล้วนำความรู้จากวิชาต่างๆมาโยงสัมพันธ์กับ หัวเรื่องนั้นซึ่งบางครั้ง เราก็อาจเรียกวิธีการบูรณาการ แบบนี้ว่า สหวิทยาการแบบหัวข้อ (Themetic Interdisciplinary Studies) หรือการบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก (Application – First Approach)

2. แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ได้แก่การนำเรื่องที่ต้องการจะจัดให้เกิดการบูรณาการไปสอดแทรก (Infusion) ไว้ในวิชาต่างๆซึ่งบางครั้ง เราก็อาจเรียกวิธีการบูรณาการ แบบนี้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อ หารายวิชาเป็นหลัก (Discipline – First Approach)

                                           สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546 : 184-191) ให้แนวคิดการแบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ คือ

แบบที่ 1. จำแนกตามจำนวนผู้สอน มี 3 ลักษณะ คือ

1.1    การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆกับหัวเรื่องที่สอดคล้องกันกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมาเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด

1.2    การบูรณาการแบบคู่ขนาน มีผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยอาจยึดหัวเข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนานกันไปภายใต้เรื่องเดียวกัน

1.3    การบูรณาการแบบสอนเป็นทีม ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันคิดหัวข้อเรื่องหรือโครงการมาโดยใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกัน อาจรวมจำนวนชั่วโมงของสาระการเรียนรู้ต่างๆแบบมีเป้าหมายเดียวกัน

     แบบที่ 2.  จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

2.1 การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงแนวคิด ทักษะและความคิดรวบยอดของสาระการเรียนรู้สาระใดสาระหนึ่งนั่นเอง

2.2 การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกันเพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน

     แบบที่ 3.  จำแนกตามประเภทของการบูรณาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

3.1 การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นลักษณะการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ การนำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงร้อยรัดให้เป็นเนื้อเดียวกันเพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน

3.2 การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ เป็นลักษณะการบูรณาการที่ผู้สอนนำเอาเรื่องหรือสาระการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ไปสอดแทรกในสาระการเรียนรู้หรือวิชาที่ตัวเองรับผิดชอบสอน

ทิศนา  แขมมณี และคณะ. (2548: 188-192) แบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. การบูรณาการภายในวิชา (Interdisciplinary) หมายถึง การนำเนื้อหาสาระในวิชาเดียวกัน หรือกลุ่มประสบการณ์เดียวกันมาสัมพันธ์กันผู้สอนสามารถนำสาระทุกเรื่องมาสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวได้
  2. การบูรณาการระหว่างวิชา (Interdisciplinary หรือ multidisciplinary) หมายถึง การนำเนื้อหาสาระของสองวิชา หรือหลายๆวิชามาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกันภายใต้หัวข้อเรื่อง “theme” ที่เลือกในส่วนบูรณาการระหว่างวิชา สามารถจัดได้หลายลักษณะด้วยกัน และนำเสนอ 4 รูปแบบ ดังนี้

แบบสอดแทรก(Infusion) คือลักษณะการจัดการเรียนรู้จะสอดแทรกเนื้อหาหรือทักษะกระบวนการของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระของตน โดยมีผู้สอน 1 คน

แบบคู่ขนาน(Parallel) คือลักษณะการจัดการเรียนรู้จะมีครู 2  คนขึ้นไป 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ขึ้นไปวางแผนร่วมกันตามหัวเรื่อง/มโนทัศน์ (concept) /ปัญหา (problem) เดียวกันและเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ กระบวนการและคุณธรรม แล้วต่างคนต่างสอนเนื้อหาตามกลุ่มสาระของตนเองโดยมีเป้าหมายร่วมกัน

แบบพหุวิทยาการ(Multidisciplinary) แบ่งเป็น 4  ลักษณะดังนี้คือ

– แบบสอนคนเดียว คือจะจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆกับหัวเรื่อง/มโนทัศน์/ปัญหาที่สอดคล้องกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมา

– แบบแยกกันสอน คือการจัดการเรียนรู้จะคล้ายแบบคู่ขนานโดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆตามหัวเรื่อง/มโนทัศน์/ปัญหา แล้วต่างคนต่างสอนเนื้อหาตามกลุ่มสาระของตัวเองแต่มอบหมายให้ทำโครงงานเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆร่วมกันหรือบางเรื่องจัดสอนด้วยกัน

– แบบสอนร่วมกันหรือแบบคณะ คือ การจัดการเรียนรู้จะร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือ กำหนดหัวเรื่องความคิดรวบยอดหรือปัญหาร่วมกันสร้างหน่วยเรียนรู้บูรณาการร่วมกันและสอนเป็นทีมหรือแยกกันสอนในบางเรื่อง

– แบบข้ามวิชา (Transdisciplinary) คือลักษณะการจัดการเรียนรู้เป็นการบูรณาการที่สูงขึ้น สลัดความเป็น “วิชา” ของแต่ละศาสตร์ออกไปเป็นการเรียนโดยมีเค้าโครงหรือโจทย์ประเด็นปัญหาที่วางไว้ผู้เรียนเรียนรู้หรือแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยผ่ากิจกรรมและการศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย

กรมวิชาการ. (2549 : 3-4) ได้แบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. การบูรณาการภายในวิชา เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันเข้าด้วยกัน
  2. การบูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ ดังนี้

การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการสอนในลักษณะที่ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชาอื่นๆในการสอนของตน

การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชากันหรือต่างคนต่างสอน

การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการสอนบูรณาการแบบคู่ขานแต่มีการมอบหมายงานหรือโครงการร่วมกัน

การสอนแบบบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ผู้สอนวิชาต่างๆร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีมวางแผนปรึกษาร่วมกัน โดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด ปัญหาร่วมกันแล้วร่วมกันสอนผู้เรียนเป็นกลุ่มเดียว

                                                             หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

                                     ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม (Cognitive Theory)

          สุรางค์ โค้วตระกูล. (2537 : 149 – 159) ได้กล่าวถึงนักจิตวิทยากลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Psychologist : 1920-1930) ได้แก่ จอง พีอาเจต์ Jean Piaget) โจโรม เอสบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) และ เดวิด พี. อ๊อสชุเบล (David P. Ausuber) ซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าต้องเกิดจากตัวผู้เรียนเอง กล่าวคือ จะเน้นความสัมพันธ์ของส่วนย่อย โดยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของส่วนย่อยส่วนใดส่วนหนึ่งจะมีผลต่อส่วนรวม และจากการทำการวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ได้ข้อสรุปว่า การรับรู้ของคนส่วนมากจะเป็นอัตวิสัย (Subjective) ซึ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียนว่าจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้น เรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้(Insight) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงกระบวนการรู้คิด (Cognitive Process)ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าที่เป็นสิ่งแวดล้อมของปัญหาที่ตนกำลังเผชิญอยู่ นักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

พีอาเจต์ เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้กระทำที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าหรือสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำให้เกิดขึ้น (Active) ซึ่งสอดคล้องกับดุย (Dewey) ที่กล่าวว่า “Learning by Doing” ซึ่ง พีอาเจต์กล่าวว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) ของผู้เรียน ซึ่งการนำทฤษฎีของพีอาเจต์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะเน้นหลักการต่างๆ ดังนี้

1. กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ ผู้เรียนแต่ละวัยจะมีลักษณะการคิดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจผู้เรียนแต่ละวัยว่ามีการรู้คิดอย่างไร

2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ผู้เรียนจะสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self – Regulation) และเป็นผู้ที่จะริเริ่มลงมือกระทำ ผู้สอนมีหน้าที่อบรมและจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการค้นพบ ให้โอกาสผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

3. ในการสอนควรเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคยหรือเริ่มจากประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจ

บรูเนอร์ เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลข่าวสารจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้นๆการเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น บรูเนอร์ กล่าวไว้ว่า วิธีการที่ ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้มี 3 ขั้น คือ วิธีการที่ใช้รูปธรรม (Enactive Mode) วิธีการที่ใช้กึ่งสัญลักษณ์ (Iconic Mode) และวิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Mode) และเชื่อว่าถ้าผู้สอนเข้าใจพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนและจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ตามขั้นพัฒนาการของตน

อ๊อสซุเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รวมหรือเชื่อมโยง (Subsume) สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ซึ่งอาจจะเป็นความคิดรวบยอดหรือความรู้ที่ได้รับใหม่ไว้ในโครงสร้างของสติปัญญาหรือความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน ซึ่งอ๊อสซุเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท คือ การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaning Reception Learning) การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิด (Rote Reception Learning) การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery Learning) การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด (Rote Discovery Learning)

                                       ทฤษฏีพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory)

        Gardner. (อ้างถึงใน สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์, 2546 : 12) ได้เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆ เรียกว่า ทฤษฏีพหุปัญญา โดยสรุปไว้ว่า คนทุกคนมีความสามารถทางสติปัญญาหลายด้านและแตกต่างกันสามารถนำสติปัญญาไปใช้ในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ สติปัญญาในแต่ละด้านเป็นอิสระซึ่งกันและกันและทุกคนสามารถพัฒนาสติปัญญาเหล่านี้ได้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสติปัญญาที่หลากหลายเหล่านี้ด้วยการใช้วิธีสอนหลายวิธีและหลายรูปแบบให้นักเรียนปฏิบัติได้สอดคล้องกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆของตน

ความสามารถทางสติปัญญา 8 ด้าน ได้แก่

  1. สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการใช้ทักษะทางภาษา การแสดงออก การเข้าใจถ้อยคำ และศิลปะในการสื่อสารกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสติปัญญาด้านนี้ ได้แก่ การเล่าเรื่อง การพูดในโอกาสต่าง การฟัง เขียนบทความ หรือนิทาน การเขียนเชิงสร้างสรรค์
  2. สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลและคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถในการคิดหาเหตุผล มีความเข้าใจในความสัมพันธ์ของการกระทำ วัตถุ และความคิดมีความสามารถในการคำนวณ การพิจารณาปัญหาและแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมด้านนี้ได้แก่ การฝึกแก้ปัญหา การใช้เหตุผล เล่นเกมฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์
  3. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เป็นความสามารถด้านการมองเห็นสิ่งต่างๆ สร้างสิ่งที่สร้างสรรค์หรือจินตนาการภายในใจ เข้าใจภาพหลายมิติ การออกแบบ การเดินเรือและสถาปัตยกรรม กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสติปัญญาด้านนี้ได้แก่ การสร้างสรรค์ภาพ การสร้างรูปแบบ การใช้สัญลักษณ์ กราฟฟิค การใช้แผนภูมิ การทำแผนผังความคิด แผนที่การสร้างรูปบ็ลอค
  4. สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวด้านร่างกายและกล้ามเนื้อ เป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย การแสดงออกทางอารมณ์ ภาษาท่าทางและการออกกำลังกาย กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมด้านนี้ คือการใช้ร่างกายเป็นสื่อในการเรียนการสอน แสดงท่าทาง แสดงละคร แสดงบทบาทสมมุติ เล่นเกม การศึกษานอกสถานที่ และการรำหรือทำท่าทางประกอบเพลงหรือเสียงดนตรี
  5. สติปัญญาด้านดนตรี เป็นความสามารถเกี่ยวกับท่วงทำนอง จังหวะ ระดับเสียงสูงต่ำ สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ ร้องเพลงร่วมกับผู้อื่นได้ กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสติปัญญาด้านนี้ คือใช้เพลงหรือดนตรีประกอบในการปฏิบัติ กิจกรรม ให้ดนตรีช่วยสร้างภาพในสมอง การแต่งเพลง ใช้เครื่องเคาะจังหวะดนตรี
  6. สติปัญญาด้านการเข้าใจผู้อื่น เป็นความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและพฤติกรรมผู้อื่น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เป็นผู้นำ ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมด้านนี้ได้แก่ การทำกิจกรรมในรูปแบบการร่วมมือ การทำงานกลุ่ม การอยู่ค่ายพักแรม
  7. นบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ของตน การฝึกประเมินตนเอง
  8. สติปัญญาด้านการเข้าใจธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวศึกษาธรรมชาติอย่างมีระบบ(มีต่อค๊า..โปรดติดตาม หลักการและขั้นตอนการออกแบบการสอนแบบบูรณาการห้ามพลาดนะคะ มีสาระและประโยชน์มากมายนำมาฝากค่ะ)
  9. สติปัญญาด้านการเข้าใจตัวเอง เป็นความสามารถในการรู้จักและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเอง เช่น ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ การรับรู้ การคิด กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมด้านนี้ คือการสร้างแรงจูงใจจากภายใน การศึกษาอิสระ การพูดหรือเขีย

ที่มา กตุนภัส สัมฤทธิ์

 

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี