Take a fresh look at your lifestyle.

นักวิทยาศาสตร์ชี้ชัด เด็กเรียนรู้ด้วยการเล่น ดีกว่า ตำราเรียน

คุณครูประถมหรือผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ให้เขาได้อยู่กับเพื่อนๆ บ้าง จะ่วยให้เข้าได้เข้าสังคมอย่างถูกต้อง และเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง ไปดูรายละเอียดกัน

นักวิทยาศาสตร์และพิธีกรชื่อดังจากไต้หวัน Daisy L. Hung เผย ปัจจุบันพ่อแม่เด็กหลายคนเข้าใจว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องจำเป็น ในเวลาว่างก็มักหาหนังสือมาอ่านให้ลูกฟังเสมอ หรือไม่ก็บังคับให้นั่งอ่า­­นหนังสือเฉยอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการอ่านหนังสืออย่างเดียวคือการเล่นสนุกมากกว่า สัญชาตญาณการเล่นสนุกของเด็กนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าการอ่านหนังสือ นอกจากนี้พ่อแม่ยังควรจะพาเด็กออกไปเล่นสนุกและพบเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกันด้วย

มีเด็กเกเรที่ชอบแกล้งเพื่อนในชั้นอนุบาลหลายคน พวกเขาเวลาอยู่บ้านทำตัวเรียบร้อย ชอบอ่านหนังสือ แต่เมื่ออยู่ที่โรงเรียนอนุบาลกลับไม่รู้วิธีเข้าหาเด็กคนอื่น คิดว่าการแกล้งคนอื่นเป็นเรื่องสนุกสนานแทน อย่างเช่นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้

เด็กคนหนึ่งในวัยขวบครึ่ง คุณแม่มักอุ้มเธออ่านหนังสือนิทานด้วยกัน จนในวัยสองขวบครึ่งก็เริ่มเปิดดูหนังสือได้ตัวคนเดียว ญาติต่างพากันชมว่าเป็นเด็กที่เรียบร้อย แต่เมื่อถึงวัยห้าขวบ คุณครูประจำชั้นอนุบาลก็เริ่มรายงานว่าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบตีและผลักเด็กคนอื่น คุณแม่จึงไปเฝ้าสังเกตพฤติกรรมด้วยตัวเองที่โรงเรียน เธอจึงพบว่าอันที่จริงลูกของเธอไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเด็กคนอื่น เพียงแค่อยากเล่นด้วยและยังไม่รู้วิธีเข้าหาเด็กคนอื่นก็เท่านั้นเอง

ถึงแม้จะเป็นลูกคนเดียวที่ครอบครัวมีเวลาเอาใจใส่และดูแลได้มากกว่า แต่น้องก็ไม่รู้วิธีการคุยกับเด็กคนอื่นเลย แถมเวลาต้องการเล่นกับเด็กคนอื่นที่โรงเรียนก็ต้องดึงเสื้อเด็กคนอื่น หรือไม่ก็ผลักเด็กคนอื่นที่กำลังเล่นอยู่ เพื่อเข้าไปแทนที่เด็กคนนั้นและเล่นด้วย คุณแม่จึงค้นพบว่าที่ผ่านมาเธอเลี้ยงดูลูกอย่างผิดมาตลอด ผิดที่เธอไม่ยอมพาเด็กออกไปเล่นกับเด็กคนอื่นเลย และผิดที่เธอคิดว่าการอ่านหนังสือนั้นดีสำหรับเด็ก เธอลืมไปว่าเด็กยังต้องเรียนรู้วิธีการเข้าหาเด็กอื่นด้วย

ต้องยอมรับว่าแม่ในยุคใหม่เกือบทุกคนต่างคิดว่าอยู่บ้านดีกว่า เพราะข่าวอาชญากรรมและปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นนอกบ้าน ทั้งรถยนต์ คนแปลกหน้า และมลพิษทางอากาศที่ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น ในยุคสมัยนี้แม้แต่การเดินเล่นในสวนสาธารณะใกล้บ้านก็มีความเสี่ยงถูกลักพาตัวไปได้ และยังต้องเสี่ยงกับเชื้อโรคที่อยู่ตามเครื่องเล่นที่ไม่มีคนดูแลอีก ดังนั้นการไปเล่นนอกบ้านครั้งแรกในชีวิตของเด็กคนนี้ กว่าจะได้เกิดขึ้นก็เมื่ออายุ 5 ขวบเข้าไปแล้ว เด็กอาจคิดไม่ถึงว่า วิธีการเล่นแบบที่เคยใช้กับคุณแม่หรือญาติสนิทนั้น ไม่สามารถใช้ได้ที่โรงเรียนอนุบาลเลย ด้วยความอยากมีส่วนร่วมในการเล่น น้องจึงต้องใช้วิธีดึกดำบรรพ์จากสัญชาตญาณ นั่นคือการแย่งชิงและใช้กำลังนั่นเอง ทำร้ายร่างกายและใช้กำลังเพื่อสื่อสารกับเด็กคนอื่นจนเคยชิน ทำให้อาจารย์และผู้ปกครองคนอื่นเข้าใจว่าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวในห้องเรียน

เริ่มต้นจาก 3 ขวบ

นักมานุษยและสังคมวิทยาจากเยอรมันคนหนึ่งเคยอธิบายถึงการเข้าสังคมในวัยเด็กไว้ว่า เด็ก 3 ขวบก็สามารถปล่อยให้เล่นเป็นกลุ่มได้แล้ว อันที่จริงเด็กเรียนรู้ได้จากการเข้าสังคม เมื่อโตขึ้นก็จะสามารถอธิบายได้ถึงกฎของการเข้าสังคม และยังช่วยเตือนคนที่ไม่ทำตามกฎอีกด้วย

เช่น การขโมยหรือทำร้ายร่างกายก็จะถูกขับออกจากกลุ่ม ดังนั้นกระบวนการขัดเกลาสังคมของเด็กจึงเริ่มต้นจากกฎเล็กน้อยของการเล่นเป็นกลุ่มเช่นนี้ ในช่วงเริ่มแรกเด็กที่โตกว่าและเข้าใจมากกว่าจะให้โอกาสเด็กที่ไม่รู้จักการเข้าสังคมให้ได้ปรับตัว

 

หากผ่านพ้นขีดจำกัดการอดทนแล้ว ก็จะไม่เล่นกับเด็กคนนั้นอีกต่อไป เด็กจะเรียนรู้ได้เองว่าพฤติกรรมไหนที่ควรโมโห และกฎเกณฑ์สังคมแบบไหนที่ควรปฏิบัติ นอกจากนี้ผู้วิจัยหลายคนยังคิดว่ากระบวนการขัดเกลาทางสังคมของเด็กได้เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มทางสังคมเช่นนี้

การเล่นนอกจากช่วยให้เรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว ยังช่วยให้เด็กรู้จักกฎของการอยู่ร่วมกัน นักจิตวิทยาจากอเมริกาคนหนึ่งได้ทดลองผูกด้ายเข้ากับข้อเท้าของลูกตัวเอง จากนั้นนำปลายของเส้นด้ายผูกเข้ากับตะเกียงที่ห้อยอยู่ เมื่อทารกตื่นขึ้นมา เท้าขยับก็ทำให้ตะเกียงหมุนตาม เด็กเมื่อเห็นก็หัวเราะชอบใจ และทารกก็เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า เมื่อขยับเท้า ตะเกียงที่ห้อยอยู่จะหมุนตาม

แต่เมื่อลองเปลี่ยนตะเกียงเป็นสีอื่นหรือรูปร่างทรงอื่น หรือย้ายที่นอนไปยังห้องรับแขก เด็กก็ไม่ขยับข้อเท้าอีกต่อไป ทำให้นักวิจัยสรุปได้ว่าต้องทำการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในระหว่างที่กำลังเรียนรู้อยู่ ทารกถึงจะขยับข้อเท้าเหมือนตอนแรก ดังนั้นการเรียนรู้ในวัยเด็กจึงจำเป็นต้องมีความหลากหลายและยืดหยุ่น เพื่อช่วยในกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพขึ้น

จึงจำเป็นที่จะให้เด็กต้องเรียนรู้มากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน มิเช่นนั้นเด็กก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมจึงทำแบบนี้กับคุณแม่ได้ แต่ทำกับเพื่อนไม่ได้

เด็กๆ ต้องการการเรียนรู้ในการเข้าร่วมสังคม หรือเข้ากลุ่มเพื่อน เราต้องให้โอกาสเขาพบเจอกับเด็กคนอื่นบ้าง หนังสือเรียนถึงแม้จะให้ความรู้ แต่การเล่นกับเด็กคนอื่นจะสอนให้เด็กรู้จักเข้าสังคม ซึ่งจะต้องให้เด็กเรียนรู้ไปพร้อมกัน ดังนั้นพ่อแม่ทุกคนนอกจากจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังแล้ว ยังต้องพาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นด้วย

ในกระบวนการเติบโตของเด็ก ตามทฤษฎีแล้วการเล่นนั้นสำคัญกว่าการเรียนหนังสือ เพราะพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กจะสามารถสร้างได้ในวัยนี้ ปัจจุบันนอกจากความรู้จะสำคัญแล้ว ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์และสุขภาพจิตที่ปกติ เพื่อจะได้เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพในสังคมต่อไป

ที่มาดีๆจาก: liekr

เรียบเรียงโดย krupatom.com

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี