ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ

ทุกวันที่ 20 กันยายน เป็นวันเยาวชน ครูประถมให้ความสำคัญกับเยาวชนและอนาคตมาก จึงมีความรู้ดีดีมาฝากครูทุกท่านค่ะ หากมีข้อปัญหา ท่านสามารถทักมาหรือติดตามข่าวผ่านทาง ช่องทางดังต่อไปนี้

เฟสบุ๊คแฟนเพจ  ครูประถม.คอม
ไลน์แอด ครูประถม.คอม

 

สังคมในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเยาวชน ที่จะมาสร้างและพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ซึ่งคุณครูก็ต้องอบรมสั่งสอนให้เยาวชนเติบโตเป็นเมล็ดพันธ์ุที่ดีด้วย ดังนั้นองค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ปีพุทธศักราช 2528 เป็นปีเยาวชนสากล และขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ “Participation Development and Peace”

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กำหนดให้ วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล อันเนื่องมาจากตรงกับวันคล้ายวัน พระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงค์จักรีถึงสองพระองค์ คือ

Advertisements
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468

นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ยังขึ้นครองราชย์สมบัติขณะยังทรงพระเยาว์เหมือนกันอีกด้วย

ความหมายของเยาวชน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เยาวชน” ไว้หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส

ขณะที่องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายสากลของคำว่า “เยาวชน” หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี

คำขวัญวันเยาวชน
Participation, Development and Peace” ถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” ซึ่งมีความหมายละเอียดลึกซึ้งต่อเยาวชนทุกคน สามารถยึดถือและนำไปปฏิบัติ

เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ 

นับแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป เยาวชนของชาติจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นเยาวชนจำนวน 11 ล้านคนซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรได้ตระหนักว่า เยาวชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและ เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น  โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ข้อคือ

Advertisements
  1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 – 25 ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
  2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม
  3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล

คุณสมบัติเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์
“เด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ควรมีคุณสมบัติ 6 ประการ

  1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะในอาชีพและการดำรงชีวิตที่รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
  2. มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรงและรู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด
  3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบตามวัย
  4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในการทำงานสุจริต
  5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ

อ้างอิง: tlcthai

ที่มา: tkpark

Comments are closed.