อบรม หลักสูตร ความปลอดภัยรอบด้าน ในโรงเรียน thaisafeschools

โครงสร้างและกลไกพื้นฐานให้ปลอดภัยเพื่อลดผลกระทบจากภัยธรรมชาตินั้นๆ thaisafeschools

วันนี้ ครูประถม ขอนำโครงการ หลักสูตร ความปลอดภัยรอบด้าน ในโรงเรียน thaisafeschools โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และ Save the Children

เป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ให้แก่ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้รู้ถึงความเสี่ยงภัยของตนโดยเฉพาะในพื้นที่ และสามารถวางมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมตลอดจนสามารถดูแลผลกระทบเมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ เป็นโครงการที่ดี จัดทำขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติในสถานศึกษา ให้บุคลากรทางการศึกษา ครูและนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ความเสี่ยงภัยของตนโดยเฉพาะภัยในพื้นที่ สามารถวางมาตรการและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม

Advertisements

ตลอดจนสามารถดูแลรักษาโครงสร้างและกลไกพื้นฐานให้ปลอดภัยเพื่อลดผลกระทบจากภัยธรรมชาตินั้นๆ และหากประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติ ก็สามารถฟื้นตัวได้ด้วยแนวทางและทรัพยากรที่มีในระยะเวลาที่เหมาะสม

โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ประเมินผลจากการวัดค่าพื้นฐาน Baseline ด้าน Safe School

ก่อนเริ่มเรียนให้ผู้เรียนพิจารณาคะแนน Baseline ของสถานศึกษา เพื่อประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงของสถานศึกษา

  1. ลงทะเบียนเข้าห้องเรียนออนไลน์

เริ่มต้นการ ลงทะเบียน พร้อมเริ่มศึกษาได้ทันที การเรียนโดยให้ผู้เรียนเริ่มศึกษาทีละบท ทีละหัวข้อ โดยสามารถเรียนซ้ำ หยุดเรียน หรือเรียนต่อเมื่อไหร่ก็ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์

Advertisements

สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียน บุคลากรทางการศึกษา

 

  1. ทำแบบทดสอบ ก่อนเรียน / หลังเรียน

ผู้เรียนสามารถประเมินความรู้ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ของตัวเองว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงภัยพิบัติอยู่ในระดับใด

  1. แนวทางการจัดการเรียนรู้

รวมสื่อความรู้และแนวทางการจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ แก่สถานศึกษา บุคลากรในโรงเรียน เจ้าหน้าที่ ประชาชนในชุมชน รวมทั้งให้ความรู้แก่เด็กเพื่อสร้างความรู้และทักษะเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

สามเสาหลัก

ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษา มีความสอดคล้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในระดับประเทศ , ภูมิภาค , จังหวัดและดับพื้นที่รวมทั้งโรงเรียน กรอบแนวคิดความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่

เสาหลักที่ 1 สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนที่ปลอดภัย

ผู้มีบทบาทหลัก : บุคลากร/หน่วยงานด้านการศึกษาและการวางแผน สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้างบุคลากรโรงเรียน และสมาชิกชุมชนที่มีบทบาทในการตัดสินใจด้านการเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่ปลอดภัย การออกแบบ การก่อสร้าง และการดูแลรักษาโรงเรียน (รวมถึงการเข้าถึงอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างปลอดภัยสม่ำเสมอ)

เสาหลักที่ 2 : การบริหารจัดการภัยพิบัติในโรงเรียน

ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้บริหารภาคการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด รวมทั้งชุมชนโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งร่วมงานกับหน่วยงานด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ ในระดับโรงเรียน ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ปลอดภัย ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การประเมินและลดความเสี่ยงทางสังคมสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภคและความเสี่ยงที่ไม่ใช่โครงสร้างและโดยการพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยพิบัติและวางแผนการศึกษาต่อเนื่อง

เสาหลักที่ 3 : การศึกษาด้านการลดความเสี่ยงและการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ

ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้จัดทำหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้อบรมครู ครู กลุ่มเยาวชน ผู้นำในการจัดกิจกรรมเยาวชน และนักเรียน ที่จะร่วมมือการเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยและมีความสามารถในการรู้รับปรับตัวและพื้นคืนกลับจากภัยพิบัติ

โครงการดีมีประโยชน์ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับครูหลายโรงเรียนนะคะ

ครูประถมขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก thaisafeschools

ท่านสามารถติดตามข่าวผ่านทาง ช่องทางดังต่อไปนี้

เฟสบุ๊คแฟนเพจ  ครูประถม.คอม
ไลน์แอด ครูประถม.คอม

ทักมาพูดคุย/แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ่อยๆนะคะ

Comments are closed.