ติว o-net วิทยาศาสตร์ ด้วย Test blueprint ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

เช้านี้ ครูประถมจะพาทุกท่าน มาแนะนำการติว o-net หรือ เป็นแนวทางสำหรับการติว ให้กับคุณครูและผู้ปกครอง ทีกำลังจะพัฒนานักเรียนหรือบุตรหลาน ให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเตรียมตัวสอบ o-net 

 

O-net นั้นมีความสำคัญอย่างไร

สำหรับ o-net นั้นเป็นการ สอบ วัดความรู้ความสามารถระดับชาติ ที่จะสอบแข่งขันกันทุกๆปี โดยให้ความสำคัญกับนักเรียน ในแต่ละช่วงชั้น สำหรับวันนี้ครูประถมจะมาแนะนำในส่วนของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ซึ่งกำลังจะจบการศึกษา เพื่อไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา ต่อไป

 

 

Test blueprint วิทยาศาสตร์

 

        จำนวนข้อสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามรูปแบบของข้อสอบ ประจำปีการศึกษา 2562

จำนวน ข้อสอบ 28 ข้อ ประกอบด้วยรูปข้อสอบ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. รูปแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 26 ข้อ เวลาในการทำข้อสอบ 52 นาที          (ข้อละ 5 คะแนน)
  2. รูปแบบเลือกตอบเชิงซ้อน  จำนวน 2 ข้อ       เวลาในการทำข้อสอบ 8 นาที            (ข้อละ 5 คะแนน)

    จำนวนข้อสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามรูปแบบของข้อสอบ ประจำปีการศึกษา 2562

จำนวน ข้อสอบ 28 ข้อ ประกอบด้วยรูปข้อสอบ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. รูปแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 26 ข้อ            เวลาในการทำข้อสอบ 52 นาที          (ข้อละ 3.5 คะแนน)
  2. รูปแบบเลือกตอบเชิงซ้อน                    จำนวน 2 ข้อ       เวลาในการทำข้อสอบ 8 นาที            (ข้อละ 4.5 คะแนน)

 

สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
1

สิ่งมีชีวิตกับ

กระบวนการ

ดำรงชีวิต

ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต 1.เข้าใจโครงสร้าง

และการทำงานของ

ระบบต่าง ๆของ

สิ่งมีชีวิต

เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของ

ระบบต่าง ๆ ของ

สิ่งมีชีวิต

ป.4/1 ทดลองและอธิบายหน้าที่ของท่อลำเลียงและปากใบของพืช

Sci_P_4.2.2.4 การสร้างอาหารและหน้าที่พิเศษของใบ

12 · ภายในลำต้นของพืชมีท่อลำเลียง เพื่อลำเลียงน้ำและอาหาร และในใบมีปากใบทำหน้าที่คายน้ำ 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ

(5 ข้อ)

 

เลือกตอบ

เชิงซ้อน

(1 ข้อ)

22
ป.4/2 อธิบาย น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แสงและคลอโรฟิลล์เป็นปัจจัยที่จำเป็น บางประการต่อการเจริญเติบโต และการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

Sci_P_4.2.2.13 แสงและคลอโรฟิลล์มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

·  ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต และ

การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ได้แก่ น้ำ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และคลอโรฟิลล์

ป.4/3 ทดลองและอธิบาย การตอบสนองของพืชต่อแสง เสียง และการสัมผัส

Sci_P_4.2.2.15 การตอบสนองต่อสิ่งเร้า อุณหภูมิ ความชื้น และการสัมผัส

· พืชมีการตอบสนองต่อแสง เสียง และการสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก
ป.4/4 อธิบายพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง อุณหภูมิ การสัมผัส และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

Sci_P_4.2.3.1 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ตอน แสง

·  พฤติกรรมของสัตว์เป็นการแสดงออกของสัตว์ ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง อุณหภูมิ การสัมผัส

·  นำความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ไปใช้ประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์ และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร

ป.5/1 สังเกตและระบุส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก

Sci_P_5.1.1.1 หน้าที่และส่วนประกอบของดอก

· ดอกโดยทั่ว ไปประกอบด้วย กลบี เลี้ยง กลีบดอกเกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย

· ส่วนประกอบของดอกที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ ได้แก่ เกสรเพศเมีย ประกอบด้วย รังไข่ ออวุล และเกสรเพศผู้ ประกอบด้วย อับเรณูและละอองเรณู


สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
ป.5/2 อธิบายการสืบพันธุ์ของพืชดอก การขยายพันธุ์พืช และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

Sci_P_5.1.12 การถ่ายละอองเรณูและการปฏิสนธิ

· พืชดอกมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

· การขยายพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพืชทำได้หลายวิธี โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง การเสียบยอด และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

 

ป.5/3

อธิบายวัฎจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิด

Sci_P_5.1.1.3 วัฏจักรของพืช

·  ปัจจัยพืชดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอก ดอกได้รับการผสมพันธุ์กลายเป็นผล ผลมีเมล็ด ซึ่งสามารถงอกเป็นต้นพืชต้นใหม่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร
ป.5/4 อธิบายการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์

ของสัตว์

Sci_P_5.1.1.11 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์ (ปฏิสนธิภายใน)

·  สัตว์มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

·  การขยายพันธุ์สัตว์โดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์และการผสมเทียมทำให้มนุษย์ได้สัตว์ที่มีปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการ

ป.5/5 อภิปรายวัฎจักรชีวิตของสัตว์บางชนิด และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

Sci_P_5.1.1.16 การคัดเลือกพันธุ์และการขยายพันธุ์สัตว์

·  สัตว์บางชนิด เช่น ผีเสื้อ ยุง กบ เมื่อไข่ได้รับการผสมพันธุ์จะเจริญเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย จนกระทั่งสามารถสืบพันธุ์ได้ หมุนเวียนเป็นวัฏจักร

·  มนุษย์นำความรู้เกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของสัตว์มาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งทางด้านการเกษตรการอุตสาหกรรม และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

 

 


สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
ป.6/1 อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์จาก

วัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : การเจริญเติบโตของมนุษย์

· มนุษย์มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นผู้ใหญ่
ป.6/2 อธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : ร่างกายมนุษย์

· ระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้เป็นสารอาหารขนาดเล็กแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด แก๊สออกซิเจนที่ได้จากระบบหายใจจะทำให้สารอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้
ป.6/3 วิเคราะห์สารอาหารและอภิปราย

ความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหาร ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย

Sci_P_6.1.3.2 พลังงานในสารอาหาร
· สารอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ มีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหาร ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย เพื่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต
ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการ ป.5/1 สำรวจ เปรียบเทียบ และระบุลักษณะ

ของตนเองกับคนในครอบครัว

Sci_P_5.1.1.20 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

5 · ลักษณะของตนเองจะคล้ายคลึงกับคนในครอบครัว 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ    (2 ข้อ)

7
ป.5/2 อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในแต่ละรุ่น

Sci_P_5.1.1.16 การคัดเลือกพันธุ์และการขยายพันธุ์สัตว์

· การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมเป็นการถ่ายทอดลักษณะบางลักษณะจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ซึ่งบางลักษณะจะเหมือนพ่อหรือเหมือนแม่ หรือ อาจมีลักษณะเหมือน ปู่ ย่า ตา ยาย
ป.5/3 จำแนกพืชออกเป็น พืชดอก และ

พืชไม่มีดอก

Sci_P_5.1.1.9 การจำแนกพืชดอก

· พืชแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ พืชดอกกับพืชไม่มีดอก

 


สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ป.5/4 ระบุลักษณะของพืชดอกที่เป็น

พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

โดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์

· พืชดอกแบ่งออกเป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับพืชใบเลี้ยงคู่ โดยสังเกตจาก ราก ลำต้น และใบ
ป.5/5 จำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มโดยใช้ลักษณะภายในบางลักษณะ และลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ · การจำแนกสัตว์เป็นกลุ่ม โดยใช้ลักษณะภายนอกและลักษณะภายในบางลักษณะเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

· สัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งเป็นกลุ่มปลา สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

2

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย

ในสิ่งแวดล้อม

ที่แตกต่างกัน

เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย

ในสิ่งแวดล้อม

ที่แตกต่างกัน

ป.6/1 สำรวจและอภิปรายความสัมพันธ์ของ

กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ

3 · กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่ในลักษณะของแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งสืบพันธุ์ และแหล่งเลี้ยงดูลูกอ่อน 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ

(1 ข้อ)

3.5
ป.6/2 อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร · ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหาร และสายใยอาหาร ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
ป.6/3 สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น · สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแต่ละแหล่งที่อยู่จะมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อหาอาหารและมีชีวิตอยู่รอด

 


สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ป.6/1 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น

ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

· ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ

(1 ข้อ)

3.5
ป.6/2 วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของ

ประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

· การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้มากขึ้น เป็นผลทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
ป.6/3 อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิต จากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ · ภัยพิบัติจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เป็นผลทำให้พืช และสัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์
ป.6/4 อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม · การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ เฝ้าระวัง ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3

สาร

และสมบัติ ของสาร

ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค

มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์

เข้าใจสมบัติและ

การจำแนกกลุ่มของวัสดุ สถานะของสาร

สมบัติของสารและ

การทำให้สารเกิด

เข้าใจสมบัติและ

การจำแนกกลุ่มของวัสดุ สถานะของสารสมบัติของสารและ

การทำให้สารเกิด

ป.5/1 ทดลองและอธิบายสมบัติของวัสดุชนิด

ต่าง ๆ เกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็ง ความเหนียว การนำความร้อน

การนำไฟฟ้า และความหนาแน่น

· ความยืดหยุ่น ความแข็ง ความเหนียวการนำความร้อน การนำไฟฟ้า และความหนาแน่นเป็นสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ ซึ่งวัสดุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติบางประการแตกต่างกัน 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ    (2 ข้อ)

14
ป.5/2 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายการนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน · ในชีวิตประจำวันมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ตามสมบัติของวัสดุนั้น ๆ

 


สาระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลง

สารในชีวิตประจำวัน การแยกสารอย่างง่าย

การเปลี่ยนแปลง

สารในชีวิตประจำวัน การแยกสารอย่างง่าย

ป.6/1 จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กำหนดเอง · สารอาจปรากฏในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส สารทั้งสามสถานะมีสมบัติบางประการเหมือนกันและบางประการแตกต่างกัน
ป.6/2 ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง การระเหิด การระเหยแห้ง · การจำแนกสารอาจจำแนกโดยใช้สถานะ การนำไฟฟ้า การนำความร้อน หรือสมบัติอื่น เป็นเกณฑ์ได้
ป.6/3 สำรวจและจำแนกประเภทของสารต่าง ๆ

ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้สมบัติและ

การใช้ประโยชน์ของสารเป็นเกณฑ์

· ในการแยกสารบางชนิดที่ผสมกันออกจากกัน ต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะทำได้โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง การระเหิด การระเหยแห้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่เป็นส่วนผสมในสารผสมนั้น ๆ
ป.6/4 อภิปรายการเลือกใช้สารแต่ละประเภท

ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

· จำแนกประเภทของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันตามการใช้ประโยชน์แบ่งได้เป็น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช ซึ่งสารแต่ละประเภทมีความเป็นกรด – เบสแตกต่างกัน
ป.6/5 จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กำหนดเอง · การใช้สารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

าระ มาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอบ O-NET ตัวชี้วัด รายละเอียดตัวชี้วัด สรุปจำนวน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รูปแบบ ข้อสอบ (จำนวนข้อ) คะแนน
ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา

มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ป.6/1 ทดลองและอธิบายสมบัติของสารเมื่อสารเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะ 3 · เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารละลายหรือเปลี่ยนสถานะ สารแต่ละชนิดยังคงแสดงสมบัติของสารเดิม 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ

(1 ข้อ)

3.5
ป.6/2 วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่

ทำให้เกิดสารใหม่และมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไป

· การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้มีสารใหม่เกิดขึ้นและสมบัติของสารจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ป.6/3 อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสาร

ที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

· การเปลี่ยนแปลงของสาร ทั้งการละลายการเปลี่ยนสถานะและการเกิดสารใหม่ต่างก็มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
4

แรง

และ

การเคลื่อนที่

ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของ

แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและ

มีคุณธรรม

– เข้าใจผลที่เกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ

– เข้าใจความดัน และหลักการเบื้องต้นของแรงลอยตัว

เข้าใจผลที่เกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ

– เข้าใจความดัน และหลักการเบื้องต้นของแรงลอยตัว

ป.5/1 ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรง ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุ 4 · แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่กระทำต่อวัตถุ โดยแรงทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกันเท่ากับผลรวมของแรงทั้งสองนั้น 4 ตัวเลือก

1 คำตอบ

(3 ข้อ)

10.5
ป.5/2 ทดลองและอธิบายความดันอากาศ · อากาศมีแรงกระทำต่อวัตถุ แรงที่อากาศกระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่าความดันอากาศ
ป.5/3 ทดลองและอธิบายความดันของของเหลว · ของเหลวมีแรงกระทำต่อวัตถุทุกทิศทาง แรงที่ของเหลวกระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่า ความดันของของเหลว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ความลึก
ป.5/4 ทดลองและอธิบายแรงพยุงของของเหลว การลอยตัว และการจมของวัตถุ · ของเหลวมีแรงพยุงกระทำต่อวัตถุที่ลอยหรือจม ในของเหลว การจมหรือการลอยตัวของวัตถุขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ และแรงพยุงของของเหลวนั้น

 

 


เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับ สำหรับ Test blueprint วิทยาศาสตร์ น่าจะช่วยให้คุณครูมองออกถึงแนวทางการออกข้อสอบและวิธีการติวนะคะ

*** ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางที่ทางครูประถมช่วยจะทำขึ้นมาเพื่อ แนะแนวทาง ให้กับคุณครูหรือผู้ปกครองเท่านั้นค่ะหากเห็นว่ามีประโยชน์อย่าลืม แชร์บทความนี้ด้วยนะคะ***

 

[sc name=”foot-post”]