Take a fresh look at your lifestyle.

แนวปฏิบัติการเรียนซ้ำชั้น

ครูประถม.คอม ของหยิบยกถึงเรื่อง การเรียนซ้ำชั้น เป็นเรื่องที่ทุกโรงเรียนต้องเจอและเกือบทุกโรงเรียนจะพบปัญหา และของเด็กหลายคน หลายๆโรงเรียนเมื่อจะให้เด็กเรียนซ้ำชั้น ก็ให้เด็กลงไปอยู่ชั้นเดิมเลย ซึ่งยังเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องต้องตามหลักการที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แจ้ง โดยมีแนวางดังนี้

สพฐ. โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาตรการ หรือ แนวปฏิบัติการเรียนซ้ำชั้น ออกมาตั้งแต่ ปี 2559  ลงนามโดย นายการุณ สกุลประดิษฐ์  ซึ่งเป็นเลขา กพฐ. เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนทุกโรงเรียนได้ใช้ร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเปรียบเทียบโรงเรียนปฎิบัติแนวทางต่างไปจากกัน

แนวทาง คือ สพฐ. ได้ยืนยันว่า ไม่ได้มีนโยบายไม่ให้เด็กซ้ำชั้น จึงมีแนวทางมาให้ ผู้บริหารและครู ได้ปฏิบัติ ดังนี้

ท่านสามารถโหลดได้จากตรงนี้ แนวทางการการปฎิบัตกันนักเรียน

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้กําหนดแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้สถานศึกษา นําไปปฏิบัติ นั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน และตรงกันในประเด็นของการเรียนซ้ําชั้น สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงขอซักซ้อมความเข้าใจ ดังนี้

1. การวัดและประเมินผลการเรียน ให้สถานศึกษาจัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียน ของผู้เรียนเป็นระยะระหว่างเรียน โดยใช้เทคนิคการวัดและประเมินอย่างหลากหลาย เพื่อตรวจสอบพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าพบปัญหาหรือข้อบกพร่องในตัวผู้เรียน ต้องดําเนินการช่วยเหลือและ ซ่อมเสริมทันที โดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก เขียนได้

2. การสอนซ่อมเสริม เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ หรือ เจตคติ/คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตามหลักสูตร กรณีผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ หรือได้ระดับผลการเรียน “9” สถานศึกษาต้องจัดสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียนก่อนที่จะสอบแก้ตัว โดยใช้เวลา นอกเหนือไปจากการสอนปกติ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา

3. การสอบแก้ตัว ให้ผู้เรียนสอบแก้ตัว 2 ครั้ง โดยดําเนินการดังนี้

            3.1 สอบแก้ตัวครั้งที่ 1 ให้ผู้เรียนยื่นคําร้องสอบแก้ตัว โดยให้ครูผู้สอนประจําวิชาหรือ ครูประจําชั้นสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว ให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคเรียนหรือในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา ถัดไป

           3.2 สอบแก้ตัวครั้งที่ 2 กรณีสอบแก้ตัวครั้งที่ 1 แล้วไม่ผ่าน หรือไม่มาสอบแก้ตัวใน ครั้งที่ 1 สถานศึกษาให้โอกาสสอบแก้ตัวอีก 1 ครั้ง โดยสถานศึกษาแต่งตั้งกรรมการสอนซ่อมเสริมและ สอบแก้ตัว ให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคเรียนหรือในภาคเรียนแรกของปีการศึกษาถัดไป

4. การเรียนซ้ำรายวิชา ผู้เรียนที่ได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้ว ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา หรือยังได้ระดับผลการเรียน “0” ให้สถานศึกษาดําเนินการดังนี้

          4.1 ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน ให้เรียนรายวิชานั้น

         4.2 ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้เรียนรายวิชานั้นหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ในกรณีเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่า เรียนแทนรายวิชาใด  ในการเรียนรายวิชาให้อยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน ภาคฤดูร้อน เป็นต้น

5.  การเรียนซ้ำชั้น หากพบปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนในกรณีใดกรณีหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็น ปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ดังนี้

ระดับประถมศึกษา

 1ผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาเกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่เรียน ตามโครงสร้างเวลาเรียนของ สถานศึกษา

2) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 เมื่อได้รับการประเมินแล้วยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่ได้

ระดับมัธยมศึกษา

การเรียนซ้ําชั้นของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาเมื่อผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

 1) ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ํากว่า 1.00  และมีแนวโน้มว่าจะ เป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

        2) ผู้เรียนมีผลการเรียน 6, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ในปีการศึกษานั้น

ทั้งนี้ การพิจารณาให้ผู้เรียน เรียนซ้ำชั้น หรือรายวิชาให้สถานศึกษาดําเนินการในรูปของ คณะกรรมการ และให้สถานศึกษาแจ้งผู้ปกครองและผู้เรียนทราบเหตุผลของการเรียนซ้ำชั้น

ครูประถม.คอมคิดว่าการดำเนินทางแนวทางที่ทาง สพฐ.ได้กำหนดนั้นจะเป็นการช่วยให้การทำงานของทางโรงเรียน และครูนั้น เกิดเป็นแนวทางเดียกัน เพราะการตัดสินใจเพราะการที่จะตัดสินนักเรียนให้ตกชั้น/หรือต้องมาเรียนซ้ำใหม่นั้นเป็นเรื่องทำใจลำบากไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโรงเรียน ครู หรือกับตัวนักเรียนเองก็เช่นกัน.

 

ที่มา สพฐ

 

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี