คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการป้องกันและจัดการรังแกกันในโรงเรียน

ช่วงนี้ข่าว การ bully ในวัยเรียนกำลังได้รับความสนใจจากสังคมมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับเยาวชนไทย ครูประถม ขอนำเอาวิธีการป้องกันการแกล้ง หยอกล้อ ในวัยเด็กมาฝากทุกคน และคงจะเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้ค่ะ

Advertisements

การแกล้ง หรือการหยอกล้อกันในวัยเด็ก ไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป ปัจจุบันได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตายในเด็กวัยเรียน ปัญหารูปแบบการรังแกกันที่หลากหลายขึ้น เช่น การทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ เรียกทรัพย์แต่การรังแกกันที่พบบ่อยกว่าคือ การแย่งเพื่อน ปล่อยข่าวลือ ปฏิเสธการเข้ากลุ่ม ทำให้เพื่อนเป็นตัวตลก ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนของไทยมีความชุกสูงถึงร้อยละ 40 มีเหตุการณ์การลาออกจากโรงเรียน การฆ่าตัวตาย เข้าสังคมไม่ได้ของเด็กที่เป็นผลจากการรังแกกันมากขึ้นด้วยความตระหนักถึงปัญหานี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์จึงดำเนินจัดทำโครงการวิจัยพัฒนาโปรแกรมป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำ “คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำ เนินการป้องกันและจัดการการรังแกกันในโรงเรียน” ทีมวิชาการได้ทบทวนข้อมูลวิชาการทั้งจากในและนอกประเทศ ถอดบทเรียน และประสบการณ์การดำเนินงานจากโครงการ
และหน่วยงานต่างๆที่ได้ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน ถอดองค์ความรู้ทั้งหมดมาเรียบเรียง พัฒนากิจกรรมให้สอดคล้องกับ
บริบทโรงเรียนไทยและได้ทดลองดำ เนินการในโรงเรียนไทยที่มีบริบทต่างกัน 2 โรงเรียน จนสรุปเป็นคู่มือฉบับนี้เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงเรียนที่จะดำเนินการป้องกันและจัดการการรังแกกันในโรงเรียน และเชื่อมโยงกับกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หรือการดูแลสุขภาพกายใจเด็กนักเรียนที่ดำเนินการอยู่จนพัฒนาเป็นโรงเรียนที่มีวัฒนธรรมความปลอดภัยได้

คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการป้องกันและจัการรังแกกันในโรงเรียนด

Advertisements

[embeddoc url=”https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/12/คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการป้องกันและจัการรังแกกันในโรงเรียนด.pdf” download=”all”]

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.)

 

Comments are closed.