เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน

 

 

หัวข้อเรื่องที่ศึกษา        การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน

ชื่อผู้ศึกษา                 นางสาวนวพรรณ พันธุรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

หน่วยงานที่สังกัด         เทศบาลตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

สถานที่ทำงาน             โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน

ปีที่วิจัย                    2562

 

บทคัดย่อ

การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน  2) สร้างรูปแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน The One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน สังกัดเทศบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2     ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) มาจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test for Independent Samples และ Two –Way ANOVA Repeated Measures

 

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน สังกัดเทศบาลตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง พบว่า สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีประเด็นหลักคือ ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาโดยการวิจัยและพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน เนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนคำประพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์
  2. ผลการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน พบว่า

2.1 ผลการสังเคราะห์ร่างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) 4) ระบบสังคม (Social System) 5) หลักการตอบสนอง (Principle of Reaction) 6) ระบบสนับสนุน (Support System) โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้ 1) ขั้นสร้างความเข้าใจเบื้องต้น 2) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ 3) ขั้นเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ 4) ขั้นให้และรับข้อมูลป้อนกลับ และ 5) ทบทวนและเขียนบันทึกการตอบสนอง

2.2 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53, SD= 0.66) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกแผนโดยมี ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.63–4.79 และประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 83.04/82.33

  1. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน

3.1 การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน ผู้วิจัยจะนำเสนอดังนี้ ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2 การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.12)

  1. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำรูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการตอบสนองร่วมกับแนวการสอนเขียนโดยใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นฐาน ไปทดลองใช้ในขั้นตอนที่ 3 ของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยนำผลการวิจัยมาประมวลทบทวนเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน เพื่อให้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เพิ่มประเด็นสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และสาระความรู้ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจะสรุปใน 3 ประเด็น ดังนี้

4.1 เพิ่มเติมหลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนให้สะท้อนถึงการสร้างองค์ความรู้ และกระบวนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน

4.2 เพิ่มเติมกระบวนการในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการในการสร้างความรู้และความใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน

4.3 ปรับสำนวนภาษาในการเขียนอธิบายองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการเรียนการสอนให้สื่อความหมายถึงการนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน