วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลดีๆที่เรานำมาฝากคุณครูกัน เพราะผู้ใช้เฟสบุ๊ค Suphakorn Phoemphun ได้ออกมาแชร์ วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่น่าสนใจ เพื่อนำไปปรับาอนได้ดีมากๆ

โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ค Suphakorn Phoemphun ได้ออกมาโพสต์ว่า

Advertisements
Advertisements
สะท้อนการจัดการเรียนการสอน
กิจกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย : วิเคราะห์ สาเหตุ และผลกระทบ หาแนวทางการแก้ไขปัญหา
ชั่วโมงที่ 1 วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ (ปรับจากวง PLC พี่โอน พี่ส้ม พี่จู ทีมห้องเรียนบริหาร)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูอธิบายกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบว่าหมวกแต่ละใบ มีความหมายอย่างไร ผ่านภาพกรณีศึกษา
2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมภาพสื่อความหมาย โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ซึ่งครูนำภาพวาดสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่อไปนี้
1) หมวก สีขาว คำถาม : จากภาพนักเรียนเห็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร
2) หมวก สีแดง คำถาม : จากภาพนักเรียนรู้สึกอย่างไร
3) หมวก สีดำ คำถาม : จากภาพดังกล่าวส่งผลกระทบอะไรบ้าง
4) หมวก สีเหลือง คำถาม : จากภาพนักเรียนเห็นสิ่งดีหรือโอกาสอะไรบ้าง
5) หมวก สีเขียว คำถาม : นักเรียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา 3 วิธี
6) หมวก สีน้ำเงิน คำถาม : ให้นักเรียนเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่นักเรียนสนใจมา 1 วิธี
ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore)
3. ครูจัดกลุ่มนักเรียนจำนวน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้นักเรียนออกไประดมความคิดศึกษาภาพปัญหาตามมุมของห้องเรียน ครูให้ภาพกลุ่มล่ะ 1 ปัญหาไม่ซ้ำกัน
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)
4. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
5. ครูให้ตัวแทนนักเรียนจากกลุ่มต่าง ๆ ออกมานำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในเรื่องที่กลุ่มรับผิดชอบหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand)
6. ครูและนักเรียนร่วมกันตั้งคำถามและหาคำตอบจากการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนของเพื่อน ในกลุ่มต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปปัญหาสิ่งแวดล้อม ว่ามีอะไรบ้าง
ชั่วโมงที่ 2 ภารกิจ ค้นหา ตามล่า หาฮีโร่พิชิตธามอส
1.ครูเริ่มมอบหมายให้นักเรียนเป็นทีมอเวนเจอร์ ช่วยกันทำ “ภารกิจ ค้นหา ตามล่า หาฮีโร่พิชิตธามอส” ซึ่งให้นักเรียนจะได้รับ(บัตรคำองค์กร หน่วยงาน กฎหมาย) คู่ล่ะ 1 ชิ้น หลังจากนั้นให้นักเรียนลองทายหน่อยว่า ชื่อในบัตรคำแบบนี้ จะเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากคาบที่แล้วอย่างไร
2.นักเรียนแต่ล่ะคู่เริ่มค้นหา(search) โดยใช้เทคโนโลยีช่วยตอบประเด็นดังนี้
– สิ่งที่ชื่อกฎหมาย/องค์กร/ชมรม นี้ทำคืออะไร
– จัดกลุ่มอยู่ในประเภทใด
– สิ่งที่ทำ/แก้ปัญหา/ป้องกันนี้ คืออะไร (สรุป 1 บรรทัด) ฝึกอ่านสรุปความ
3.หลังจากนั้นนักเรียนออกตามล่า(Match) ให้นักเรียนนำบัตรคำชื่อที่ได้ไปจับคู่(ติดบนกระดาน)ให้สอดคล้องกับบัตรคำบนกระดาน
4.ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการเรียนรู้ว่า สิ่งที่นักเรียนตามหานั้น ทำหน้าที่อะไร แล้วช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ชั่วโมงที่ 3 ใครคือฆาตกร
1.ครูชวนนักเรียนวิเคราะห์ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม 1 ปัญหาส่งผลกระทบ/มีส่วนเกี่ยวข้องกับมิติอื่นอย่างไร ผ่านการเชื่อมโดยอาศัยเส้นหัวลูกศรและความหมายแบบ GAT เชื่อมโยง (เส้นทำให้เกิด/เส้นยับยั้ง/ส่วนประกอบ)
2.ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 – 7 กลุ่มตามแต่ล่ะห้องเรียน แล้วแจก การ์ดปัญหาสิ่งแวดล้อมเน้นปัญหาหมอกควัน (สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งมิติการเมือง เศรษฐกิจ สุขภาพ อื่นๆๆ ปรับจากไอเดียพี่พล พลเรียน) โดยแต่ล่ะกลุ่มจะได้ปัญหาเริ่มต้นไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่ม 1 (คนเผาป่า) กลุ่ม 2 (ปัญหาหมอกควัน) กลุ่ม 3 (ปัญหาไฟป่า) กลุ่ม 4 (โลกร้อน) กลุ่ม 5 (คนเผาป่า) กลุ่ม 6 (ปัญหาสุขภาพ) ปรับตามบริบท
3.ให้นักเรียนลงมือปฎิบัติ กิจกรรม “เชื่อมโยง” ใส่กระดาษบรูฟที่ครูแจกให้ โดยครูลงไปให้คำแนะนำแต่ล่ะกลุ่มร่วมทั้งชวนคิดให้มองมิติที่กว้างขึ้น
4.ครูให้การ์ดป้องกัน(สีฟ้า) กลุ่มล่ะ 6 ใบ โดยให้นักเรียนแต่กลุ่มไปเขียนชื่อองค์กร/กฎหมาย/มูลนิธิ ที่ติดอยู่บนกระดานหลังจากเรียนคาบที่แล้ว แล้วนำมาติดบนกระดาษบรูฟโยงกับสิ่งที่การ์ดกฎหมาย/ชมรมต่างๆไปช่วยยับยั้ง
5.ครูให้นักเรียนนำเสนอให้ครูฟังว่า ปัญหาเหล่านี้เชื่อมโยงแล้วส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตอย่างไร ท้ายคาบที่ล่ะกลุ่มย่อย เนื่องจากหมดเวลา
ปัญหา/จุดที่ต้องพัฒนา
1.เนื่องจากนักเรียนไม่คุ้นชินกับความหมายของเส้นที่เชื่อมโยงทำให้เกิดความล่าช้าในการทำกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
1.การ์ดปัญหาสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้มี 36 ใบ ทำให้นักเรียนทำไม่ทันกับเวลาที่มี 1 คาบ อาจปรับให้สอดคล้องกับเวลา
ขอขอบคุณที่มา : กลุ่มครูปล่อยของ

Comments are closed.