Take a fresh look at your lifestyle.

เสนอแล้ว! เผยแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาหนี้ของครู

ต้องยอมรับเลยว่าในปัจจุบัน ครูเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีหนี้สูงมากๆ ทำให้มีการเสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาหนี้ของครู ซึ่งถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องมีการวางแผนและเสนอแนะทันที ซึ่งเว็บไซต์ครูประถมได้นำรายละเอียดมาฝากแล้วค่า

[สาเหตุของการเป็นหนี้ แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาหนี้ของครู]
คิดเร็ว ๆ ในเวลาสั้น ๆ ที่เสนอใน อนุ กมธ.
ท่านใดมีสาเหตุอื่นใดอีก ช่วยเพิ่มเติมด้วย
#สาเหตุ ปัญหาหนี้สิน
1. ครูมาจากครอบครัวที่ยากจนและเป็นหนี้
2. ระหว่างเรียน มีค่าใช้จ่าย กู้ยืมเรียน เรียน 5 ปี
3. ได้รับเงินเดือนค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต่ำกว่าคุณวุฒิ ได้รับเงินเดือนไม่ต่อเนื่อง ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย(คณาจารย์อัตราจ้าง ครูอัตราจ้าง พนง.ราชการ ครูเอกชน ครูอื่น ๆ เป็นต้น) ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา (เคยเป็นข้าราชการครู)ได้ขึ้นเงินเดือนต่ำกว่าครู 8% และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา รับเงินเดือนไม่เป็นไปตามมติ ครม. (1.7 และ 1.5)
4. ครูใหม่/ครูต่างถิ่น มีภาระ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เครื่องแต่งกาย เลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ญาติ ฯลฯ
5. ใช้จ่ายในการพัฒนาตนเอง ศึกษาต่อ อบรมสัมมนา ดูงาน ฯลฯ และส่งเสียให้ลูกศึกษาเล่าเรียน
6. ลงทุนในการพัฒนาการเรียนการสอน ผลงานวิชาการ วิทยฐานะ ประเมิน ประกวด แข่งขัน ฯลฯ
7. ภาษีสังคม บริจาค เรี่ยไร ผ้าป่า จัดงานตามประเพณี บวช แต่งงาน ค่าของขวัญของชำร่วยในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้ง สงเคราะห์ช่วยเหลือนักเรียน ฯ เป็นต้น
8. ระบบการบริหารขาดธรรมาภิบาล ต้องใช้เงินวิ่งเต้น บรรจุแต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนวิทยฐานะ เป็นต้น
9. สมทบเงินค่าการจ้างบุคลากรอื่น เช่น ภารโรง ฯลฯ
10. อุบัติเหตุ ชดใช้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย สินไหม ค้ำประกัน ฯลฯ
11. สร้างบ้าน ซื้อยานพาหนะ (รถยนต์/จักรยานยนต์/ฯลฯ) สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน
12. สุขภาพอนามัย รักษาอาการเจ็บป่วย บำรุงสุขภาพ ของตนเอง คู่สมรส บุตรธิดา บิดามารดา ญาติพี่น้อง
13. ประพฤติตนในอบายมุข ละเล่น ท่องเที่ยว การพนัน ชู้สาว ยาเสพติด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่งกายและเครื่องประดับเกินตัว เป็นต้น
14. ขาดทักษะทางการเงินและวินัยการใช้จ่าย
15. ลงทุนประกอบกิจการ อาชีพอื่นเสริม แล้วประสบการขาดทุน ล้มละลาย
#สรุป
1. หนี้มาจากครอบครับ เดิม
2. หนี้จากการใช้จ่ายในครอบครัวหรือชีวิตประจำวัน
3. หนี้จากการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่ควรแก่เหตุ
#ต้องกู้ยืมมีภาระผ่อนส่งชำระหนี้ไม่เพียงพอและไม่มีใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
#ทางแก้ ลดดอกเบี้ย ปรับโครงสร้าง พักชำระ จากผู้กู้เดิมหรือหาแหล่งเงินกู้ใหม่
นอกจากนี้ ยังสามารถแก้และป้องกัน ดังนี้
#การแก้ปัญหาที่สามารถแก้ด้วยการบริหารจัดการ เช่น ให้ทุนขณะเรียน บรรจุในภูมิลำเนา เลื่อนไหลเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาได้ง่าย จัดบ้านพักหรือค่าที่พักไม่ว่าจะเป็นการบรรจุใหม่ก็ตาม แก้เกณฑ์วิทยฐานะที่ลิดรอนสิทธิประโยชน์ การบรรจุ ย้าย เลื่อนและแต่งตั้งที่มีธรรมาภิบาล เป็นต้น รวมทั้งจัดสรร งบประมาณ อัตรากำลังให้เพียงพอ เป็นต้น
#ผู้มีหน้าที่แก้ปัญหา สส.มีหน้าที่ผลักดัน เสนอแนะให้มีการแก้จากผู้เกี่ยวข้องดังนี้
1. ตัวครูเองและครอบครัว
2. ครูช่วยครู หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
3. สถาบันการเงินต่าง ๆ
4. ผู้บริหาร รร. เขตพื้นที่ ต้นสังกัด กระทรวง
5. รัฐบาล

 

ขอขอบคุณที่มา :  สุรวาท ทองบุ : Surawat Thongbu

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี