กพฐ.ชี้แจงแล้ว! การประเมินทักษะด้านภาษาอังกฤษ นำมาลดระยะ การทำวิทยฐานะ

วันนี้ ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา ได้นำรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมิน ทักษะด้าน ภาษาอังกฤษ ประเมินเพื่อพัฒนา หากใครผ่านที่กำหนด สามารถนำมาลดระยะ การทำวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่ ซึ่ง เลข กพฐ.ได้ออกมาชี้แจงประเด็นนี้แล้ว

Advertisements

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)ได้กล่าวชี้แจงประเด็นเรื่องใช้ภาษาอังกฤษในการเลื่อนวิทยฐานะซึ่งในข้อเท็จจริงนั้น
ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ขับเคลื่อนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอน ในปีงบประมาณ2564 ตามที่ รมว.ศธ.ได้มีนโยบายให้ครูผู้สอน มีสมรรถนะใน 3 เรื่อง คือ
1.ในเรื่องการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารการนำเสนอ
2. การสอนการเรียนด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
3.ด้านเทคโนโลยี หรือ Digital literacy

ซึ่ง สพฐ.ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในทั้ง3เรื่องดังกล่าว เช่น ภาษาอังกฤษให้คุณครูได้แสวงหาความจากสื่อต่างๆ เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือทักษะการสนทนาระหวางกัน

สพฐ.จึงมีแนวนโยบายดังนี้
1.ต้องการให้คุณครูทุกคนได้มีการประเมินตนเองใน3เรื่องที่ได้กล่าวมา เพื่อให้สมรรถนะด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีอยู่ในระดับใด ซึ่งเมื่อได้รับการประเมินแล้วเพื่อจะได้พัฒนาตนเอง ผ่านกลไลของสพฐ.ที่ศูนย์ HCEC ( ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ Human Capital Excellence Center ) ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้คุณครูได้รับการประเมิน ในวิชาภาษาอังกฤษนั้นได้มีระดับการประเมินเป็น A1 A2 B1 B2 C1 C2

Advertisements

A1 เป็นระดับเพิ่งเริ่มเรียนเลย ใช้ได้แค่บทสนทนาทักทายง่ายๆ
A2 ระดับนี้เข้าใจเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น สามารถสนทนาได้มากขึ้น
B1 ระดับนี้จะเข้าใจประเด็นต่างๆ ได้ชัดขึ้น สื่อสารได้ในสังคมที่กว้างขึ้น
B2 ระดับนี้จะเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อน สื่อสารกับเจ้าของภาษาได้
C1 ระดับนี้จะเข้าใจเนื้อหายากๆ ยาวๆ ได้เป็นอย่างดี
C2 ระดับนี้จะเข้าใจทุกอย่างชำนาญและถูกต้องแม่นยำ

ส่วนครูจะอยู่ระดับใดนั้น เป็นเรื่องของการประเมินขั้นพื้นฐานเบื้องต้น เช่น คุณครูประเมินแล้วอยู่ในระดับ A1 ก็ต้องพัฒนาตนเองให้ได้ระดับ A2 โดยการเรียนระบบต่างๆก็สามารถประเมินได้ ผ่านศูนย์HCEC

ทั้งนี้ ครูที่สอนระดับประถมศึษานั้นทาง สพฐ.ได้ตั้งเป้าหมายให้อยู่ในระดับ B2 ขึ้นได้ ผ่านเกณฑ์ที่ความคาดหวังของ สพฐ.

แต่หากใครไม่ผ่านเกณฑ์นั้น ก็ไม่ได้ความว่า จะได้รับโทษ จะไม่ได้เลื่อนวิทยฐานะ ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นเกณฑ์เพื่อการพัฒนา ไม่ใช่ประกอบการเลื่อนวิทยฐานะแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นกำหนดจุดเริ่มต้นการพัฒนาในด้านทักษะภาษาอังกฤษ

ถ้าหากครูต้องประสงค์ขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ เช่น ถ้าประเมินแล้วอยู่ในระดับ A1 คุณครูยังมีสิทธิ์ขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ของ สำนักงาน ก.ค.ศ.ที่กำหนดไว้อยู่แล้ว

แต่หลักเกณฑ์ใหม่นั้นหากครูผู้สอน ที่ไม่ได้สอนภาษาอังกฤษหรือจบเอกภาษาอังกฤษ แต่สามารถประเมินภาษาอังกฤษ B1 ได้ ทาง ก.ค.ศ. ให้นำผลดังกล่าวไปลดระยะเวลาในการขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะได้ เช่น จาก 4 ปีให้เหลือ 3 ปี

เพราะฉะนั้นการมีทักษะภาษาอังกฤษของครูจะเป็นแต้มต่อในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นเกณฑ์หรือคุณสมบัติอย่างที่เข้าใจ

 

ขอขอบคุณที่มา : อีทีวีแม็ค

Comments are closed.