Take a fresh look at your lifestyle.

สั่งจ่ายทันที! กรณี ครูธุรการโอด ทำทุกอย่าง ได้เงินเดือนแค่ 9,000 แต่ไม่จ่ายสักที

วันนี้ ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา ได้นำรายละเอียดความคืบหน้า สืบเนื่องจากกรณีที่ มีข่าวทางสื่อโซเซียล “ครูสาวธุรการ บ่นทำแทบทุกอย่าง เงินเดือนแค่ 9,000 แต่ไม่ออกซักที ล่าสุดมีรายงานว่า มีการสั่งจ่ายเงินเดือนครูธุรการทันที ติดตามรายละเอียดด้านล่าง

ากกรณีที่มีข่าวทางสื่อโซเซียล “ครูสาวธุรการ บ่นทำแทบทุกอย่าง เงินเดือนแค่ 9,000 แต่ไม่ออกซักที” ได้รับความสนใจและพิพากษ์ วิจารณ์ในวงกว้าง และปัจจุบันได้รับการแก้ไขแล้วนั้น
หากคนในวงการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจไม่สงสัยในที่มาของสถานะและเงินค่าจ้าง แต่เชื่อว่าคนนอกวงการศึกษาอาจเกิดความสงสัยและอยากรู้ที่ไปที่มาเป็นอย่างไร
#ครูสาวธุรการ ที่จริงคือ เจ้าหน้าที่ธุรการ หรือ พนักงานจ้างเหมาบริการธุรการโรงเรียน เป็นบุคลากรภาครัฐ ที่ได้รับค่าจ้างรายเดือนจากงบดำเนินงาน ตามอัตราที่ทางส่วนราชการ (สพฐ.) กำหนดขึ้น ตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อมาปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน
#สพฐ. มีหน่วยงานในสังกัดทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคกว่า 250 สำนักฯ มีสถานศึกษากว่า 3 หมื่นแห่ง บุคลากรทุกประเภท กว่า 4 แสนคน สพฐ.เป็นส่วนราชการขนาดใหญ่ จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณที่สูง ซึ่งร้อยละกว่า 70 เป็นงบบุคลากร (เงินเดือน วิทยฐานะ ค่าตอบแทนฯ) ซึ่งยังไม่รวมค่าจ้างของตำแหน่งอัตราลูกจ้างชั่วคราวตามด้านล่างนี้
#มาดูกันว่าบุคลากร สพฐ. ที่ไม่ใช่ข้าราชการมีใครบ้าง
ก.พนักงานราชการ ตามกรอบพนักงานราชการรอบ 5 ปี (2564-2567) กลุ่มนี้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ประกอบด้วย
#กลุ่มงานบริการ (พ.1) เช่น
-ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา
-พนักงานธุรการ
-พนักงานพิมพ์
-พนักงานบันทึกข้อมูล
-ครูพี่เลี้ยง
#กลุ่มงานเทคนิค (พ.2) เช่น
-ตำแหน่งพนักงานวิทยาศาสตร์
#กลุ่มงานบริหารทั่วไป(พ.3) เช่น
-ตำแหน่งครูผู้สอน
-ตำแหน่งครูผู้สอน(จชต.) สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้
-ตำแหน่งครูผู้สอนศาสนาอิสลาม
-ตำแหน่งครูสอนดนตรี
ข.บุคลากรจ้าง(อัตราจ้าง) กลุ่มนี้รับเป็นค่าจ้างจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ค่าจ้างรายเดือน และลักษณะจ้างเหมาบริการ (ซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขของตำแหน่งอัตรา) จำแนกตามผลผลิต กิจกรรม โครงการ ของ สพฐ. ดังนี้
๑. ผลผลิตผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
1. ครูรายเดือนแก้ไขปัญหาสถานศึกษาครูขาดแคลนขั้นวิกฤต (จ.11)
2. นักการภารโรง (จ.12)
3. บุคลากรปฏิบัติงานใน สพท. ที่ขาดแคลนบุคลากร(จ.13)
4. บุคลากรปฏิบัติงานใน สพท. ที่ตั้งใหม่ 10 แห่งและขาดแคลน 22 แห่ง(จ.14)
5. ครูและบุคลากรโรงเรียนตามพระราชดำริ (จ.15)
๒. กิจกรรมคืนครูให้นักเรียนสำหรับโรงเรียนปกติ
1. เจ้าหน้าที่ธุรการ(จ.21)
2. นักการภารโรง(จ.22)
3. พี่เลี้ยงเด็กพิการ
4. ครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน(จ.23)
5. เจ้าหน้าที่ประจำห้องวิทยาศาสตร์ (Lab boy) (จ.24)
6. พนักงานจ้างเหมาบริการธุรการโรงเรียน
๓. โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา
– ตำแหน่งบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (จ.31)*
๔. โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในเขตพิเศษพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สพก.จชต.)
1. วิทยากรสอนอิสลามศึกษา
2. พนักงานรักษาความปลอดภัย
๕. โครงการยกระดับพัฒนาครูทั้งระบบ
– ครูสาขาขาดแคลน (จ.61)
๖. ผลผลิตเด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ (สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ; สศศ.)
1. คนครัว คนงาน ยาม
2. พนักงานขับรถ
3. พี่เลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน
4. ครูอัตราจ้าง
๗. ผลผลิตเด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ (สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ; สศศ.)
1. คนครัว คนงาน ยาม
2. พนักงานขับรถ
3. ครูอัตราจ้าง
๘.โครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน
-ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน
#หมายเหตุ ; พ คือ พนักงานราชการ , จ คือ บุคลากรจ้าง
; งบประมาณทั้งหมดจาก สพฐ. (สถานศึกษาสามารถกำหนดอัตราและหางบประมาณจ้างเองโดยใช้เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณของสถานศึกษานั้นๆ และขอรับการสนับสนุนจาก อปท. หรือจากแหล่งอื่นได้)
*บุคลากรวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตามโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษากิจกรรมครูคลังสมอง จำนวน 1,964 อัตรา (สพฐ. แจ้งหนังสือด่วนที่สุดที่ ศธ.04010/ว.39 ลงวันที่ 7 ม.ค. 2564 ว่าสิ้นสุดโครงการ 30 กันยายน 2564)

 

ขอขอบคุณที่มา : สรุปจากหนังสื่อเวียน แนวปฏิบัติสรรหาบุคลารจ้าง สพฐ. และแบบสำรวจข้อมุลบุคลากร สพฐ.
นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด