ผอ.รร.ขนาดเล็กสะท้อนนโยบาย ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเป็นคำลวง วอนผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายกำหนดอัตรากำลังที่เท่าเทียม

ผอ.โรงเรียนขนาดเล็ก ออกมาเรียกร้องขอให้ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย ทบทวนเรื่องการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เผยเป็นคำลวง วอนกำหนดนโยบายกำหนดอัตรากำลังที่เท่าเทียม โรงเรียนขนาดเล็กต้องการอัตรากำลังครูเท่าเทียมตามเกณ์ ขอให้ยกเลิกการประเมินที่ไม่จำเป็น เพื่อจะได้ลดภาระครูผู้สอน อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในโพสต์นะคะ

ผอ.โรงเรียนขนาดเล็ก ออกมาเรียกร้องขอให้ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย ทบทวนเรื่องการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เผยเป็นคำลวง วอนกำหนดนโยบายกำหนดอัตรากำลังที่เท่าเทียม โรงเรียนขนาดเล็กต้องการอัตรากำลังครูเท่าเทียมตามเกณ์ ขอให้ยกเลิกการประเมินที่ไม่จำเป็น เพื่อจะได้ลดภาระครูผู้สอน อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในโพสต์นะคะ

 

ผอ.รร.ขนาดเล็กสะท้อนนโยบายการศึกษา ควบรวมรร.ขนาดเล็กเป็นคำลวง แท้จริงแล้วคือจุดเริ่มต้นการยุบเลิกโรงเรียน

วานนี้(10 ธันวาคม 2564) ที่เฟซบุ๊ก ผอ.อุ้ย เสี่ยวป้อ ได้เผยแพร่โพสต์ ประเด็นต่าง ๆ ที่สะท้อนเกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษา ที่ส่งผลต่อโรงเรียนขนาดเล็ก เผยความในใจที่อยากให้ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายต่าง ๆ ได้เข้าใจโรงเรียนขนาดเล็ก เผยว่า โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ เป็นทางผ่านของผู้บริหารหัวก้าวหน้า มาอยู่พอประเมินผ่าน แล้วก็ย้ายจากไป ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาโรงเรียน พอมีการประเมินกลับหาคุณภาพบนมาตรฐานเดียวกัน ทั้งที่บริบัทและปัจจัยด้านต่าง ๆ แตกต่างกันโดยสิ้่นเชิง ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กเป็นจุดอ่อนของการศึกษาทั้งระบบ และก็มาออกนโยบายยุบเลิก ควบรวมโรงเรียน แท้ที่จริงแล้ว นโยบายนี้ เป็นเพียงคำลวง เนื่องจากจะยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กต่างหาก

โรงเรียนขนาดเล็กต้องการอัตรากำลังครูเท่าเทียมตามเกณ์ ขอให้ยกเลิกการประเมินที่ไม่จำเป็น เพื่อจะได้ลดภาระครูผู้สอน วอนผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายเมตตาโรงเรียนขนาดเล็กด้วย เพราะผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในระบบการศึกษา

รายละเอียดโพสต์ดังนี้

จากใจ ผอ.โรงเรียนขนาดเล็ก

ลูกเศรษฐี ทำธุรกิจหลายร้อยล้าน แลดูประสบความสำเร็จแทบทุกอย่าง มีทุนจากครอบครัวไม่ต้องดิ้นรนหา มีครีเอทีพ มี Coach ทางธุรกิจ มีที่ปรึกษาอันเกิดประสบการณ์เดิมของงานธุรกิจครอบครัว มีทีมคุณภาพอันเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร

เส้นทางสู่เป้าหมายและความสำเร็จของคนจน มันช่างตรงข้ามและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โอกาส ปัจจัยสนับสนุน มูลค่าเพิ่มทางการตลาดไม่ง่ายเลยกว่าจะสร้างขึ้นมา การจะประสบความสำเร็จนั้น มันจึงเป็นผลลัพธ์ง่ายๆ เชิงประจักษ์ และค่อยพัฒนาเป็นขั้นบันไดหลายขั้นมาก บางขั้นสูงลิบ จึงจำเป็นต้องใช้เวลานาน และความอดทนในการเพียรพยายามอันสูงสุด

ผู้คนส่วนใหญ่จึงดิ้นรนพยายามหนีไปอยู่ในองค์กรระดับใหญ่ อยู่ในองค์กรที่พร้อม เพื่อโอกาสของตน และความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย เพราะปัจจัยในการสนับสนุนมันส่งเสริมและเพียงพอ

มันจะแตกต่างอะไรกับโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อสังคมวัดกันด้วยความสำเร็จจากโล่รางวัล เกียรติบัตรจากรางวัลต่างๆ ลำพังแค่งบประมาณที่มีจากเงินรายหัวก็มากเพียงพอแล้ว ยังมีงบประมาณจากสมาคมผู้ปกครองอีก และนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นสนับสนุนเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายโรงเรียนดีสี่มุมเมือง งบไม่อั้นกับโรงเรียนขนาดใหญ่

โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงเป็นทางผ่านของผู้บริหารหัวก้าวหน้า อยู่เพื่อจากไป ทำเพื่อให้ผ่านการประเมินแล้วก็ย้ายหนีจากไป คนแล้วคนเล่าจึงขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา แต่นโยบายกับถามหาคุณภาพบนมาตรฐานเดียวกัน ทั้งๆ บริบทและปัจจัยทางการบริหารแตกต่างกันสิ้นเชิง โรงเรียนขนาดเล็กจึงถูกตราหน้า ว่าคือจุดอ่อนของการศึกษาทั้งระบบ (ไปอ่านเพิ่มเติมในบทนำของแผนการศึกษาแห่งชาติได้เลยจริงหรือไม่)

นโยบายจึงออกมามากมายในการยุบเลิก ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และตัดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สวนทางกับนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติข้อที่ 4 พี่เน้นความเสมอภาคและเท่าเทียม แล้วคนยากคนจนในชนบทจะให้เค้าเอากำลังทรัพจากไหน ส่งเด็กไปเรียนที่ห่างไกลจากหมู่บ้านของตน แล้วก็อ้างว่าก็เงินเรียนฟรีนั่นไงที่ดูแล (ตอบยังกับ ไม่ได้วิจัยและผลจากความเห็นของสังคมส่วนใหญ่ ของผู้ปกครองในโรงเรียนชนบทเลย)  ลองไปถามผู้ปกครองดูสิหากให้เด็กไปเรียนในเมืองค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นหรือไม่

นโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจึงเป็นคำลวงทั้งนั้น แท้จริงแล้วนั้นมันคือจุดเริ่มต้นในการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กต่างหาก เพียงแต่มันต้องใช้เวลาจึงเกิดกลยุทธ์นี้ขึ้นมา ลดแรงต่อต้าน โยนภาระให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนเป็นกันชนและด่านหน้า ในการตอบคำถามของผู้ปกครอง

และสิ่งที่เจ็บปวดที่สุด การแสดงความเห็นต่างในเชิงนโยบายกลับกลายเป็นเรื่องผิด ทั้งทั้งที่เราอยู่ในประเทศประชาธิปไตย การแสดงความเห็นทางวิชาการเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กลับถูกแรงกดจากผู้มีอำนาจที่เหนือกว่า ในหลากหลายวิธี ซึ่งหากความเห็นนี้มันจะสะท้อนอีกมุมมองบ้างในเชิงวิชาการไม่ใช่เรื่องผิดเลย แต่ในทางบริหารจัดการกลับมองว่าเราขัดนโยบาย

Advertisements

การพัฒนาคนการพัฒนาชุมชน วิธีการง่ายที่สุดในทุกประเทศใช้กันคือการหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพตามบริบทที่แตกต่างกัน ไม่ใช่เอามาตรฐานเดียวกันมาวัดคุณค่าของมนุษย์ และการศึกษาไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องของกำไรและขาดทุน แต่เป็นรัฐสวัสดิการที่ต้องให้ทุกคนในประเทศแห่งนี้ได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ

ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายโปรดเมตตาเราด้วย เราต้องการอัตรากำลังที่เท่าเทียมตามเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนด เราต้องการปัจจัยสนับสนุนที่นอกเหนือจากเงินเรียนฟรี 15 ปี ในทางตรงข้ามเลย เราไม่ต้องการนโยบายที่เป็นภาระอันเกินหน้าที่ของครูผู้สอนโดยเด็ดขาด ยกเลิกการประเมินที่ไม่มีความจำเป็นและลดภาระให้น้อยที่สุด ยกเลิกการประกันคุณภาพที่ใช้มาตรฐานเดียวกันกำหนด ยกเลิกเกณฑ์บางประการ ที่ต้องใช้ผลการประกวดแข่งขันอันส่งผลให้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนทำทุกอย่างเพื่อเติบโตในเส้นทางราชการจากรางวัลพวกนี้ จนหลงลืมแก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์บนความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ใช่ความก้าวหน้าของใครบางคนจนละเลยผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในระบบการศึกษา

Advertisements

จากใจ ผอ.บ้านนอกคนหนึ่ง

 

 

ที่มา

Comments are closed.