ไอเดียการเล่นที่บ้าน เพิ่มประสิทธิภาพในการจำ เเละตอบสนอง เพื่อพัฒนาผลการเรียนของเด็ก

ไอเดียการเล่นที่บ้าน เพิ่มประสิทธิภาพในการจำ เเละตอบสนอง เพื่อพัฒนาผลการเรียนของเด็ก จากงานวิจัยพบว่าสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำจะมีการพัฒนาระบบบสอง 2 ส่วนที่เป็นปัจจัยทำให้มีผลการเรียนดี ผู้ปกครอง หรือคุณครูทุกท่่าน สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความค่ะ

 

ทำไมเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่นั่งเฉยๆ?
สมองของเด็กที่นั่งเฉยๆ กับเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายต่างกันอย่างไร?
.
สองรูปนี้คือรูปที่สแกนคลื่นความร้อนจากด้านบนศรีษะเด็ก 2 กลุ่ม
– กลุ่มเเรก (รูปทางซ้าย) คือเด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที
– กลุ่มที่สอง (รูปทางขาว) คือเด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาที
.
🔴 สีเเดงหมายถึงระดับเส้นประสาทสมองทำงานที่สูง
🔵 สีน้ำเงินหมายถึงระดับเส้นประสาทสมองทำงานที่ต่ำ
.
สมองของเด็กทั้งสองกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพในการจำเเละตอบสนอง ซึ่งเป็นปัจจัยต่อผลการเรียนของเด็กๆ โดยได้มีการให้เด็กสองกลุ่มทำแบบทดสอบด้านการอ่าน สะกดคำ และคิดเลข ผลปรากฏว่า เด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาที มีการตอบสนองที่เเม่นยำและเร็วกว่า เด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถอ่านจับใจความได้ดีกว่าอีกด้วย
.
สมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำจะมีการพัฒนาระบบบสอง 2 ส่วนที่เป็นปัจจัยทำให้มีผลการเรียนดี ได้แก่
.
1. Working Memory – การถ่ายทอดข้อมูลจากความจำระยะสั้น (Short-term Memory) เป็น ความจำระยะยาว (Long-term Memory) เช่น รู้ว่าสามเท่าของสองคือหก ซึ่งเท่ากับ 3 คูณ 2

  1. Relation Memory – ความสามารถในการจำข้อมูลเเละตอบสนองในสิ่งที่เห็นตรงหน้า เช่น การการตอบสนองเมื่อรู้ว่าต้องเลี้ยวซ้าย
    .
    สรุปได้ว่าระบบสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้เคลี่อนไหวร่างกาย รวมทั้งมีผลดีต่อผลการเรียนเชิงวิชาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาระบบสมองถือเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในเด็กอายุ 3-8 ปี หากระบบสมองพัฒนาไม่เต็มที่เเละถูกวิธี ในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กได้
    .
    เห็นแบบนี้เเละพ่อเเม่หรือคุณอย่าให้เด็กๆ นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน หมั่นพาเขาออกไปเล่น ไปทำกิจกรรมนอกเหนือจากการนั้งเรียนหน้าหน้าจอบ้างในช่วงนี้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่

ที่มา  เพจ Leeway การเรียนรู้ผ่านการเล่น