การเป็นข้าราชการที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ขอแนะนำ INFOGRAPHIC “การเป็นข้าราชการที่ดี” ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ต้องยึดจรรยาข้าราชการ (มาตรา 78) คือ

1) ยึดมั่นยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
2) ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
3) โปร่งใสและตรวจสอบได้
4) ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
รวมทั้งข้อปฏิบัติตามมาตรา 82 และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4 ด้าน คือ

1. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

  • หลักประสิทธิภาพ
  • หลักประสิทธิผล
  • หลักการตอบสนอง

2. ค่านิยมประชาธิปไตย

  • หลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้
  • หลักความเปิดเผย/โปร่งใส
  • หลักนิติธรรม
  • หลักความเสมอภาค

3. ประชารัฐ

  • หลักการกระจายอำนาจ
  • หลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ

4. ความรับผิดชอบทางการบริหาร

  • หลักคุณธรรม/จริยธรรม

 

 

10 ข้อห้าม ที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการ มีดังนี้

  1. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
  2. ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
  3. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
  4. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
  5. ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
  6. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
  7. ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
  8. ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
  9. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ
  10. ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

Comments are closed.