Take a fresh look at your lifestyle.

ปัญหาการพัฒนาเด็ก และครอบครัวในศตวรรษที่ 21 สาเหตุมาจากอะไร?

ปัญหาการพัฒนาเด็ก และครอบครัวในศตวรรษที่ 21 เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเด็กในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดิม อาจต้องถูกทับซ้อนด้วยแนวคิด รูปแบบวิธีการ ความเชื่อ และเทคโนโลยีที่ผุดเกิดขึ้นใหม่ๆตามยุคสมัย เด็กและครอบครัวจำ เป็นต้องข้ามผ่านวันเวลาที่ผันเปลี่ยน และยืนหยัดอยู่ให้ได้ในสังคมสมัยใหม่ บ่มฟักคุณลักษณะที่พึงมีอย่างเหมาะสม ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของวันนี้และอนาคตข้างหน้า ให้สมบูรณ์แบบอย่างเต็มกำลัง

เมื่อห้วงเวลาของศตวรรษที่ 21 คืบคลานเข้ามานับกว่าทศวรรษแล้ว สังคมโลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น สำหรับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของบริบททางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเช่นเดียวกับเด็ก ที่เป็นทั้งผลพวงและเป็นโจทย์สำคัญของสังคมว่า จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร ตั้งแต่วัยเริ่มต้น ให้มีพื้นฐานที่ดีมั่นคง สามารถเติบโตและอยู่รอดได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

ปัญหาการพัฒนาเด็ก และครอบครัวในศตวรรษที่ 21 มีสาเหตุมาจากอะไร?

เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของ ปัญหาการพัฒนาเด็ก และครอบครัวสามารถสรุปได้ 3 ประการคือ

  • ความเชื่อและค่านิยมที่ผิดของผู้ปกครอง สาเหตุหลักสำคัญประการแรกที่เป็นส่วนทำให้เกิดปัญหาตามมา ที่กล่าวว่าความเชื่อและค่านิยมที่ผิดนั้นก็เพราะ ในประเทศไทยผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าคนที่มีความรู้มากคือคนเก่ง และจะมีอนาคตที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งสิ่งที่จะวัดการมีความรู้ทางวิชาการหรือความเก่งได้นั้นก็คือคะแนน ดังนั้นผู้ปกครองจึงมุ่งเน้นให้เด็กเร่งเรียน และให้ความสำคัญกับการสอบและการแข่งขันสูงมาก เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีความเก่งมากเพียงพอ ที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งสาเหตุนี้นำไปสู่สาเหตุของปัญหาตามมาอีกมาหลายประการ
  • การเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการในระดับปฐมวัย คือผลของความเชื่อที่ผิดของผู้ปกครอง ที่เห็นว่าความรู้ทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการแข่งขันทางการศึกษาจึงมีมากขึ้น โดยเด็กเล็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจะต้องเริ่มเรียนวิชาการเพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนชั้นนำได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องอ่านออก เขียนได้ นับเลขเป็น และสำ หรับบางทีอาจถึงขั้นบวกลบเลขได้ตั้งแต่ในระดับชั้นปฐมวัย แต่นั่นกลับสร้างความเครียดและความกดดันให้เด็กมากขึ้น ทำให้เด็กหลายๆคนรู้สึกไม่ชอบ เบื่อการเรียน และไม่มีความสุขกับการเรียนเพื่อสอบ
    ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้การศึกษาเป็นเรื่องของการลงทุน ที่ผู้ปกครองจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากขึ้นในการศึกษาของลูก ทั้งกับการเรียนพิเศษ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์การเรียนที่ใช้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็น คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยในการเรียนของเด็ก
  • การปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขา
    เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีก

จากสาเหตุของปัญหาทั้ง 3 ประการดังกล่าว ทำให้เห็นว่า การที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองของศตวรรษที่ 21 ได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน โดยต้องอาศัยการทำความเข้าใจเพื่อปรับความคิด ความเชื่อใหม่ตั้งแต่ระดับครอบครัว ผู้บริหารการศึกษา รวมถึงการจัดระบบการศึกษา

เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของเด็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากไม่มีการปรับปรุงวิสัยทัศน์ของคนในประเทศ รวมถึงการร่วมมือกันอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วน แน่นอนว่าประ เทศไทยอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์และพลเมืองในอนาคตมากขึ้น เพราะเด็กในวันนี้ที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ไม่มีสมรรถภาพมากพอที่จะใช้ชีวิต และเป็นคนที่มีคุณภาพพอที่จะดูแลสังคมในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้

พ่อแม่ ผู้ปกครองช่วยเหลือหรือพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร?

เมื่อเห็นชัดแล้วว่าปัญหาของการพัฒนาเด็กมีสาเหตุเริ่มมาจากผู้ใหญ่ ซึ่งผู้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเด็กมากที่สุดคือ ผู้ปก ครองและครู เป็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนสำคัญที่จะส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้เด็กได้ดีที่สุด นอกจากที่ผู้ใหญ่ในสังคม ไทยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กแล้ว พวกเขายังมีส่วนช่วยในการพัฒนาของเด็กได้อีกหลายประการ

พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนช่วยเพิ่มทักษะและการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับเด็กได้ดังนี้

  • ปล่อยให้ลูกเล่น การเล่นทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากขึ้น แม้ว่ากิจกรรมบางอย่างอาจดูเลอะเทอะ เช่น การเล่นทรายหรือการวาดภาพ แต่จะทำให้เขาได้พัฒนากล้ามเนื้อ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการสัมผัส การแยกเนื้อละ เอียด เนื้อหยาบของทราย การสังเกต และที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงกิจกรรมกลางแจ้งที่อาจต้องอยู่กลางแดดลม ที่พ่อแม่หลายคนมักเกรงว่าลูกอาจบาดเจ็บหรือป่วยได้ เช่น การขี่จักรยาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้ฝึกทักษะทั้งทางการมองเห็น การคิดตัดสินใจ และยังทำให้พวกเขาได้ฝึกการทรงตัวอีกด้วย ในญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขี่จักรยานของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะการขี่จักรยานทำให้เด็กได้พัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกัน และยังได้ฝึกให้สมองและใยประสาทจะได้ทำงานร่วมกัน เมื่อได้ฝึกคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและลงมือทำ ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่น เพราะนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว เด็กยังจะได้เรียนรู้มากกว่าการนั่งเขียนหนังสือหรือเรียนวิชาการมาก
  • สื่อสารกับลูก พ่อแม่หลายๆ คนอาจคิดว่า เด็กในวัยนี้เป็นเด็กอยู่เสมอ จึงพูดให้เด็กๆฟังอยู่ฝ่ายเดียว แต่จริงๆแล้วเด็กวัยนี้ควรเริ่มฝึกเรื่องการสื่อสาร และพ่อแม่ก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ลูกได้พัฒนาในส่วนนี้ได้มาก โดยเริ่มแรกพ่อแม่ควรหัดให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อให้ลูกได้ฝึกประสาทการฟัง การแยกแยะเสียง สอนให้ลูกมีสติมีสมาธิในการฟัง โดยการเงียบและตั้งใจฟังสิ่งที่ได้ยิน อาจเริ่มจากการสอนให้ลูกฟังพ่อแม่พูดให้จบก่อน แล้วลูกถึงจะพูดต่อ หรือการสอนให้ลูกฟังเพลงเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำกิจกรรมอื่นควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้เมื่อลูกสามารถฟังได้แล้ว พ่อแม่ควรให้โอกาสลูกได้พูด สื่อความรู้สึกของตนเองออกมาด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยสอนการสื่อสารของลูก ที่จะพยายามบอกให้พ่อแม่ทราบถึงความรู้สึกและความต้องการของตนเอง
    ยิ่งไปกว่านั้นเด็กยังได้เรียนรู้มารยาทและจริยธรรมเบื้องต้น ซึ่งคือเรื่องของการให้เกียรติกันในการรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด และผู้อื่นก็ต้องฟังเราพูด สุดท้ายพ่อแม่ควรตั้งคำถามเพิ่มเติมให้แก่ลูก เพื่อฝึกทักษะทางการคิดวิเคราะห์ เช่น เมื่อฟังเพลงจบแล้ว นอกจากที่พ่อแม่จะถามลูกว่าชอบหรือไม่ชอบเพลงนี้ พ่อแม่อาจถามความคิดเห็น หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเพลงนั้นเพิ่มเติมด้วยก็ได้
  • จัดระบบชีวิตลูก วัยเด็กไม่ใช่แค่เล่นหรือเรียนเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาจะต้องเริ่มหัดที่จะใช้ชีวิตอย่างมีระบบระ เบียบบ้าง เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่จะจัดการชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน รวมไปถึงการเริ่มฝึกเรื่องระเบียบวินัย การเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎ ซึ่งต่อไปจะทำให้พวกเขาสามารถทำตามกฎหมายและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ เช่น พ่อแม่กำหนดให้ลูกตื่นนอนและเข้านอนเป็นเวลาในวันที่จะต้องไปโรงเรียน
  • ควบคุมการใช้สื่อและเทคโนโลยีของลูก ขณะนี้การสื่อสารต่างๆรวมไปถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย ทั้งโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานอุป กรณ์เหล่านี้ได้แล้ว
    ดังนั้นพ่อแม่ควรเลือกสิ่งที่จะให้ลูกใช้ เช่น มีการเลือกเกมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองและทักษะของลูก มีการจำกัดการใช้ไม่ให้มากเกินไป เพื่อไม่ให้มีปัญหากับสายตา และที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่เองก็จะต้องเป็นตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย โดยไม่ยึดติดกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหล่านี้ตลอดเวลา เช่น ไม่เล่นหรือใช้งานในเวลาทานข้าวหรืออยู่กับครอบครัว เป็นต้น
  • สอนวัฒนธรรมและจิตสำนึกให้กับลูก สิ่งสำคัญที่เด็กยุคใหม่ขาดไปคือ เรื่องของวัฒนธรรม มารยาทสังคม และจิต สำนึก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้ติดตัวของพวกเขาไปเมื่อโตขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรเพิก เฉยต่อสิ่งเหล่านี้ เช่น หากลูกทำอะไรผิด ควรมีการตักเตือนและบอกเหตุผล เพื่อให้ลูกเข้าใจและไม่ทำอย่างนั้นอีก พาลูกไปวัดหรือสถานที่ประวัติศาสตร์บ้าง
    เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้วัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม เป็นต้น โดยอาจเริ่มจากเรื่องเล็กน้อย เช่น การเข้าแถว การไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น การขอโทษ หรือการขอบคุณ เพื่อเป็นพื้นฐานให้เขาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต เนื่องจากเมื่อโตขึ้นพวกเขาจะต้องเข้าไปอยู่ร่วมกับคนในสังคม การเริ่มปลูกจิตสำนึกในขณะที่พวกเขากำลังเรียนรู้นั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พวกเขาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต
  • ให้ลูกใช้ชีวิต เมื่อเด็กๆโตขึ้นพวกเขาจะต้องออกไปใช้ชีวิตและมีชีวิตเป็นของตนเอง ดังนั้นพวกเขาควรจะต้องได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง ได้ลองตัดสินใจอะไรเองบ้าง เพราะจะทำให้พวกเขาได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการตัด สินใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ทักษะการเป็นผู้นำหรือทักษะอื่นๆอีก ซึ่งอาจจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ เช่น การเก็บของเล่น การเลือกสีทิ่ชอบ การเล่นกีฬาแล้วแพ้บ้างชนะบ้าง
    หรือการอดทนรอสิ่งที่พวกเขาต้องการ และให้ลองคิดหาวิธีการผ่านอุปสรรคบาง อย่างเองบ้าง หลายครั้งพ่อแม่อาจไม่ใจเย็นพอที่จะรอลูกคิดหรือตัดสินใจ จึงรีบทำให้ทุกอย่าง แต่พ่อแม่อาจลืมไปว่านั่นเป็นการจำกัดการเรียนรู้ของลูก ทำให้ลูกทำอะไรไม่เป็น หรือเป็นช้ากว่าเด็กคนอื่น หรือได้พัฒนาทักษะบางด้านน้อยกว่าที่ควร เพราะการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้ใช้ความคิดในการตัดสินใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก taamkru.com

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี