สพฐ.รื้อฟื้นการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียนขึ้นมาใหม่

ครูประถมรอระเบียบรับรองจาก สพฐ. เรื่องการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน  เนื่องจากสพฐ. มีแนวคิดว่าการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียนเป็นผลดีต่อครูประถม  และในแง่อื่นๆ โรงเรียนกได้จับกลุ่มกันอยู่แล้ว  ครูประถมคอยติมตามข่าวสารก่ารออกระเบียบรองรับ

 

สพฐ.ฟื้นระบบ “กลุ่มโรงเรียน” เตรียมชงร่างระเบียบเข้าบอร์ดเคาะ 12 ก.ค.นี้ หลังออกประกาศขีดเส้น 60 วัน ให้ ร.ร.ทุกขนาด ทั้งประถมและมัธยมรวมกลุ่มกัน 7-15 โรง ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพการศึกษา แชร์ทรัพยากรร่วมกัน จัดสรรงบได้เป็นระบบ

วันนี้ (2 ก.ค.) นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ “กลุ่มโรงเรียน” เป็นฐาน ซึ่งขณะนี้มีการร่างระเบียบ สพฐ. ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนขึ้น ซึ่งจะมีการนำร่างเข้าที่ประชุมบอร์ด กพฐ.ในวันที่ 12 ก.ค.นี้ เพื่อให้ข้อเสนอแนะและออกเป็นประกาศต่อไป ซึ่งในร่างระเบียบจะมีบทเฉพาะกาลกำหนดให้สถานศึกษาจัดตั้งกลุ่มโรงเรียนตามระเบียบภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ระเบียบประกาศใช้ คาดว่าทุกอย่างจะแล้วเสร็จภายใน ก.ค.นี้

นายสุเทพ กล่าวว่า สำหรับการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน จะให้โรงเรียนทุกขนาด ทั้งขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมถึงโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 7-15 โรง โดยอาศัยพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ เขตการปกครอง และการคมนาคมในการรวมกลุ่ม เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ในการช่วยเหลือกัน ทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษา การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งบุคลากรและสถานที่ โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนขึ้น มีผู้บริหารสถานศึกษาทุกโรงเรียนในกลุ่มเป็นกรรมการ และเขตพื้นที่ฯ จะเลือกประธานและรองประธานตำแหน่งละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเรื่องวิชาการและการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการศึกษา เช่น การติดตามประเมินผลนิเทศก์ การประสานงานและวางแผนร่วมกัน และมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่ง

“ในช่วงปี 2534 เคยจัดทำกลุ่มโรงเรียนและได้ผลดี แต่เงียบหายไป และขณะนี้โรงเรียนก็มีการจับกลุ่มกันอยู่แล้ว แต่เป็นเฉพาะเรื่อง เช่น กลุ่มสหวิทยาเขต กลุ่มสาระวิชา เป็นต้น สพฐ.จึงรื้อฟื้นการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียนขึ้นมาใหม่ โดยให้มีระเบียบ สพฐ.รองรับ เพื่อให้เป็นไปในแนวปฏิบัติเดียวกัน สะดวกในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างมีระบบ เชื่อว่าถ้าทำได้อย่างสมบูรณ์จะทำให้สามารถขับเคลื่อนการศึกษาได้ดีมาก เพราะเรายึดหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ให้พื้นที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ สพฐ.ยังมีกลุ่มคลัสเตอร์ (Cluster) ที่นำเขตพื้นที่ฯ มารวมกัน 20 กลุ่ม เพื่อคุมเขตพื้นที่ฯ อีกทีหนึ่ง จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและดูแลได้ใกล้ชิดมากขึ้น” นายสุเทพ กล่าว

Advertisements

 

ที่มา mgronline.com

Advertisements

 

Comments are closed.