Take a fresh look at your lifestyle.

การเขียนบันทึกหลังการสอน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เกณฑ์วิทยฐานะ PA เชื่อมโยงกับ 8 ตัวชี้วัด

วันที่ 20 มีนาคม 2566 ขอนำเสนอการเขียนบันทึกหลังการสอน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เกณฑ์วิทยฐานะ PA เชื่อมโยงกับ 8 ตัวชี้วัด สำหรับคุณครูที่กำลังเตรียมจัดทำรายงาน สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางได้ค่ะ สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างเอกสารได้จากลิงก์ในบทความนะคะ

วิธีการบันทึกหลังการสอน

1.ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

เป็นการบันทึกความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้จากที่ได้สอนซึ่งนักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่ได้จากการสอน และบางคนก็สามารถตอบคำถามได้  อธิบายได้ว่า  IP ADDRESS คืออะไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้เพื่อนๆกลุ่มที่ไม่เข้าใจสามารถเข้าใจได้  และนักเรียนก็สามารถสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง IP ADDRESS ได้

2.ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้

เป็นการบันทึกปัญหาหรืออุปสรรคจากการสอนจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมและปัญหาจากนักเรียนที่ซนกัน ซึ่งในห้องจะมีทั้งนักเรียนที่ตั้งใจเรียนและไม่ตั้งใจเรียน ส่วนนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนก็จะเล่นเกมส์กันในห้อง  คุยกันเสียงดังบ้าง

แนวทางแก้ไข

ก่อนจะเริ่มสอนต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ให้เรียบร้อยก่อนว่าเราต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างประกอบการสอน  หากเด็กสนใจแต่หน้าจอก็ควรสร้างบทเรียนให้ดูหน้าสนใจ  หาวิธีการสอนที่ทำให้เด็กเปลี่ยนจากหน้าจอและหันมามองสิ่งที่สอน  หรือปิดหน้าจอและแบ่งเวลาให้เด็กได้เล่น

3.สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน

1.สอนได้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดในแผน

2.ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็ก

3.ไม่ได้ทำใบงาน

เหตุผล

สอนได้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดเพราะในแผนได้กำหนดไว้ 2 ชั่วโมง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ทางโรงเรียนให้สอนได้เพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งคาบที่สอนเป็นคาแรก กว่าที่เด็กๆจะเลิกแถวหน้าเสาธงก็เลยเวลาไปประมาณ  10 นาที  เลยทำให้เด็กๆไม่ได้ทำกิจกรรม และใบงาน

4.การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้

การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้จากที่ได้ไปสอนคือ  การเตรียมแผนให้ทันต่อเวลาที่ทางโรงเรียนได้กำหนดให้  และวิธีการสอนควรให้เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งเนื้อหาควรน่าสนใจ มีความถูกต้อง และไม่น่าเบื่อ

 

ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning  เป็นดังนี้  (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2553)
1.เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2.เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3.ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5.ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
7.เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8.เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด
9.ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10.ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

ตัวอย่างไฟล์บันทึกหลังการสอน 

ตัวอย่างการประเมินผลการจัดการเรียนรู้

 

เงื่อนไขการใช้: แผน active learning แผนการสอน

  • ใช้งานงานส่วนตัวหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น (Personal and education use)
  • ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อการค้า (Not allow for commercial use)
  • ไม่อนุญาตให้นำไปขายหรือแจกจ่าย (Not allow for (re)sell, (re)distribute)

ขอบคุณที่มา ดร.อัครเดช จำนงค์ธรรม ภาค2 | คุณครูภฌลดา ปรางควิรยา โรงเรียนวัดหนองโพรง สพป.ปราจีนบุรี เขต 1

 

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี