มาสโลว์

จิตวิทยาการศึกษา : ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์

เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีการจูงใจได้ดียิ่งขึ้น ควรทราบถึงแนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับการจูงใจ ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ดังต่อไปนี้
            1.นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจว่า เครื่องล่อหรือสิ่งล่อใจ (Incentive) โดยเฉพาะรางวัลมีความสำคัญในการจูงใจบุคคลให้มีพฤติกรรมเกิดขึ้น รางวัลที่ดีจะต้องสามารถดึงดูดใจบุคคลให้อยากกระทำ และมีความพึงพอใจในรางวัลที่ได้รับหลังจากการกระทำเสร็จสิ้นลง นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญของกาสรจูงใจภายนอกมาก
            2.นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้คัดค้านทัศนะของกลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยอธิบายว่าพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลถูกกำหนดขึ้นมาจากความคิดของบุคคลเอง ไม่ใช่เกิดจากอิทธิพลของรางวัล การลงโทษ หรือผลกรรมในอดีตที่ผ่านมา โดยบุคคลได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำหรือก่อนการมีพฤติกรรม พร้อมทั้งย้ำว่าบุคคลจะถูกจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไม่เฉพาะการถูกกระตุ้นจากสถานการณ์ที่มาจากภายนอกหรือเงื่อนไขทางร่างกาย เช่น ความหิวหรือความกระหาย แต่ยังรวมไปถึงการตีความของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย อีกทั้งมนุษย์ยังมีความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น ฉะนั้นการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ อาจเป็นเพราะความสนุกสนานในงานที่ทำ ต้องการความรู้ความเข้าใจและความสำเร็จในงานที่ทำได้ดี นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญของการจูงใจภายในมาก
            3.นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะในการจูงใจไว้ว่า การจูงใจเกิดจากพลังผลักดันภายใน หรือ ความต้องการจากภายในตัวบุคคล เช่น ความต้องการขั้นสูงสุดของมาสโลว์ และอธิบายว่า ความต้องกการของบุคคลจะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายที่สูงสุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ทุ่มเทความพยายามและกำลังความสามารถที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อสนองความต้องการขั้นสูง เช่น ความภูมิใจ เป็นต้น
            4.นักจิตวิทยากลุ่มการเรียนรู้ทางสังคม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจว่า การจูงใจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ ความคาดหวังของบุคคลในการทำกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ กับคุณค่าของสิ่งตอบแทนหรือผลกรรมที่ได้รับหลังจากการกระทำเสร็จสิ้นลง (คุณค่าของเครื่องล่อใจหรือสิ่งล่อใจ) ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างทัศฯของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มปัญญานิยม และย้ำว่าจะต้องมีทั้ง 2 องค์ประกอบ จะขาดองค์ปรกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้
        จากทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจของนักจิตวิทยาทั้ง 4 กลุ่ม แสดงให้เห็นชัดว่าการจูงใจให้บุคคลการะทำสิ่งใดๆก็ตาม บุคคลอาจจูงใจของตนเอง (การจูงใจภายใน) หรืออาจจูงใจโดยใช้สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้น (การจูงใจภายนอก) หรืออาจใช้สองอย่างควบคู่กันไป
        ทฤษฎีการจูงใจที่นักจิตวิทยาใช้อธิบายพฤติกรรม และนำไปประยุกต์ใช้ในการกระทำ มีทั้งทฤษฎี ทางพฤติกรรมนิยม มนุษยนิยม ปัญญานิยม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งทฤษฎีทั้ง 4 กลุ่มต่างก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล แต่เนื่องจากพฤติกรรมของอบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ จึงไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายพฤติกรรมของบุคคลได้ทุกอย่าง จึงจำเป็นต้อเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันหลายๆทฤษฎี
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะทฤษฎีการจูงใจที่สำคัญ ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้
 

ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์(Hierarchy of Needs)

        อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งมีเบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นเมื่อความต้องการพื้นฐานได้รับการตอบสนอง เช่น ความมั่นคงความปลอดภัย กินอิ่มนอนหลับ ความต้องการอื่นจะเข้ามาทดแทน เป็นพลังซึ่งจูงใจให้ทำพฤติกรรม เช่น อาจเป็นความสำเร็จในชีวิต เป็นต้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็น 5 ระดับ ด้วยกัน ได้แก่
            5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและพัฒนาศักยภาพของตน
            4.ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า
            3.ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
            2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
            1.ความต้องการทางสรีระ
มาสโลว์
        1.ความต้องการทางสรีระ(Physiological Needs) หมายถึง ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า ฯลฯ ความต้องการนี้เริ่มตั้งแต่วัยทารกกระทั่งถึงวัยชรา มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางสรีระอยู่เสมอจะขาดไม่ได้ ถ้าอยู่ในสภาพที่ขาดร่างกายจะกระตุ้นให้บุคคลทำกิจกรรมขวนขวาย เพื่อตอบสนองความต้องการ เหล่านี้ ถ้าต้องการในขั้นแรกนี้ไม่ได้รับการบำบัด ความต้องการขั้นต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น
        2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะบุคคลไม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการดำรงชีวิต เช่น การสูญเสียตำแหน่ง การขาดแคลนทรัพย์สิน การถูกขู่เข็ญบังคับจากผู้อื่น มนุษย์จึงเกิดความต้องการความมั่นคงปลอดภัย และหลักประกันชีวิต เช่น มีอาชีพที่มั่นคง มีการอมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ มีการประกันชีวิต ฯลฯ
        3.ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ (Love and belonging Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการเพื่อนไม่ต้องการรู้สึกเหงา และอยู่คนเดียว ดังนั้นจึงต้องการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เป็นสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มที่ทำงาน กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มสันทนาการ เป็นต้น ความรู้สึกผูกพันจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่ม และสมาชิกของกลุ่มย่อมเกิดความรัก ความเอาใจใส่ และยอมรับซึ่งกันและกัน
        4. ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ทีมีความมั่นใจในตนเอง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีประโยชน์ หากความรู้สึกหรือความต้องการดังกล่าวถูกทำลายและไม่ได้รับการนตอบสนองก็จะรู้สึกมีปมด้อย สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย ต้องการสิ่งชดเชย ถ้าเกิดความรู้สึกรุนแรงจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความท้อถอยในชีวิต เป็นโรคประสาท โรคจิต และอาจฆ่าตัวตายได้
        5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริง และพัฒนาศักยภาพของตน (Self-Actualization Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริง เพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์ (Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม ความสามารถและมีความจริงใจต่อตนเอง ปรารถนาที่จะเป็นคนที่ดีที่สุดของตนเอง มีสติในการปรับตัว เปิดโอกาสให้ตนเองเผชิญกับความจริงของชีวิต และเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าตื่นเต้น กระบวนการที่จะพัฒนาตนเองเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองเป็นกระบวนการที่ไม่มีจุดจบ ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะพัฒนาตนเองเต็มที่ตามศักยภาพ
        มาส์โลว์ กล่าวถึง ลำดับของความต้องการต่างๆ ของมนุษย์ว่า ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตามความสำคัญและสามารถยืดหยุ่นได้ เมื่อความต้องการเบื้องต้นได้รับบำบัดแล้วมนุษย์จะให้ความสนใจกับความต้องการขั้นสูงขึ้นเป็นลำดับ ความต้องการเหล่านี้เกิดเหตุผลที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ต้องการเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
 
มาส์โลว์ ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ไว้ดังนี้
        1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ และไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
        2. ความต้องการที่ไดรับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้นๆอีกต่อไป ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง จึงจะเป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรมของบุคคล
        3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์จะให้ความสนใจกับความต้องการระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

ทฤษฏีการลดแรงขับ (Drive Redu8ction Theory)

        นักจิตวิทยาคนสำคัญในทฤษฎีนี้ ได้แก่ ดอลลาร์ด มิลเลอร์ และฮัลล์ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับภาวะสมดุล (Homeostasis) โดยอธิบายว่า ร่างกายของมนุษย์เปรียบได้กับเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องยนต์อยู่ในสภาพดี มีน้ำมันเชื่อเพลิงและมีน้ำมันหล่อลื่น ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ เช่นเดียวกับร่างกายมนุษย์ จะทำงานได้ตามปกติก็ต้องได้รับอาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และต้องไม่มีอุบัติเหตุ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับร่างกายด้วยหรือร่างกายยู่ในภาวะสมดุล เมื่อใดที่บุคคลขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการจำเป็นของร่างกาย หรืออยู่ในภาวะเสียสมดุล ก็จะมีแรงขับ ซึ่งเป็นลักษณะขงความเครียดเกิดขึ้นและจำเป็นจะต้องลดแรงขับเพื่อขจัดความเครียดให้หมดไป แรงขับจึงมีพลังจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อแสวงหาสิ่งที่นำมาสนองวามต้องการเอสร้างสมดุลให้กับร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับการตอบสนองความต้องการแล้ว แรงขับจะลดลง และความเครียดก็หมดไป

ทฤษฎีการตื่นตัว(Arousal Theory)

        ทฤษฎีนี้อธิบายว่า การตื่นตัวของคนเราจะเกิดขึ้นตลอดเวลา จากระดับที่ต่ำสุดหรือเฉื่อยชา ระดับปานกลาง ไปถึงระดับสูงที่สุดหรือตื่นตัว โดยมีสมองส่วนที่เรียกว่า Reticular Activation System หรือ RAS ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวขึ้นมา ทั้งยังอธิบายอีกว่า ดารต่านตัวในระดับปานกลางจะมีความเหมาะสมสำหรับการจูงใจการเรียนรู้มากที่สุด จึงจะเป็นอย่างยิ่งที่ครูสอนจะต้องทราบวิธีการและเทคนิคต่างๆเพื่อน้ำมาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวที่เหมาะสม อันจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด เทคนิคที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเรียน เช่น การใช้สี การใช้เสียง การใช้สิ่งเร้าที่เคลื่อนไหวได้ การเปลี่ยนแหลงสิ่งเร้า และการใช้ภาพ เป็นต้น

ทฤษฎีเครื่องล่อ(Incentive Theory)

        นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม มีความเห็นว่า การกระทำทุกอย่างของบุคคลไม่ได้เป็นไปตามในทฤษฎีแรงขับเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะพบว่า พฤติกรรมบางอย่างของบุคคลไม่ได้เกิดจากความพยายามที่จะลดแรงขับเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งเร้าจากภายนอกร่างกายอีกมากมายที่เรียกว่า เครื่องล่อหรือสิ่งล่อใจ หรือ Incentive ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้บุคคลเกิดแรงจูงใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีพอๆกับแรงขับ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจูงใจเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมกับองค์ประกอบทางร่างกายของบุคคล
        นอกจากนั้นยังพบอีกว่า การที่บุคคลพยายามลดความเครียดโดยแสวงหาความสมดุลนั้น หาได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไปไม่ทั้งนี้เพราบางครั้งบุคคลยังพยายามเพิ่มความเครียดให้กับตนเองด้วยวิธีต่างๆ เช่น เข้าร่วมแข่งรถ ดูภาพยนตร์ประเภทฆาตกรรม การเล่นสกีจากภูเขาสูงๆ หรือการเล่นกับของเล่น ประเภทตื่นเต้นหวาดเสียวในสวนสนุก เป็นต้น กิจกรรมที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นและมีความเครียดสูงทั้งสิ้น แสดงว่าความตื่นเต้นสามารถใช้เป็นเครื่องล่อให้บุคคลกระทำกิจกรรมได้ แม้ว่าจะเป็น การเพิ่มวามเครียดขึ้นมาก็ตาม อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มว่าทั้งมนุษย์และสัตว์จะเข้าใกล้ หรือแสวงหาเครื่องล่อที่ทำให้ตนเองมีความสุขมีความพึงพอใจ พยายามหลีกหนี หรือหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้ตนเองได้รับความเจ็บปวด ความทุกข์หรือความไม่พึงพอใจ

ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy Theory)

        เอ็ดวาร์ค และ แอทคินสัน ได้พัฒนาทฤษฎีความคาดหวังขึ้นมาจากความเชื่อที่ว่า การที่บุคคลมีแรงจูงใจในการทำงานใดๆ ให้สำเร็จ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังต่อสิ่งล่อใจหรือรางวัลมี่จะได้รับเป็นผลตอบแทนเป็นสำคัญ นั่นคือ บุคคลจะมีแรงจูงใจในการเรียนหรือการทำงานเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นการรับรู้หรือแระเมินค่าตนเองว่า จะมีความเป็นไปได้หรือมีโอกาสประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำนั้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และประการที่สอง คือ ความมีคุณค่าของสิ่งล่อใจที่บุคคลจะได้รับเป็นผลตอบแทนจากการทำงานนั้น แรงจูงใจสูงสุดในการทำงานจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่า มีความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการเรียนหรือการทำงานในระดับกลาง หรือเป็นงานที่ไม่ยากหรือไม่ง่ายจนเกินไป สำหรับงานที่ยากเกินไปนั้น แม้ว่าบุคคลได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถอย่าวงเต็มที่แล้ว ก็ยังมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะประสบความสำเร็จ หรืองานที่ง่ายจนเกินไป บุคคลใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้สำเร็จ หรือมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จสูง ฉะนั้นงานที่ยากหรือง่ายจนเกินไป จึงทำให้บุคคลมีแรงจูงใจเกิดขึ้นในระดับต่ำ

ความสำคัญของการจูงใจในการเรียนการสอน

        ความสำคัญของการจูงใจในการเรียนการสอน มีดังนี้
            1. การจูงใจสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ความตั้งใจ และมีมานะพยายามในการเรียนการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการทำงานต่างๆ
            2. การจูงใจช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน และการทำงานตามความสามารถและความถนัดที่มีอยู่อย่างเต็มที่
            3. การจูงใจจะช่วยกระตุ้น และชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนประพฤติตนในทางที่ดีงามและเหมาะสม เช่น ประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ วินัย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงามของสังคม เป็นต้น
            4. การจูงใจจะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบระดับความสามารถของตนสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การสอบแข่งขันความรู้วิชาการ หรือการประกวดงานฝีมือ ทั้งยังมีโอกาสได้ทราบถึงความถนัดและความสามารถของตน อันนำไปสู่การพิจารณาในการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคตด้วย
            5. การจูงใจจะช่วยปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียน การทำงาน หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
            6. การจูงใจจะช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความก้าวหน้าของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนช่วยบุคคลให้พยายามรักษาและเพิ่มพูนความสามารถขึ้นไปเรื่อยๆ และช่วยให้ทราบถึงข้อบกพร่องต่างๆของตนเอง และป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นซ้ำอีก ตลอดจนการแก้ไข้ความผิดพลาดให้หมดไปด้วย

การสร้างทั้งแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน โดยวิธีการต่อไปนี้ คือ

        1. การทำให้ตื่นตัว(Arousal) เป็นวิธีที่กระตุ้นสมองแลกะกล้ามเนื้อให้ตื่นตัวอยู่เสมอ การตื่นตัวของบุคคลมี 3 ระดับ คือ ตื่นตัวมาก ตื่นตัวปานกลาง และตื่นตัวน้อย ถ้าตื่นตัวมากเกินไปก็จะตื่นเต้น ถ้าตื่นตัวน้อยเกินไปก็จะเฉื่อยชา แต่ถ้าตื่นตัวระดับปานกลางจะดีที่สุด วิธีสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน โดยทำให้ผู้เรียนตื่นตัว เช่น กำหนดว่าการเรียนในชั่วโมงนี้สำคัญมาก จะมีการทดสอบในปลายชั่วโมง หรือในชั่วโมงนี้จะมีการถ่ายวีดีทัศน์ก็จะทำให้นักเรียนตื่นตัวได้โดยง่าย เป็นต้น
        2. การตั้งจุดมุ่งหมาย (Objective) เป็นวิธีการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละครั้งว่าจ้องการเกิดอะไรขึ้นในตัวของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้และเข้าใจ จะติดตามและประเมินผลการเรียนว่าบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้ แต่ในกรณีที่ไม่อาจบรรลุจุดมุ่งหมายไว้ได้ก็พยายามหาวิธีการเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายให้ได้
        3. การใช้เครื่องล่อ (Incentives) เป็นวิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้มากขึ้นแลละบ่อยครั้งขึ้น เช่น นักศึกษาพิจารณาเห็นว่า ปริญญาบัตรเป็นเครื่องล่ออย่างหนึ่งที่นักศึกษาอยากจะได้ การที่นักศึกษา อยากได้ปริญญาบัตรดังกล่าว ทำให้นักศึกษาต้องขยันเรียนยิ่งขึ้น เครื่องล่ออาจเป็นวัตถุ สิ่งของสื่อการสอนและสื่อการเรียนอื่นๆ เงินตรา เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ฐานะตำแหน่ง สิทธิพิเศษ และคำชมเชย เป็นต้น ครูอาจใช้เครื่องล่อกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ และมีความมานะพยายามในการเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น
        4. การลงโทษ (Punishment) เป็นวิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนและมีความมานะพยายามในการเรียน โดยใช้วิธีการลงโทษ เช่น การดู การว่ากล่าวตักเตือน การตำหนิ การเฆี่ยนตี การตัดคะแนน และการตัดสิทธิบางประเภท
        5. การแข่งขัน (Competition) เป็นวิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนมีมานะอดทนและพยายามปรับปรุงตนเองหรือพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การแข่งขันกระทำได้หลายวิธี เช่น ให้นักเรียนแข่งขันกับผลการเรียนของตนเองในแต่ละภาคเรียน เพื่อดูว่าตนเองจะมีผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่ หรือให้แข่งกับเพื่อนๆ หรือหมู่คณะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียน การปฏิบัติงานเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล

จากการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการแข่งขัน ปรากฏผลดังนี้

        1.การแข่งขันเป็นกลุ่มจะได้ผลดีกว่าการแข่งขันเป็นรายบุคคล เพราะเป็นการสร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม ก่อให้เกิดการรวมพลังในทางสร้างสรรค์ดีกว่าการแข่งขันเป็นรายบุคคล ซึ่งเด็กที่เก่งมักจะโอ้อวดและทะนงตนมากขึ้น และเด็กที่เรียนไม่เก่งออาจจะเกิดปมด้อยขึ้นได้
        2. เด็กชั้นอนุบาลยังไม่มีความสนใจในการแข่งขัน แต่เด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจะสนใจในเรื่องการแข่งขันมากขึ้นตามลำดับ
        3. นักศึกษาระดับชั้นอุดมศึกษาสนในที่จะทำงานเพื่อตนเองมากกว่าการทำงานเป็นกลุ่ม
แมคแคลแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มศึกษาเรื่องแรงงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้ความเห็นว่า การช่วยให้นักเรียนมองเห็นเป้าหมายของการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม จะช่วยให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจและพยายามทำงานนั้นให้สำเร็จส่วนคูนิน ให้ความเห็นว่า วิธีการสอนที่จะกระตุ้นแรงจูงใจของเด็กได้ จะต้องเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ โดยอนุญาตให้นักเรียนได้ควบคุมออกแบบ และร่วมกิจกรรมการเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำได้โดย ประการแรก ครูต้องจัดบรรยากาศที่ท้าทายโดยใช้สื่อหลายๆอย่าง กระตุ้นความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน ประการที่สอง ครูต้องแน่ใจว่า กิจกรรมเหล่านั้นเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องเข้าร่วมจึงจะดำเนินไปได้ ประการที่สาม ครูต้องแจ้งให้นักเรียนทราบว่ากิจกรรมทั้งหมดจะดำเนินไปได้ต้องขึ้นอยู่กับตัวนักเรียน และสร้างความรู้สึกให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นว่า นักเรียนแต่ละคนมีโอกาสจะทำกิจกรรมได้สำเร็จ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การทำสัญญา การให้ทำงานหรือเรียนเป็นกลุ่ม การใช้เกมและสถานการณ์จำลอง การกระตุ้นโดยใช้เกรดและการทดสอบ การใช้บทเรียนสำเร็จรูป การชมเชยและการให้กำลัง การเพิ่มระดับความคาดหวังของนักเรียน และการลดความกังวลในการเรียน

ครูผู้สอนควรปฏิบัติเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน ดังนี้

        1. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความอยากรู้อยากเห็นเกิดขึ้น โดยใช้ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ตั้งคำถาม “ทำไม” ให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบให้มากที่สุด
        2. สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับผู้เรียนในความสามารถที่เขามี เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ทั้งหมด ไปใช้ในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำได้โดยวิธีต่อไปนี้
            2.1 ให้ผู้เรียนได้เรียนหรือได้ทำงานที่เหมาะสมกับระดับความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนได้พบความสำเร็จในขั้นต้นเสียก่อน เพื่อช่วยให้เขามีความเชื่อมั่นในตนเองเกิดขึ้น ต่อจากนั้นค่อยๆเพิ่มระดับความยากหรือความสลับซับซ้อนของงาน หรือสิ่งที่เรียนขึ้นไปเรื่อยๆ
            2.2 แบ่งจุดประสงค์การเรียนรู้ออกเป็นช่วงสั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนประสบกับความสำเร็จในการเรียนในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก และทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนของตนเอง นอกจากนั้นผู้สอนต้องสร้างความชัดเจนในจุดประสงค์ของการเรียนให้กับผู้เรียนด้วย
        3. สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน และให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียน ทั้งที่เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ในอนาคต ไม่ใช่การเรียนเพื่อให้ได้เกรด สอบผ่าน หรือเพื่อสำเร็จการศึกษาเท่านั้น อาจทำได้โดย
            3.1 ทำให้การเรียนสนุกสนาน บางบทเรียนอาจจัดการเรียนการสอนในรูปของเกม ซึ่งผู้เรียนจะได้ความรู้และความสนุกสนานควบคู่กันไปด้วย
            3.2 สอนให้คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง และอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนในปัจจุบันกับชีวิตจริงในสังคม
            3.3 ใช้เครื่องล่อหรือสิ่งล่อใจที่เหมาะสม คุ้มค่าเวลาและความพยายามของผู้เรียนโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การให้รางวัล การลงโทษ การแข่งขัน และการทดสอบ
        4. ให้ผู้เรียนตระหนักว่าการเรียนหรือการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม อาจประสบกับปัญหา อุปสรรคหรืออาจล้มเหลวบ้างเป็นเรื่องงธรรมดา ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์ก็จะเป็นบทเรียนที่ดี และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิมก็ได้ สำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนในรายวิชาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะประสบกับความล้มเหลวไปในทุกรายวิชาหรือทุกๆเรื่อง บางรายวิชาอาจประสบความสำเร็จในระดับสูงได้ นอกจากนั้นความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรา ยังสามารถทีจะปรับปรุงและพัฒนากันได้
        5. สนองความต้องการเบื้องต้นของผู้เรียน อาจทำได้โดย
            5.1 สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีความอบอุ่น ไม่ทำให้ผู้เรียนแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน ครูผู้สอนให้ความสนใจและให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในห้องเรียนอย่างทั่วถึง ไม่ว่าผู้เรียนจะมีความสามารถสูงหรือความสามารถต่ำ
            5.2 มอบหมายให้ผู้เรียนทำงานที่ท้าทายความสามารถ โดยงานนั้นจะต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
        6. ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวแบบที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้ตัวแบบที่มีความสามารถระดับใกล้เคียงกับผู้เรียน ตัวแบบดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นว่า ถ้าเขามีความหมายก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ด้วย

การนำความรู้เรื่องแรงจูงใจไปใช้ในการเรียนการสอน ไว้ดังนี้

        1. เกี่ยวกับความต้องการ จากคำอธิบายของมาสโลว์ที่ว่าความต้องการมีเป็นลำดับขั้น เป็นแนวคิดสำหรับครูว่า ก่อนที่ครูจะสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากรู้อยากเห็น ครูต้องสำรวจก่อนว่าความต้องการขั้นต้นๆ ของเด็กได้รับการตอบสนองหรือยัง เพราะถ้าเด็กขาดการยอมรับหรือขาดความรัก จนบงทีไม่เหลือพลังงานไว้สำหรับที่จะรับรู้หรือทำความเข้าใจสิ่งที่ครูสอน
        2. เกี่ยวกับเรื่องของการตื่นตัว ทฤษฎี การตื่นตัวกล่าวว่า การตื่นตัวในระดับที่พอดีมีผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่ดีกว่าระดับอื่น ดังนั้นในการเรียนการสอน ครูต้องพยายามไม่ให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายหรือตื่นเต้นมากเกินไป ซึ่งนักจิตวิทยาได้เสนอแนะว่า วิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวในระดับพอดี น่าจะได้แก่ การสอนโดยให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีสนองธรรมชาติในการอยากรู้อยากเห็นของคนเรา ถ้าเขาได้ค้นคว้า ได้พิสูจน์ ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง เขาจะเกิดการตื่นตัวที่จะเรียนรู้และรับรู้ได้ดี ผลงานการวิจัยที่สนับสนุนแนวคิดนี้ เช่น เคอร์ช ได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบวิธีสอน 2 วิธี ระหว่างวิธีที่ครูบอกเนื้อหาทุกอย่าง กับวิธีที่ครูเพียงแต่ให้คำแนะนำหรือให้คำถามนำทางให้เด็กหาคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้ค้นหาคำตอบเองมีผลการเรียนดีกว่า เป็นต้น นอกจากนั้นครูควรจัดสถานการณ์ในการเรียนให้เหมาะสม เช่น มีอุปกรณ์การสอนที่น่าสนใจ มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับบทเรียนและสนุกสนาน ก็ถือเป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวในการเรียนได้
        3. เกี่ยวกับการคาดหวัง ในการเรียนการสอน ก่อนสอนครูควรบอกนักเรียนว่า เขาควรได้อะไรบ้างจากบทเรียนที่จะเรียนนั้น เป็นการทำให้เด็กตั้งความคาดหวัง นอกจากนั้นครูต้องช่วยให้ผู้เรียนได้ตั้งระดับความมุ่งหวัง ที่พอดีกับตนเอง การตั้งระดับความมุ่งหวัง หมายถึง การที่บุคคลตั้งเป้าหมายสำหรับตนเองเอาไว้ว่า จะทำอะไรให้ถึงระดับไหน จะเป็นอะไรให้ถึงระดับไหน จะเป็นอะไรในเวลาต่อไป เป็นต้น การตั้งเป้าหมายเอาไว้เช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งท้าทาย ซึ่งรับเป็นแรงจูงใจให้บุคคลเกิดความมานะพยายาม หาหนทางบรรลุเป้าหมายให้ได้ แต่การตั้งระดับความมุ่งหวังนี้ บางทีอาจเป็นผลร้าย ถ้าตั้งสูงเกินไปไม่สามารถไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ทำให้เกิดความท้อแท้คับข้องใจ หรือเป้าหมายต่ำเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ดังนั้นในการเรียนการสอน ครูต้องพยายามให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ตั้งระดับความหวังที่เหมาะสม สมควรแก่เอกัตภาพ ไม่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป ก็นับว่าเป็นแรงจูงใจที่ดีในการเรียนได้อีกประการหนึ่ง
        4. เกี่ยวกับการใช้เครื่องล่อหรือสิ่งล่อใจ การชมเชย การตำหนิ หรือการให้รางวัลในรูปแบบต่างๆ นับเป็นเครื่องล่อรูปแบบหนึ่ง นอกจากนั้นเครื่องล่ออาจมีในรูปแบบอื่นอีก เช่น อุปกรณ์การสอน คำพูดของครู กิริยาอาการของครู อาจจัดเป็นสิ่งเร้าหรือเป็นเครื่องล่อ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็น ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจในการเรียน ในการใช้เครื่องล่อของครู ครูต้องระวังว่าเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องการด้วย ถ้าเด็กไม่ต้องการแล้ว ครูเอาไปใช้ย่อมไม่ได้ผลในการจูงใจ เช่น ครูบอกนักเรียนว่า ใครทำงานเสร็จก่อนจะปล่อยให้ไปรับประทานอาหารก่อน เข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอจะติดดาวให้ ก็ใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน เป็นต้น
        5. เกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน การสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนส่วนใหญ่มักใช้แรงจูงใจภายนอก ละแรงจูงใจภายนอกมักก่อให้เกิดแรงจูงใจภายในอีกที่หนึ่ง เช่น วิธีสอนที่ดีของครูทำให้นักเรียนได้รับความสำเร็จในการเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เกิดความอยากรู้ยากเห็นเพิ่มขึ้น ถ้าครูสอนให้เด็กนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้ เด็กย่อมเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนมากขึ้น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามครูต้องไม่มุ่งสร้างแรงจูงใจภายนอกอย่างเดียว ต้องพยายามสอดแทรกแรงจูงใจภายในให้เกิดกับเด็กด้วย เช่น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียน ให้มองเห็นคุณค่าของการทำดีให้มีทัศนะคติต่อสิ่งต่างๆ ในทางที่ถูกต้อง เป็นต้น แรงจูงใจภายในนี้ถือว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมที่ถาวรมากกว่าแรงจูงใจภายนอก เช่น นักเรียนที่ขยันเรียนเพราะมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใด ระยะเวลาผ่านไปเท่าใด นักเรียนก็มีแนวโน้มที่จะขยันเรียนอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้านักเรียนขยันเพราะได้รับรางวัล เพราะกลัวครูลงโทษ ต่อไปถ้าไม่ได้รับรางวัลหรือไม่ถูกลงโทษ ก็มักจะเลิกขยันตามไปด้วย
        นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจภายนอกที่ใช้กันโดยทั่วไป มีวิธีต่อไปนี้ คือ
            5.1 การแข่งขันและการร่วมมือ (Completion and Co-operation) วิธีนี้ใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมานะพยายามปรับปรุงตนเองขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นแบบให้แข่งกับสถิติของตนเอง แข่งกับเพื่อนหรืออาจร่วมกันเป็นทีม ให้คะแนนเฉลี่ยของทีมสูงขึ้น หรือให้คะแนนเฉลี่ยทีมของตนสูงกว่าทีมอื่น ที่ได้ผลดีที่สุดน่าจะได้แก่การแข่งขันกับสถิติของตนเอง
            5.2 การให้รางวัลและการลงโทษ (Reward and Punishment) การให้รางวัลอาจเป็นสิ่งของ คำชม เกียรติยศ เงิน อาหาร ฯลฯ ส่วนการลงโทษอาจเป็นการตัดคะแนน การเฆี่ยนตี การดุว่า หรือการตำหนิ ฯลฯ วิธีนี้นักจิตวิทยามีความเห็นว่าก่อนใช้ต้องคิดให้ดี การให้รางวัลอาจเพราะนิสัยเด็กให้เคยตัว ทำอะไรโดยหวังสิ่งตอบแทน ต่อไปถ้าไม่มีสิ่งตอบแทนที่ตนพอใจอาจไม่ทำ ส่วนการลงโทษถ้าไม่มีเหตุผลหรือมากเกินไป เด็กอาจเป็นคนไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ เพรากลัวจะผิดพลาดได้รับโทษ
            5.3 การชมเชยและการตำหนิ(Praise and Blame) วิธีนี้ถือเป็นการให้รางวัลและการลงโทษแบบหนึ่ง นักจิตวิทยามีความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วการให้คำชมเชยเป็นผลดีต่อผู้เรียนมากกว่าการให้รางวัลสิ่งของ และการชมเชยให้ผลดีมากกว่าการตำหนิ ส่วนระหว่างการชมเชย การตำหนิ กับการไม่ชมเชย ไม่ตำหนิ ผลการศึกษาพบว่าการชมเชยและตำหนิให้ผลดีต่อผู้เรียนมากกว่าไม่ชมเชย ไม่ตำหนิ นอกจากนั้นยังพบว่า การตำหนิให้ผลดีต่อผู้เรียนที่มีระดับสติปัญญาค่อนข้างสูง ส่วนเด็กที่มีระดับสติปัญญาค่อนข้างต่ำหรือเด็กเล็ก การชมเชยให้ผลดีมากกว่า
ที่มา : https://nuttapong.wikispaces.com/หน่วยที่+3+การจูงใจ