Take a fresh look at your lifestyle.

CPO Model รูปแบบหนึ่งของการประเมินโรงเรียน

CPO Model

CPO Model ประกอบด้วยการประเมินส่วนสำคัญ 3 ส่วนใหญ่ๆ  ที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องตามลำดับ  คือ

1.การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม (Context)  

ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม  หมายถึง  บริบท ต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด เช่น ปัจจัยทางการเมือง   ทางสังคม  ทางวัฒนธรรม  รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพ  และทางจิตใจ  เป็นต้น  การประเมินในส่วนนี้ เป็นการประเมินสภาวะแวดล้อม หรือ บริบท ต่าง ๆ ของโครงการนั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่  โดยพิจารณาถึง

1.1)  ความต้องการของโครงการ(Need  Assessment)  เพื่อให้ทราบถึง ความจำเป็น หรือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียต่อโครงการ

1.2)  ความเป็นไปได้ของโครงการ(Feasibility)  เพื่อให้ทราบถึงโอกาสในการจัดทำโครงการ

1.3)  การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อระบุถึงสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจากโครงการ

1.4)  ความพร้อมและทรัพยากรในด้านต่าง ๆ เช่น  เงินทุน หรืองบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร เป็นต้น

2.การประเมินกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process)   

การพิจารณากระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ พิจารณาในความหมายของกระบวนการ ที่หมายถึง ขั้นตอนหรือกรรมวิธีที่จะต้องปฏิบัติตามลำดับก่อนหลังอย่างเป็นระบบและครบวงจรในระหว่างดำเนินโครงการ กระบวนการดังกล่าวอาจจะแตกต่างกันไปตามเป้าหมายในเชิงปรัชญาของแต่ละโครงการ  เช่น  โครงการทางธุรกิจ

เป้าหมายหลักก็คือการแสวงหากำไรจากการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยลดต้นทุนการดำเนินงานให้เหลือน้อยที่สุด ส่วนโครงการทางการศึกษาของรัฐ  เป้าหมายหลักก็คือการปลูกฝังความรู้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเด็ก  เยาวชน  และบุคคลทั่วไป โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว  โครงการประเภทนี้จะไม่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดเป็นหลัก เป็นต้นองค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ของการประเมินด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ คือ  ความสอดคล้องของกิจกรรมและช่วงเวลา โดยพิจารณาถึง

2.1) กิจกรรม (Activity)  เพื่อให้ทราบว่า กิจกรรมนั้น ๆ มีความสอดคล้องหรือตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่  และมีการจัดลำดับที่เหมาะสมต่อเนื่องกันมากน้อยเพียงใด

2.2)  ช่วงเวลา (Timing) เพื่อให้ทราบว่า ช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการทางด้านกิจกรรมนั้น ๆ มีความเหมาะสมเพียงไร  มีข้อจำกัดประการใด  และช่วงเวลาที่กำหนดไว้นั้น  สามารถจะปรับเปลี่ยนไปจากเดิมได้ตามความจำเป็นหรือไม่  และเพราะเหตุใด

3)  การประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome)    

ผลผลิตของโครงการ หมายถึง ผลงานหรือผลที่ได้รับจากการกระทำกิจกรรมใด ๆ ของแต่ละโครงการ  โดยสามารถแบ่งผลผลิตออกเป็น 3 ประเภทคือ  ผลรวม (Overall) ผลกระทบ (Impact)  และคุณค่าหรือประโยชน์ (Utility)  การประเมินผลผลิตของโครงการใด ๆ จึงเป็นการประเมินเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยพิจารณาผลดังกล่าว  ดังนี้

3.1) การประเมินผลรวม (Overall)  เพื่อให้ทราบถึงผลที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากกิจกรรมของโครงการ  ทั้งโดยตรงและทางอ้อม

3.2) การประเมินผลกระทบ (Impact)  เพื่อให้ทราบถึงผลที่ตามมาจากการดำเนินโครงการนั้น ๆ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งจากที่คาดหวังไว้และมิได้คาดหวังไว้

3.3)  การประเมินคุณค่าหรือประโยชน์ (Utility)  เพื่อให้ทราบถึงคุณค่าความสำคัญของผลผลิตที่ได้จากการประเมิน  ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป

ขอขอบคุณที่มาจาก GotoKnow

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี