Take a fresh look at your lifestyle.

ปลัด ศธ. หารือ สทศ. เพื่อหาทางออกในการจัดสอบโอเน็ต จะจัดสอบหรือไม่?

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ ปลัด ศธ. ไปหารือกับ สทศ. เรื่องการหาทางออก เกี่ยวกับการจัดสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6  แต่สำหรับการสอบของชั้น ป.6 ยังมีการจัดสอบอยู่

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงเรื่องการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ปีการศึกษา 2563 โดยตนได้มอบหมายให้ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ.นำข้อมูลต่างๆ ไปหารือร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะ สทศ.เองก็ได้มีการส่งหนังสือชี้แจงความจำเป็นของการจัดสอบโอเน็ตมาให้ ศธ.พิจารณาแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากการที่ตนได้ลงพื้นที่สัมผัสกับครู ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ก็ได้รับทราบถึงภาระงานและการทดสอบประจำปีที่มีขึ้นในทุก ๆ ปีอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของการสอบโอเน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น ยังคงสอบอยู่ แต่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ม.3 คงจะต้องมีการหารือ รวมถึงศึกษากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตนยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีการจัดสอบหรือไม่ เรื่องนี้ต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบถึงความจำเป็น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตนขอยืนยันว่าไม่ว่าแนวทางการจัดสอบโอเน็ตจะมีผลการตัดสินออกมาเป็นอย่างไร จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของครู นักเรียน และผลการศึกษาของประเทศไทย

ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอข้อเสนอแนะในฐานะผู้ใช้คะแนนโอเน็ต

โดยสำหรับระดับชั้น ม.6 สพฐ.ลงความเห็นว่า เนื่องจากเป็นข้อผูกพันระหว่างต่างหน่วยงาน คือ สพฐ.และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในปีการศึกษา 2563 คงต้องมีการสอบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนระดับ ป.6 และ ม.3 นั้น จะมีผลกระทบใน 2 เรื่อง คือ

1.เรื่องการนำผลคะแนนโอเน็ตมาบันทึกไว้ในเอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.) ซึ่งเรื่องนี้มีกำหนดไว้ในประกาศ ศธ.เรื่อง สัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตร สพฐ. พ.ศ.2551 และ

2.การกำหนดให้สถานศึกษาสามารถใช้คะแนนโอเน็ตเป็นตัวชี้วัดในการคัดนักเรียนเข้าศึกษาต่อได้ ทั้งนี้หาก ศธ.มีแนวทางที่จะไม่ใช้คะแนนโอเน็ตกับการดำเนินการทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมา สพฐ.ก็เสนอให้ดำเนินการยกเลิกด้วยการออกประกาศ ศธ.ยกเลิกได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีการประกาศให้ทราบล่วงหน้า แต่สำหรับเรื่องการยกเลิกสอบหรือไม่สอบโอเน็ตนั้น เป็นอำนาจของ สทศ.เป็นผู้ดำเนินการ เพราะ สพฐ.เป็นเพียงผู้ใช้ผลคะแนนเท่านั้น อีกทั้งแนวทางการปฏิบัติเรื่องนี้จะเป็นไปในทิศทางใด คงต้องให้ รมว.ศธ. เป็นผู้พิจารณา

 

ขอขอบคุณที่มา : At_HeaR

You might also like

Comments are closed.

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี