-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
สพฐ.น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่ห้องเรียน”ในหลวงรัชกาลที่ 9″ทรงเป็นต้นแบบครูแอคทีฟเลิร์นนิ่ง
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า ทุกวันศุกร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะพูดในรายการ’ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน’ ซึ่งทุกครั้งนายกรัฐมนตรี จะมีประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษา แสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา โดยชี้ให้เห็นว่าศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษา สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ และในทางปฏิบัติศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษามีมากมาย ซึ่งโรงเรียนสามารถเลือกไปปฏิบัติได้ และหลายเรื่องก็เป็นสิ่งที่ควรต้องนำไปปฏิบัติ เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ. ) จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษาในสังกัด นำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษา ไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ สพท.และโรงเรียนไปพิจารณาว่าจะนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษาไปปฏิบัติอย่างไร เช่น เรื่องการพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคดิจิทัล ด้วยการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านหนังสือยาว ๆ ให้มีความรู้ที่ลึกซึ้ง โดย สพฐ.จะมีเป้าหมายว่า ในปีหน้านักเรียนแต่ละช่วงชั้น หรือแต่ละระดับชั้น ต้องอ่านหนังสืออย่างน้อยกี่เล่ม เพระการอ่านหนังสือมากขึ้นจะทำให้เด็กมีความรู้มากขึ้น และยังสามารถฝึกเรื่องการคิดวิเคราะห์จากการอ่านได้อีกด้วย “สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงแต่เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติให้เราได้เห็น คือ เรื่องการลงไปรับฟัง ไปสัมผัสและเห็นด้วยตนเอง จากนั้นก็จะนำไปวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและแก้ไขปัญหา ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นต้นแบบให้ครูสอนแบบแอคทีฟเลิร์นนิ่ง ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแบบ (Active learning-แอคทีฟเลิร์นนิ่ง) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ให้เด็กได้เรียนโดยการลงมือทำ ได้คิด ได้สร้างสรรค์ในกระบวนการคิดของตัวเอง เป็นศาสตร์พระราชาที่เราต้องนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์นอกตำรา โดยอาจเริ่มปรับวิธีการทำกิจกรรมในช่วง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มาเป็นแอคทีฟเลิร์นนิ่งก่อนก็ได้ แต่ปัญหาปัจจุบันของเราคือส่วนใหญ่จะยังติดเรื่องห้องเรียนกันอยู่”ดร.บุญรักษ์ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก สยามรัฐออนไลน์ วันที่ 9 ตุลาคม 2560
[wpdm_package id=’165′]
เรื่องน่ารู้
Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ
1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ความรู้ที่ได้เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เกิดการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า