ประวัติวันเด็กแห่งชาติ ในประเทศไทย

-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา อ่านข่าวให้ฟัง
วันเด็กแห่งชาติ ในประเทศไทย ตรงกับวันที่เสาร์ที่ 2 ในเดือนมกราคมของทุกปี และยังมีการให้คำขวัญเด็ก โดยนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งวันเด็กแห่งชาตินับเป็นวันหยุดราชการ แต่ว่ามิได้มีกำหนดให้หยุดชดเชยในวันทำการวันถัดไป
วันเด็กแห่งชาติถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ในช่วงนั้นกำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมเป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งมาถึงในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติใหม่ให้เป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม และก็เริ่มจัดงานวันเด็กหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงมีผลในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา
ประวัติวันเด็ก
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 “เด็ก” หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
สำหรับงานวันเด็กแห่งชาติ นั้นถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กนั้นตระหนักถึงบทบาทสำคัญของตนในประเทศ มีการปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อเตรียมพร้อมกับการจะขึ้นเป็นกำลังของชาติ
โดยรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาชุดหนึ่ง และมีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมถึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกด้วย
การจัดงานวันเด็กแห่งชาติในแต่ละปีนั้น มีจุดประสงค์ก็เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตนเองที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยที่มีต่อตนเองและต่อสังคม สอนให้มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
วันเด็กได้ถูกกำหนดให้มีการจัดงานแห่งชาติขึ้นในทุกๆ ปี และจัดขึ้นเป็นครั้งแรก วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2506 จนมาถึงปี พ.ศ. 2507 แต่ว่าไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เลื่อนออกไปและจัดให้มีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 จากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนวันเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่หมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการมาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับวันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปีก็จะมีการให้คำขวัญวันเด็กแห่งชาติเป็นประจำทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่ง คำขวัญวันเด็ก มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้ คำขวัญวันเด็ก ประจำปีนั้นว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” ทำให้นับแต่นั้นเป็นต้นมา
จนถึงปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษณ์ ธนะรัชต์ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็กเป็นอย่างมาก จึงได้มอบคำขวัญให้เป็นข้อคิดคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ ก่อนที่จะถึงวันเด็กแห่งชาติ เป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมาถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
และคำขวัญวันเด็กในปี 2563 นี้
คำขวัญวันเด็ก
เนื่องใน วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 คือ
“เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”
โลโก้ วันเด็กแห่งชาติ ปี 2563
กิจกรรมในวันเด็กแห่งชาติ
โดยส่วนใหญ่ตามโรงเรียน สถานที่ราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชนหมู่บ้าน หรือตามศูนย์การค้าต่างๆ จะให้ความสำคัญกับวันเด็ก อาทิเช่น ธนาคารออมสินมอบของที่ระลึกให้กับเด็กๆ ที่มาฝากเงินออมภายในวันนี้เท่านั้น ตามสถานที่ต่างๆ จะจัดกิจกรรมแจกของขวัญ ของเล่น แจกอาหารเครื่องดื่มให้เด็กๆ ได้ทานฟรี หรือมีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้โชว์ความสามารถ ตอบคำถามรับของรางวัลกันกลับบ้าน
และที่ห้ามพลาดไฮไลท์ของทุกปี คือทำเนียบรัฐบาลเปิดบ้านให้เด็กๆ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องทำงานของนายกฯ และสามารถนั่งเก้าอี้นายกฯ ถ่ายรูปได้ด้วย
ย้อนดู คำขวัญวันเด็ก ของปีที่ผ่านๆ มากัน
คำขวัญวันเด็กโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
-พ.ศ.2562 เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ
-พ.ศ.2561 รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี
-พ.ศ.2560 เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง
-พ.ศ.2559 เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต
-พ.ศ.2558 ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต
ที่มาข้อมูลจาก วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย), moe.go.th