Take a fresh look at your lifestyle.

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ มาตรการและข้อสั่งการเกี่ยวกับ COVID–19

(17 มี.ค.63) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ สรุปมาตรการและข้อสั่งการตามมติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล  และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

สาระสำคัญ ดำเนินการตามมาตรการ 15 ข้อ คือ “3 ยัง / 2 เร่ง / 2 เลื่อน-ปิด / 5 ปรับเปลี่ยนการบริหารภาครัฐ / 3 ช่วย”

มาตรการ 3 ยัง แต่ …

1. ขณะนี้อยู่ในระยะ 2 ยังไม่เข้าสู่ระยะ 3 แต่ให้เตรียมพร้อมยกระดับประเทศที่เป็นเขตติดโรคยังคงเป็น 4+2

2. ยังไม่ประกาศเพิ่ม แต่ มีมาตรการขั้นสูงรองรับทุกประเทศ

3. ยังไม่ปิดเมือง ยังไม่ปิดประเทศ (การห้ามเข้า – ออก) แต่ ใช้มาตรการรองรับเข้มงวด คือ
– ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 3 วัน
– ชาว ตปท. มีประกันสุขภาพ
– ยินยอมใช้ application ติดตามของรัฐ
– มาตรการนี้ใช้กับการเข้าเมืองทางบก – น้ำ – อากาศ
– ตม. ดู  passport ด้วยว่าประเทศก่อนประเทศสุดท้ายคืออะไรบ้าง เป็นเขตติดโรคไหมแล้วแจ้ง มท.
– ยอมรับมาตรการกักกันตนเองหรือของรัฐ

มาตรการ 2 เร่ง

4. สธ. อว. กห. ตร. กทม. เร่ง เตรียมรับระยะ 3 โดยให้เพิ่ม
– เตียง โรงพยาบาล (รัฐ – เอกชน – มหาวิทยาลัย – ทหาร – ตำรวจ)
– หมอ พยาบาล บุคลากรการแพทย์ อาสาสมัคร
– ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ
– ชุดป้องกันโรค
– เงินเพิ่มพิเศษแก่บุคลากรการแพทย์ (กค. กพ.)

5. พณ. สธ. กต. ตร. กค. อก. พน. เร่ง
– ผลิตหน้ากากอนามัย เจล แอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น
– นำหน้ากากของกลางที่ยึดได้ส่งศูนย์ฯ เพื่อแจกจ่ายต่อ
– กต. ติดต่อ ตปท. เรื่องชุดป้องกันโรค หน้ากากอนามัย
– ตรวจสอบการขาย on line, การกักตุน  และการระบายของ และสินค้า

มาตรการ 2 เลื่อน-ปิด

6. เลื่อนวันหยุดสงกรานต์จาก จ. 13 อ. 14 พ.15 เม.ย. ออกไปก่อน โดยไม่เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดเอกชนปีนี้ โดยจะคืนวันหยุดให้ภายหลัง

7. มาตรการปิดสถานที่ชั่วคราว
– สถานที่ซึ่งผู้คนมาร่วมเป็นกิจวัตรเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันที่อาจแพร่เชื้อได้ง่ายแม้จะป้องกันแล้ว และยังมีทางเลือกอื่นทดแทนการมาชุมนุม ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่ 18 มี.ค. ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา (รัฐ – เอกชน) โรงเรียน (รัฐ – เอกชน – นานาชาติ) สถานกวดวิชา  ซึ่งจะปิดเทอมอยู่แล้วหรือเรียน on – line ได้
– สถานที่ซึ่งผู้คนไม่ได้มาชุมนุมเป็นกิจวัตร แต่มาเพื่อทำกิจกรรมที่มีการเบียดเสียดใกล้ชิด และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อง่ายทางปาก (ตะโกน เชียร์) สัมผัสถูกเนื้อถูกตัวหรือใช้สิ่งของร่วมกันง่าย  เช่น สนามมวย  สนามกีฬา  โรงมหรสพ  ให้ สธ. แจ้ง ผวจ. ผู้ว่า กทม. ใช้อำนาจสั่งตาม ม. 35 (1) โดยคำนึงถึงขนาดของกิจกรรม (จำนวนคนน้อย – มาก) โอกาสแพร่เชื้อ (ประเภทกิจกรรม) สถานที่ซึ่งมีโอกาสความเสี่ยง (จังหวัด)
– ส่วนสถานที่อื่นนอกเกณฑ์ ก.ข. เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด Fitness  โรงแรม ร้านอาหาร ศาสนสถาน Cluc pub ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม ส่วนการประชุม สัมมนา การสอบ งานสังคม งานบุญ งานบรรพชาอุปสมบทหมู่ กิจกรรมที่มีคนมาร่วมจำนวนมากยากแก่การควบคุมควรเลื่อนหรืองด  ถ้าจะจัดต้องมีมาตรการรองรับ คือ ทำความสะอาดสถานที่ ตรวจไข้ ใช้หน้ากาก เจล เว้นระยะห่างระหว่างคน ใช้เวลาให้น้อยลดขนาดลง มิฉะนั้นอาจถูกประกาศควบคุมเพิ่มเป็นแหล่ง ๆ ก็ได้

มาตรการ 5 ปรับเปลี่ยนการบริหารภาครัฐ

8. ให้ กต. ตั้ง Team Thailand COVID -19 ในทุกประเทศที่มีทูต ดูแลคนไทยใน ตปท. และติดต่อแจ้งข่าว กต.

9. ให้ ก.พ.ร. ใช้เกณฑ์ความสามารถในการรับมือ COVID เป็นตัวชี้วัดการประเมินหน่วยราชการ

10. ให้ทุกกระทรวงพิจารณาปรับเปลี่ยนเวลาทำงาน – พักเที่ยง – เดินทางไปกลับ ให้เหลื่อมเวลากัน และส่งเสริมมาตรการให้คนติดต่อกับราชการทาง online

11. ให้ทุกกระทรวงมอบงานให้ข้าราชการ – จนท. ทำงานบางอย่างที่บ้านตามความเหมาะสม แล้วรายงานผลการดำเนินการ โดยให้ สลค. รวบรวมทำบัญชีเสนอ ครม. ทราบ

12. อย่าให้การเข้มงวดเรื่อง COVID ทำให้มาตรการอื่นของรัฐบกพร่องหรือหย่อนยาน (การตรวจวัดแอลกอฮอล์เมาแล้วขับ การตรวจปัสสาวะของ ตร. การตรวจผู้โดยสารรถ อากาศยานของ คค. ตม. การรับมือภัยแล้ง การจราจร การป้องกันอาชญากรรม การอำนวยความสะดวก)

มาตรการ 3 ช่วย

13. ให้ กค. หามาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนอกจากที่เคยเสนอ  ครม. อนุมัติแล้ว
– ค่าเช่าที่ของราชพัสดุ, ท้องถิ่น, รัฐวิสาหกิจ
– การขยายเวลาหรือผ่อนผันค่าธรรมเนียมตามกฎระเบียบต่าง ๆ
– ตลาดหุ้น
– อื่น ๆ (ช่วยผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ)

14. ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องช่วยเจรจาขอเลื่อนหรือลดผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เช่น การคืนเปลี่ยนตั๋วช่วงสงกรานต์ (คค.) การขอความร่วมมือจากนายจ้างแจ้งลูกจ้างที่จะลากลับบ้านช่วงสงกรานต์ว่าไม่ควรกลับ โดยเฉพาะการไป ตปท. เพราะอาจกลับเข้ามายาก (รง.) เงินประกันสังคม (รง.) การส่งสินค้าออก (พณ.) การผ่อนผันการชำระหนี้ การบังคับคดี  การขายฝาก  (ยธ.) การประชุมผู้ถือหุ้นโดยขยายเวลาหรือใช้ระบบประชุมทางไกลแทน (กค. กลต. ดส.)

15. การตรวจโรค ถ้าแพทย์สั่งหรือแนะให้ตรวจเพราะมีสิ่งบ่งชี้ – ฟรี ถ้าอยากรู้ ตรวจเอง ไม่มีสิ่งบ่งเชื้อ  (ปัญหาคือจะมีนับล้านคน เสี่ยงการไป รพ. สุขภาพจิตเสีย คนป่วยจริงเสียโอกาส)- จ่ายเอง แต่ถ้าพบว่าผลเป็น positive – รัฐตรวจรักษาฟรี

สรุป ขณะนี้ไทยยังไม่ได้ปิดประเทศ แต่เข้าประเทศจะยากขึ้น/อยู่ในระยะ 2 โดยชะลอระยะ 2 ให้นานที่สุด ใช้มาตรการควบคุม ป้องกัน รักษา และสื่อสาร โดยถือว่า COVID-19  เป็นปัญหาอันดับ 1 ผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นอันดับรองของประเทศและของโลกเพราะ ถ้าสถานการณ์โรคบรรเทาลงแล้วยังฟื้นฟูได้/ประเมินสถานการณ์ COVID และปัญหาเศรษฐกิจรายวัน แต่เตรียมพร้อมรับมือและพร้อมจะปรับเปลี่ยนโดยยก – ลดระดับทุกวัน

 

ที่มา https://moe360.blog/2020/03/17/%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-2/

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี