แนวทางการลดการบ้าน ลดสอบ เพิ่มการเรียนรู้

จากที่มีข่าวมา แล้ว ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

สพฐ. วางแนวทาง ลดการบ้าน ลดสอบ  ใช้การเรียนในรูปแบบออนไลน์ เข้ามาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการเรียนการการสอน

ประมาณวันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

6ส.ค.63-นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) มีนโยบายเรื่องการให้ทุกโรงเรียนปรับลดการสั่งการบ้าน และใช้การเรียนในรูปแบบออนไลน์ เข้ามาเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อน พัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียน เพราะปัจจุบันเด็กสามารถเรียนได้จากสื่อการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ หรือเทคโนโลยีได้ ดังนั้นการบ้านก็อาจจะปรับลดปริมาณลง หรือทำให้มีความสอดคล้องกับสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบหมายให้นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาฯ กพฐ. ร่วมกับสำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา หารือในเรื่องดังกล่าวและออกเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

นายอำนาจ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในส่วนของการวัดผล ประเมินผลด้วยใช้การสอบ ก็จะต้องมีการปรับลด หรือ ใช้การวัดผลผ่านการทำกิจกรรม  การปฏิบัติงานของเด็ก หรือประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายจากครู เช่น การอ่านหนังสือ เขียนเรียงความ เป็นต้น ซึ่งตนได้มอบหมายให้สำนักวิชาการฯ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเรื่องนี้ เพื่อที่จะสื่อสารไปยังโรงเรียนต่างๆ ภายในสิ้นเดือนนี้ เพราะตนมองว่าการที่เด็กจะมีความรู้ครบถ้วนหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ขึ้นที่การสอบ แต่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็ก และปัจจุบัน สพฐ. มุ่งที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดกระบวนการการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะเครื่องมือการเรียนรู้ขณะนี้มีมาก ไม่เหมือนในอดีตที่เน้นเรื่องการท่องจำ ดังนั้นเราต้องทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นกับเด็ก ทำให้สมองได้ฝึกการคิดแบบเป็นระบบ มากกว่า การท่องจำ

ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/73593

Advertisements

 

วันนี้จึงมาเพิ่มเติมข่าวการศึกษา โดย ครูประถม.คอม ค่ะโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

Advertisements

 

 

 

แนวทางการลดการบ้าน ลดสอบ เพิ่มการเรียนรู้

แนวทางการดําเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

ความเป็นมา

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายลดการบ้าน ลดการสอบ เพิ่มการเรียนรู้ โดยปรับลด หรือบูรณาการ การสั่งการบ้าน โดยให้การบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ รวมทั้งกําหนดแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินตาม เนื้อหาและธรรมชาติวิชา เช่น การวัดผลผ่านการทํากิจกรรม การปฏิบัติงานของเด็ก หรือประเมินจากผลงาน เพื่อ ทดแทนการทดสอบ มุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนานักเรียน สอดคล้องกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เพื่อ เพิ่มการเรียนรู้ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดทําแนวทางการลดการบ้าน ลดการสอบ และ เพิ่มการเรียนรู้ รายละเอียดดังต่อไปนี้

นิยามศัพท์

การบ้าน คือ ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเวลาเรียนปกติ เพื่อฝึกฝน ทักษะให้เกิดความชํานาญ หรือความคล่องแคล่ว ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและ ประสบการณ์ รวมทั้งเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนบทเรียนต่อไป เช่น แบบฝึกหัด การทํางานบ้าน การอ่าน หนังสือ การทํารายงาน โครงงาน เป็นต้น

การลดการบ้าน หมายถึง การลดปริมาณภาระงานของนักเรียน โดยมอบหมายภาระงานตาม ความจําเป็น และความเหมาะสมทั้งในด้านการพัฒนาทักษะที่จําเป็น วัย และธรรมชาติของนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนมีเวลาในการเรียนรู้และค้นหาจุดมุ่งหมายของตนเองเพิ่มขึ้น

การสอบ คือ การใช้เครื่องมือหรือวิธีการอันมีระบบในการตรวจสอบคุณลักษณะ หรือพฤติกรรม ของนักเรียน ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร หรือจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ว่าได้ก้าวหน้าหรือ พัฒนาไปเพียงใด ซึ่งเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน เช่น การทําแบบทดสอบ การซักถาม การสัมภาษณ์ การตรวจการบ้าน การสังเกตพฤติกรรม การประเมินตามสภาพจริง การใช้ แฟ้มสะสมงาน การตรวจร่องรอยหลักฐาน และการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกสถานศึกษา เป็นต้น

การลดการสอบ หมายถึง การลดการประเมินด้วยแบบทดสอบ เปลี่ยนเป็นการประเมินระหว่างเรียน ด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเหมาะสม

การเพิ่มการเรียนรู้ หมายถึง การกําหนดแนวทางร่วมกันของครู ในการลดสิ่งที่ไม่เอื้อต่อ การเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้ เน้นให้นักเรียนปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง หรือบทบาทสมมติ ที่นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการที่ครูร่วมกันวางแผน เป็นอย่างดี เน้นการบูรณาการเนื้อหาหรือรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้ เป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย จนกลายเป็นสมรรถนะในตัวนักเรียน

หลักการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

หลักการลดการบ้าน

ด. ลดการบ้าน/ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทํานอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยเน้น ให้นักเรียน

แนวทางการลดการบ้าน ลดสอบ เพิ่มการเรียนรู้

 

หลักการลดการสอบ

  1. ลดการใช้ข้อสอบในการประเมินคุณภาพผู้เรียนระหว่างเรียน โดยปรับเปลี่ยนวิธีการ ให้เหมาะสมตามธรรมชาติวิชา

๒. ปรับเปลี่ยนเป็นการประเมินในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย เช่น สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ ในห้องเรียน การตอบคําถาม การสัมภาษณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ การตรวจสอบร่องรอยหลักฐานหรือ กิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น

หลักการเพิ่มการเรียนรู้ ด. ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง หรือบทบาทสมมติ ๒. ส่งเสริมกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้

๓. ลดบทบาทการสอนของครูในห้องเรียน โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีการถกแถลง และอภิปรายกันมากขึ้น

แนวปฏิบัติการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

๓. มอบหมายการบ้านให้เหมาะสมเท่าที่จําเป็นตามจุดเน้นการเรียนรู้ เพื่อให้การบ้าน มีความสําคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกําหนดแนวทางการตรวจสอบผลการเรียนรู้จาก พฤติกรรมหรือความสามารถที่นักเรียนแสดงออกว่ามีและหรือใช้ความรู้/ทักษะในการร่วมกิจกรรม ทํางานหรือ ลงมือปฏิบัติงาน เพื่อทดแทนการสอบด้วยแบบทดสอบอย่างเหมาะสม และตามความจําเป็น

๒. ตรวจสอบปริมาณการบ้านของนักเรียนรายห้องเรียน เพื่อให้การมอบหมายการบ้าน มีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ทําการบ้านของนักเรียนแต่ละวัย

๓. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น

๔. วางแผนกําหนดช่วงเวลาให้การบ้านและการสอบ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อ หลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทําการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณา ความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย

๕. ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลา ที่นักเรียนเรียนรู้ที่โรงเรียนและบ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จําเป็นต้องใช้การทํา ความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนในห้องเรียน จากนั้นมอบหมายให้เด็กปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้าน การบ้านที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถ เรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจําเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

  1. ลดจํานวนครั้งของการสอบระหว่างเรียน ประเมินเท่าที่จําเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อ ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หากจําเป็นต้องมีการใช้ข้อสอบในการทดสอบคุณภาพผู้เรียน ให้เน้น ข้อสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูงที่ประกอบด้วยสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ กระบวนการ/ทักษะ มีข้อคําถามที่ยั่วยุให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน เขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น

๗. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสําหรับนักเรียนศึกษาค้นคว้า โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้

๔. ส่งเสริมให้นักเรียนคัดสรรผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการและสมรรถนะของนักเรียน ใส่ลงใน แฟ้มสะสมผลงาน ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ โดยอาจดําเนินการในรูปแบบ สื่อดิจิทัล เช่น วีดิทัศน์ ภาพถ่าย เป็นต้น

๔. ให้ผู้บริหารสถานศึกษากํากับ ติดตามการให้การบ้านของครูอย่างสม่ําเสมอ และต่อเนื่อง

๑๐. ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากํากับ ติดตามการดําเนินงานของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

แนวทางการลดการบ้าน ลดสอบ เพิ่มการเรียนรู้

 

ป.๑-๓ เน้น การอ่าน การเรียน การคิดคํานวณ

การมอบหมายภาระงาน

ในรายวิชาปกติ

การบ้าน เชิงบูรณาการ

ภาระงานทําบในห้องเรียน

ลดการบ้าน เรียนครบ จบในชั้นเรียน

มอบหมายภาระงาน เท่าที่จําเป็นตามจุดเน้น การเรียนรู้ หรือ

บูรณาการ

บูรณาการเนื้อหาสาระ ภายในรายวิชาเดียวกัน

๒ ลด ๑ เพิ่ม

การนอนมายภาระงาน

แบบบูรณาการ

บูรณาการข้ามรายวิชา

ลดการสอบ

ลดจํานวนครั้งของ การสอบ เน้นการประเมิน เพื่อปรับปรุง และพัฒนา

คุณภาพผู้เรียน

ลดการทดสอบ

ระหว่างเรียน เปลี่ยนเป็นการประเมิน

ที่หลากหลาย

ร่วมกันวางแผน ทําหนดช่วงเวลา ปริมาณการบ้าน

และการสอบ ออกแบบการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงกัน

จัดเตรียม แหล่งเรียนรู้สําหรับ ค้นคว้าที่หลากหลาย

ร่วมกับ การนําเทคโนโลยี สารสนเทศมา ประยุกต์ใช้

ประเงินด้วยวิธีการ ที่เหมาะสม เช่น รักถาม สังเกต

ตรวจผลงาน ประเมินภาคปฏิบัติ

การะราน

ควรทํา ในห้องเรียน

แต่ถ้าท้า นอกห้องเรียน นักเรียน สามารn ทําเองได้

คัดสรรเช้าแบั้ม ใช้ในงาน

ตาม จุดมุ่งหมาย (การศึกษาต่อ

หรือ การประกอบ

อาชีพ)

นักเรียนมีส่วนร่วม

ในการกําหนด สิ่งที่เรียนรู้ตามสมควร

(Co-designing)

Problem-based Learning

Project-based Learnine

– – – – – – – i เพิ่มการเรียนรู้

ปรับกระบวนการเรียน | | การสอนที่เน้นให้นักเรียน |

ปฏิบัติงผ่านสถานการณ์จริง LI หรือบทบาทสมมติ

ส่สริมกระบวนการคิด

การแรงหาความรู้ เพิ่มเวลาให้นักเรียนได้ 1

เรียนรู้ด้วยตนเอง |

Open Approach

ปรับเปลี่ยนเป็น การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning

Inquiry

STEM/STEAM

รูปแบบอื่น ๆ

แผนภาพสรุปแนวทางการดําเนินงานตามนโยบายลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๓

 

ที่มา สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

 

Comments are closed.