Take a fresh look at your lifestyle.

ภาษาอังกฤษ : Sentences

Sentences คือ การนำเอาคำหลายๆคำมารวมกันและสื่อความหมายได้ใจความที่สมบูรณ์

เช่น – Rungsiam is an orphan.

– Wachirawit works in the orphanage.

– Anan gave a present to one of my friend.

– Tipsuda ate a pizza with her friends in the dining room yesterday.

โครงสร้างของประโยค

ประโยค Sentences ประกอบด้วย

1. ภาคประธาน ( subject )

2. ภาคแสดง ( Predicate )

Subject + Predicate ( Verb + object / complement )

ประโยคภาษาอังกฤษโดยพื้นฐานแล้วมี 4 ชนิดคือ

  1. ประโยคความเดียว (simple sentence)
  2. ประโยคความรวม (compound sentence)
  3. ประโยคความซ้อน (complex sentence)
  4. ประโยคความรวมความซ้อน (compound complex  sentence)

 

 

1.  ประโยคความเดียว

คือ  ประโยคที่สื่อความเดียว ไม่มีประโยคอื่นมาเกิดร่วมด้วย มีความสมบรูณ์ในตัวเอง แบ่งย่อยออก  เป็น 4 ประโยคย่อยคือ

1.1  ประโยคบอกเล่า(declarative sentence)     ซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ภาคประธาน (subject) กับภาคแสดง (predicate) เช่น

Subject                                        Predicate

The government                     support OTOP. (รัฐบาลสนับสนุนสินค้าโอท็อป)

The oil price                              is going up now. (ราคาน้ำมันกำลังสูงขึ้น)

The cost of living                     is very high. (ค่าครองชีพสูงมาก)

1.2  ประโยคคำถาม (interrogative sentence)  

1.2.1  Yes/No question   คือ  ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นประโยคด้วยกริยาช่วย  เช่น  is,  am, are, can, do เป็นต้น มีโครงสร้างดังนี้คือ

กริยา + ประธาน + กริยาหลัก (ถ้ามี) + ส่วนขยายอื่นๆ (ถ้ามี)

Are you American?

คุณเป็นคนอเมริกันหรือเปล่า

Can you speak Thai?

คุณพูดไทยได้ไหม

Do you like talking on the phone?

คุณชอบคุยโทรศัพท์ไหม

ที่เรียก Yes / No question ก็เพราะเวลาเราตอบคำถามประเภทนี้ต้องตอบ Yes หรือ No เท่านั้น เช่น

A:       Will you come tomorrow?

พรุ่งนี้คุณจะมาไหม

B:       Yes, I will.

มาครับ

A:       Can I come in?

ผมเข้าไปข้างในได้ไหม

B:       No, you can’t.

ไม่  คุณเข้าไม่ได้

1.2.2  Wh-question  คือ  ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำ 9 คำเหล่านี้คือ what, where, when, why, who, whose, which, how มีโครงสร้างดังนี้  คือ

Wh-words + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาหลัก (ถ้ามี) + ส่วนขยายอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น

What is your name?

คุณชื่ออะไร

Where do you come from?

คุณมาจากไหน

When will you finish your homework?

คุณจะทำการบ้านเสร็จเมื่อไร

Why don’t you go to class?

ทำไมคุณจะไม่เข้าเรียน

Who is that man?

ผู้ชายคนนั้นคือใคร

Whom do you want to talk to?

คุณต้องการคุยกับใคร

Whose pen is this?

นี้ปากกาของใคร

Which do you hate, snakes or spiders?

คุณเกลียดอันไหน ระหว่างงูกับแมงมุม

How do you improve your English?

คุณจะพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณอย่างไร

 

1.3  ประโยคคำสั่ง หรือ ห้าม (imperative sentence)  เช่น

Keep quiet.

เงียบ

Close the door.

ปิดประตู

Do not smoke.

อย่าคุยในห้องสมุด

หมายเหตุ

ประโยคข้อร้อง ใส่คำว่า please ไว้ต้นประโยค ถ้าวางไว้ท้ายประโยคต้องมีคอมม่า (,) อยู่ข้างหน้า  เช่น

Please speak slowly.

กรุณาพูดช้าๆ

Sit down, please.

กรุณานั่งลง

2. ประโยคความรวม

คือ การนำเอาประโยคความเดียวสองประโยคมารวมกันโดยใช้คำสันธาน (conjunction)                              เป็นตัวเชื่อมต่อเช่น

I like barbecued pork with sticky rice.

ผมชอบข้าวเหนียวหมูปิ้ง

Tim likes spaghetti.

ติ๋มชอบสปาเก็ตตี้

รวมประโยค 1 และ 2 เข้าด้วยกัน โดยการใช้ but มาเชื่อม กลาย เป็นประโยคความรวมคือ

I like barbecued pork with sticky rice, but Tim like spaghetti.

ผมชอบข้าวเหนียวหมูปิ้ง แต่ติ๋มชอบสปาเก็ตตี้

I got sick.

ฉันไม่สบาย

I didn’t go to work.

ฉันไม่ไปทำงาน

1+2 = I got sick, so I didn’t go to work.

ฉันไม่สบาย ดังนั้น จึงไม่ไปทำงาน

3. ประโยคความซ้อน

คือ การที่ประโยคย่อย/รอง (dependent clause) ที่ไม่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว                                  มาซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (independent clause)  ประโยครองจะต้องขึ้นต้นประโยคด้วยคำเชื่อมประโยคที่เรียกว่า Subordinate conjunction ได้แก่คำเหล่านี้คือ what, where, while, that, before, until, so that, if เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

ประโยครอง:     If she doesn’t show up at the office.

ถ้าเธอไม่โผล่มาที่ทำงาน

ประโยคหลัก:    I will go to see her at her house.

ผมจะไปพบเธอที่บ้าน

ประโยคแรกมีใจความไม่สมบรูณ์ เพราะจะมีคำถามตามมาว่า “ถ้าเธอไม่โผล่มาที่ทำงาน…”                         และมันจะต้องมีข้อความมาเสริมต่อจึงจะได้ใจความเป็นที่เข้าใจส่วนประโยคที่สอง               “ผมจะไปพบเธอที่บ้าน” มีใจความสมบรูณ์เป็นที่เข้าใจแล้ว      ดังนั้นประโยครองที่มีใจความ               ไม่สมบรูณ์จำเป็นต้องเอาไปซ้อนอยู่ในประโยคหลักเพื่อให้ได้ใจความสมบรูณ์ โดยมีคำเชื่อมคือ if (ถ้า) อยู่ข้างหน้า ดังตัวอย่างนี้

If she doesn’t show up at the office, I will go to see her at her house.

ถ้าเธอไม่โผล่มาที่ทำงาน ฉันก็จะไปตามเธอที่บ้านเอง

ถ้าจะวางประโยครองไว้หลังประโยคหลักก็ได้ แต่จะไม่มีคอมม่า (,) คั่น เช่นวางสลับประโยคข้างต้นได้ว่า

I will go to see her at her house if she doesn’t show up at the office. (มีความหมายเหมือนกัน)

ประโยครอง:     That she is going to quit her job.

ที่หล่อนจะลาออกจากงาน

ประโยคหลัก:     I don’t know.

ผมไม่รู้

รวมเป็น:          I don’t know that she is going to quit her job.

ผมไม่รู้ว่าหล่อนจะลาออกจากงาน

 

4. ประโยคความรวมความซ้อน

เกิดขึ้นจากการที่ประโยคความซ้อน (ประโยครอง)มาซ้อนอยู่ในประโยคความรวม                              (ประโยคความเดียว + ประโยคความเดียว โดยมีคำเชื่อม) ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้

ประโยคความซ้อน(รอง) :     When I was thirteen years old.

เมื่อผมอายุสิบสามปี

ประโยคความรวม: I’ve played football, and now I became a football player of a Thailand team.

ผมเล่นฟุตบอลและกลายมาเป็นผู้เล่นทีมชาติไทย

กลายเป็นประโยคความรวมความซ้อนคือ:

I’ve played football when I was thirteen, and now I’ve become a football play of Thailand team.

ผมเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่อายุสิบสามปี และขณะนี้เป็นผู้เล่นทีมชาติไทย

ประโยคความซ้อน(รอง) :    What will happen?

จะเกิดอะไรขึ้น

ประโยคความรวม:           I don’t know, so I can’t tell you anything.

ผมไม่รู้ ดังนั้น ผมจึงบอกอะไรคุณไม่ได้

กลายเป็นประโยคความรวมความซ้อน:

I don’t know what will happen, so can’t tell you anything. (ความหมายเหมือนกัน)

 

ที่มาข้อมูล : www.englishclubhouse.com 

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี