สอบครู
ข้อสอบครู กทม คู่มือสอบ ข้อสอบครู กทม ปี 2556 ชุดที่ 2
-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
ข้อสอบครู กทม ใกล้สอบเข้ามาอีกแล้ว วันนี้ ครูประถม ได้นำแนวข้อสอบครูผู้ช่วย กทม พร้อมเฉลย มาให้ทุกท่านที่สนใจศึกษา และขอขอบคุณแหล่งความรู้คลังข้อสอบทุกที่ มา ณ โอกาสนี้ด้วย
ข้อสอบ วิชาความรอบรู้ ครู กทม. ข้าราชการครู กรุงเทพมหานคร
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายความถึงการศึกษาในระดับใด
ก. การศึกษาในระบบ ข. การศึกษานอกระบบ
ค. การศึกษาอิสระ ง. การศึกษาผู้ใหญ่
ตอบ ก. การศึกษาในระบบ
การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2. การศึกษาภาคบังคับ มีจำนวนกี่ปี
ก. 3 ปี ข. 6 ปี
ค. 9 ปี ง. 12 ปี
ตอบ ค. 9 ปี
ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้คำสึงถึงสิ่งใด
ก. ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
ค. ความเหมาะสมด้านอื่น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
4. การประเมินคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาอย่างไร
ก. อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกปี ข. อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสองปี
ค. อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี ง. อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี
ตอบ ง. อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
5. ข้อใดมีความหมายถึงการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก.ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ข. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(1) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
(3) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
6. การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำนึงถึง
ก. คุณวุฒิ ประสบการณ์
ข. มาตรฐานวิชาชีพ
ค.. ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน แล้วแต่กรณี
7. บุคคลใด ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ก. ครู ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ผู้บริหารการศึกษา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้
8. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของ คุรุสภา
ก. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต
ข. กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ค. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
(2) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(3) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
9. ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา อย่างน้อยต้องมีการประชุมอย่างไร
ก. เดือนละครั้ง ข. สองเดือนครั้ง
ค. สามเดือนครั้ง ง. ปีละครั้ง
ตอบ ก. เดือนละครั้ง
คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมคณะกรรมการคุรุสภาต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
10. หากผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต อาจอุทธรณ์คำสั่งได้ภายในกี่วัน
ก. เจ็ดวัน ข. สิบห้าวัน
ค. สามสิบวัน ง. สี่สิบห้าวัน
ตอบ ค. สามสิบวัน
การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต หรือการไม่ออกใบแทนใบอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด
ที่มา :: http://www.sheetram.com