วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2024
หน้าแรกครูประถมพัฒนาครูสพฐ.ขับเคลื่อนจุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สพฐ.ขับเคลื่อนจุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 13 กันยายน 2566 ขอนำเสนอ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้กำหนดทักษะ เป็นสมรรถนะสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนพึงได้รับการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ ความรู้สึกนึกคิด ให้รู้จักสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล รู้จักจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ป้องกันตัวเองในภาวะคับขัน และจัดการกับชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับวัฒนธรรมและสังคม

ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปััจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต

องค์ประกอบของทักษะชีวิต มี 4 องค์ประกอบ

1.  การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง

2.  การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

3.  การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

4.  การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

การสร้างทักษะชีวิต มี 2 วิธี

1.  เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการมีแบบอย่างที่ดี แต่การเรียนรู้ตามธรรมชาติจะไม่มีทิศทางและเวลาที่แน่นอน บางครั้งกว่าจะเรียนรู้ก็อาจสายเกินไป

2.  การสร้างและพัฒนาโดยกระบวนการเรียนการสอน เป็นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิด มุมมอง เชื่อมโยงสู่วิถีชีวิตของตนเอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และปรับใช้กับชีวิต

กิจกรรมการสร้างและพัฒนาทักษะชีวิต

1.  กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมค้นพบความรู้หรือสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ข่าวสาร เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือประสบการณ์ของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สืบค้นหรือศึกษาค้นคว้า คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสื่อต่างๆ และแหล่ง้รียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา ได้สะท้อนเชื่อมโยงกับชีวิตและการดำเนินชีวิตในอนาคต

2.  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ลงมือทำกิจกรรมลักษระต่างๆ ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ เช่น กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมค่าย กิจกรรมชมรม/ชุมนุม กิจกรรมโครงงาน/โครงการ กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมวันสำคัญ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนจุดเน้นดังกล่าว บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง จึงให้ความสำคัญในภารกิจนี้ที่จะต้ิองจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะชีวิตให้มากที่สุด ทั้งใน 8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี