ความแตกต่างของการประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครูฯแบบเดิมและแบบใหม่ ว.20/2561

-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา อ่านข่าวให้ฟัง
มีผู้ทำข้อสรุปเกี่ยวกับความแตกต่างของการประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครูฯแบบเดิมและแบบใหม่ ของการประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครูฯแบบเดิมและแบบใหม่ ว.20/2561 โดยมีใจความดังนี้
เดิมองค์ประกอบการประเมินมี4ตอนรวม100คะแนน
1.ผลการปฏิบัติงาน 60คะแนน
2.ความประพฤติการรักษาวินัย 10คะแนน
3.คุณธรรมจริยธรรม 10คะแนน
4.จรรยาบรรณวิชาชีพ 20คะแนน
การประเมินใหม่มี 2 องค์ประกอบ รวม 100 คะแนน
1.ผลการปฏิบัติงาน70 คะแนน
2.การรักษาวินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ 30คะแนน)
ซึ่งแต่เดิมผลคะแนนการประเมินผลการปฎิบัติงาน มี 3ระดับ คือดีเด่น, ยอมรับได้ และต้องปรับปรุง
ส่วนการประเมินใหม่มี 5 ระดับ คือ ดีเด่น, ดีมาก, ดี, พอใช้ และต้องปรับปรุง
เดิมคะแนนประเมิน90ขึ้นไปอยู่ในระดับดีเด่นอาจไม่ได้เลื่อน1 ขั้นในการเลื่อนขั้นในรอบ 1 เม.ย. เพราะติดด้วยโควตาร้อยละ 15(คนที่จะได้ 1 ขั้นมีแค่ 15% ของจำนวนคน) แสดงว่าคนได้คะแนน90 อาจได้เลื่อนแค่ 0.5ขั้นในรอบ 1 เม.ย.ก็ได้
แต่การประเมินใหม่ คะแนนประเมิน 90ขึ้นไปอยู่ในระดับดีเด่น โดยถ้าคะแนนเท่ากันต้องได้%เลื่อนเท่ากัน และคะแนนประเมินอื่นๆก็ได้%เลื่อนน้อยลงต่างกันไปตามคะแนนที่ได้
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของส่วนราชการจะกำหนด % สูงต่ำ ได้ตามความเหมาะสมภายในวงเงินที่สามารถใช้เลื่อนได้ (คนเยอะเงินเยอะก็สามารถที่จะกำหนด%ต่อคนได้สูง คนน้อยเงินน้อย % เลื่ิอนต่อคนที่ได้ก็น้อยลงไปตามสัดส่วน)
หมายความว่าคะแนนประเมินแต่ละคะแนนมีผลต่อ % ที่แต่ละคนจะได้ต่างกัน (ต่อคนตั้งแต่ 0-6%ต่อคน) ต่างจากแบบเดิมที่ตั้งแต่ 60-100 คะแนน จำแนกคนได้แค่ 0.5 กับ 1 ขั้นเท่านั้นในแต่ละรอบการเลื่อน
ข้อสังเกต การประเมินแบบใหม่ให้ทุกคนประเมินตัวเองตามร่องรอยเอกสารก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาประเมิน
หมายความว่าทุกคนก็จะเอาตัวเองเข้าหาเกณฑ์โดยการสร้างเอกสารร่องรอยประกอบการประเมินเพื่อให้ได้คะแนนสูงที่สุด ซึ่งนั่นคือทุกคนประเมินตัวเองดีเด่นและผู้บังคับบัญชาย่อมต้องเห็นด้วยตามนั้นเพราะมีร่องรอยเอกสารที่ตรวจสอบได้
ถ้าส่วนราชการประเมินทุกคน 90 ขึ้นไป (ดีเด่น) หมด แสดงว่าคนส่วนใหญ่ต้องได้ %สูงใกล้เคียงกัน เงินไปกองอยู่ในระดับดีเด่น แต่วงเงินที่จะใช้เลื่อนมีแค่ 3% จากเงินเดือนทุกคนรวมกัน ถ้ากำหนด % ต่อคนสูง (เกินกว่า3%) วงเงินก็จะไม่พอเลื่อนให้ทุกคน ก็ต้องลด%(ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียง3%) และกลายเป็นการหารเฉลี่ยเงินเดือนให้ทุกคนได้เท่าๆและใกล้เคียงกัน แทนที่จะสามารถจำแนกคนตามผลการปฏิบัติงานตามเจตนารมณ์ของการเลื่อนเงินเดือนในระบบร้อยละ
ที่ผ่านมาเชื่อว่าหน่วยงานส่วนใหญ่ที่เลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละมีผลคะแนนการประเมินแบบนี้ เพราะผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกน้องเกลียดและเลี้ยงไว้ใช้งาน ก็จะประเมินให้ในระดับดีเด่นเกือบทั้งหมดไม่กล้าประเมินตามข้อเท็จจริง
สรุปก็คือการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนในระบบร้อยละที่ข้าราชการพลเรือนสามัญใช้มา8 ปี เป็นระบบการประเมินที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงเพราะคนส่วนใหญ่ได้เลื่อนเงินเดือนใกล้เคียงกันซึ่งไม่มีความแตกต่างจากระบบขั้นที่คนส่วนใหญ่ได้ 0.5 ขั้นเช่นกัน
ขอขอบคุณ : FB คุณนภัทร อินทรุณ