ด่วนที่สุด! แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active learning

ครูประถมหลายๆคนอาจจะเริ่มทำ การเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปบ้าง และคุณครูประถมก็คงอยากรู้แนวทางการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ คุณครูประถมสามารถดูแนวทางการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active learning ได้

 

หนังสือนำส่ง คลิกที่นี่

แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active learning คลิกที่นี่

ขอบคุณที่ : สพฐ.

 

โครงการ“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning” เป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่ใช้เป็น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งครูต้องออกแบบการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา รู้จักการทํางานเป็นทีม รู้จักการปรับตัวมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีความรู้ความสามารถตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และที่สําคัญต้องพัฒนาผู้เรียนให้ค้นพบศักยภาพ และความชอบของตนเอง โดยสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินการตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ดังนี้

ระยะที่ ๑ ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จํานวน ๔,๑๐๐ โรงเรียน เป็นโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน ๓,๘๓๑ โรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน ๑๖๑ โรงเรียน และสังกัดกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น จํานวน ๑๐๘ โรงเรียน โดยเน้น ๔ หมวด คือ หมวดที่ ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรม บังคับตามหลักสูตร) หมวดที่ ๒ สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ หมวดที่ ๓ สร้างเสริมคุณลักษณะและ ค่านิยม และหมวดที่ ๔ สร้างเสริมทักษะการทํางาน การดํารงชีพและทักษะชีวิต ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม ทั้งในและนอกห้องเรียน กิจกรรมการพัฒนาเป็นไปตามความสนใจของผู้เรียน มีส่วนร่วมในการออกแบบ กิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และมีความสุขกับกิจกรรม

ระยะที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก จํานวน ๑๗.๓๑๗ โรงเรียน เป็นโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน ๑๕,๘๙๗ โรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน ๕๐๔ โรงเรียน สังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น จํานวน ๔๗๙ โรงเรียน และสังกัดสํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จํานวน ๔๓๗ โรงเรียน รวม ๒ ระยะ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จํานวน ๒๑,๔๑๗ โรงเรียน ในระยะนี้ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายการพัฒนา ๔H คือ Head (กิจกรรมพัฒนาสมอง) Heart (กิจกรรมพัฒนาจิตใจ) Hand (กิจกรรม พัฒนาทักษะการปฏิบัติ) และ Health (กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ) และเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข โดย ใช้ขั้นพัฒนาการของ Bloom’s Taxonomy of Education Objectives (Krathwohl, D.R., ๒๐๐๒) เป็นหลัก ในการจัดกิจกรรม และเน้นให้เกิดทักษะการคิดขั้นสูง

ในระยะที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีการพัฒนาการจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ให้ เชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และยังคงเน้นเป้าหมายการพัฒนา ๔H โดยให้ความสําคัญทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ (Active Learning) โดยมุ่งเน้น ลดเวลาเรียนในลักษณะการรับการถ่ายทอดความรู้ด้วยการบรรยาย/สาธิต เป็นการเพิ่มเวลาและโอกาสในการ สร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติ มีความสุขกับการเรียนรู้ ปรับบทบาทครูจากการเป็นผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คําปรึกษา ชี้แนะ มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างหลากหลายตามสภาพจริง และเชื่อมโยงกับ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดโดยการออกแบบกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่น ความหลากหลาย พัฒนาทักษะ และสมรรถนะที่เน้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ ทํางานเป็นทีม เผชิญประสบการณ์ตรง เรียนรู้ด้วยตนเอง และได้ค้นพบศักยภาพของตนเองเชื่อมโยงการนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อม เข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งสอดคล้องกับนานาประเทศ ทั้งเรื่องของจิตสํานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐาน การประกอบสัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว สู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ จึงได้มีการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์รวมถึงช่องทางสื่อสารกลาง ภายใต้ชื่อ “ MCMK” (Moderate Class, More Knowledge) : https://mcmk.obec.go.th/ และ mcmk.innoobec.com รวมทั้ง สังเคราะห์และสร้างคลังเมนูกิจกรรมสนับสนุน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ทั้งจากหน่วยงานภายในและ หน่วยงานภายนอก รวมถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ จัดกิจกรรม เผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมหรือแนวทางปฏิบัติสําหรับโรงเรียนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้แล้วนําไป ประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานของโรงเรียน

ในปัจจุบันโรงเรียนได้ดําเนินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning โดยมีเป้าหมายการ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะทั้ง ๓ ด้าน คือ ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานหลักในการกํากับ ดูแล และติดตามการดําเนินงานของโรงเรียนตามโครงการ ดังกล่าว จึงได้กําหนดเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อคัดเลือกโรงเรียน ที่เป็นต้นแบบในการดําเนินงานที่ประสบผลสําเร็จในการบริหารจัดการหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการนิเทศติดตามผล เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนอื่นได้พัฒนาคุณภาพ การดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป