คำว่า คุณครู TEACHER บทบาทหน้าที่ ที่คนเป็นครูได้รับ

คุณครู เมื่อได้ยินคำนี้แล้วเรานึกถึงอะไร ในสภาพสังคมปัจจุบันที่ทุกคนต่างเร่งรีบจนแทบไม่มีเวลาให้ตัวเอง เราต่างสนุกกับสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ตื่นเต้นกับความทันสมัยที่เกิดขึ้น คิดแต่จะสร้างความสุขสบายจนลืมสร้างฐานที่สำคัญของชัวิต นั่นคือ ครอบครัว

หากครอบครัวเข้มแข็ง สังคมของเราก็จะเข้มแข้งตามไปด้วย ปัญหาสังคมต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมายเพราะจุดเล็กๆที่มองข้าม เราคงเคยได้ยินคำว่า 

เด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า

หากแต่ว่าต้นแบบในวันนี้ต่างผลักภาระให้แก่กัน ผู้ปกครองปัจจุบันต่างมีความฝัน และมีความหวังว่า โรงเรียนที่ดี จะมีครูที่ดี นำทางชัวิตลูกเขาไปสู่หนทางที่ดีได้ สังคมปัจจุบันเมื่อมีปัญหาก็กลับมามองว่าโรงเรียนที่นักเรียนอยู่ชื่ออะไรทำไม่ไม่สั่งสอน เหมือนกับว่ายกหน้าที่การอบรมสั่งสอนมาที่โรงเรียน ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น 

วันนี้ ครูประถมจะพามารับรู้ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของครู Teachers

T (Teaching) – การสอน หมายถึงการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการทั้งหลายทั้งปวงซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของครู

E(Ethics)จริยธรรมหมายถึงหน้าที่ในการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งนอกจากการสั่งสอนในด้านวิชาความรู้โดยทั่วไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมอันเหมาะสมอีกด้วยเพราะพฤติกรรมอันเหมาะสมที่ครูได้แสดงออกจะเป็นเครื่อ
งมือที่สำคัญในการปลูกฝังศรัทธาให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตาม
A ( Academic) – วิชาการหมายถึงครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือครูต้องเป็นนักวิชาการอยู่ตลอดเวลาเพราะอาชีพของครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพดังนั้นครูทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำหากไม่กระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้นล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการใหม่ ๆ ซึ่งมีอย่างมากมายในปัจจุบัน
C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรมหมายถึงครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งหรือ รุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งมีวิธีการที่ครูจะกระทำได้ แนวใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
            1. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องเป็นประจำกล่าวคือครูทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอย่างถ่องแท้เสียก่อนต่อจากนั้นจึงปฏิบัติตามให้ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปยึดถือเป็นแบบอย่าง เช่น
            – การแต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ
            – การแสดงความเคารพและกิริยามารยาทแบบไทย ๆ
            – การจัดงานมงคลสมรส
            2. การอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยอย่างถูกต้องและในขณะเดียวกันก็กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามแบบฉบับอันดีงามที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
H ( Human Relationship) – มนุษย์สัมพันธ์หมายถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อบุคคลทั่วๆไปเพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาที่ครูปฏิบัติงานอยู่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วยดังนั้นครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งที่จะต้องคอยผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่ครูมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างครูกับบุคคลต่าง ๆอาจจำแนกได้ ดังนี้

ครูกับนักเรียน 

            ครูกับนักเรียนนับว่าเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด จนกระทั่งในอดีตยกย่องให้ครูเป็นบิดาคนที่สองของศิษย์ ผู้ปกครองเมื่อส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก็ฝากความหวังไว้กับครู กล่าวคือ มอบภาระต่าง ๆ ในการอบรมดูแล ลูกหลานของตนให้แก่ครู ดังนั้น ครูจึงควรปฏิบัติหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ที่สุด และควรสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างครูและศิษย์ให้แน่นแฟ้น ให้ศิษย์มีความรู้สึกฝังใจตลอดไป

วิธีการที่ครูควรจะทำต่อศิษย์ เช่น

1. สอนศิษย์ให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆให้มากที่สุดเท่าที่ครูจะกระทำได้

2. สอนให้นักเรียนหรือศิษย์ของตนมีความสุขเพลิดเพลินกับการเล่าเรียนไม่เบื่อหน่ายอยากจะเรียนอยู่เสมอ

3. อบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยหรือกรอบของคุณธรรมไม่ปล่อยให้ศิษย์กระทำชั่วด้วยประการทั้งปวง

4. ดูแลความทุกข์สุขอยู่เสมอ

5. เป็นที่ปรึกษาหารือ ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์

ครูกับครู

            ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาวิชาชีพครูเพราะครูกับครูที่ทำงานสอนอยู่สถานศึกษาเดียวกันเปรียบเสมือน
บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
หากสมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีความสมานสามัคคีอันดีต่อกันแล้วนอกจากจะทำให้การอบรมสั่งสอนนักเรียนเป็น
ไปอย่างมีคุณภาพแล้ว
ยังช่วยให้การปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆที่นอกเหนือจากการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้การพัฒนาสถานศึกษา
และการพัฒนาวิชาชีพครูก็จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
วิธีที่ครูควรปฏิบัติต่อครู เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ต่อกัน เช่น

1. ร่วมมือกันในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติอย่างสม่ำเสมอ

2. ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางด้านวิชาการ เช่น การแนะนำการสอนแนะนำเอกสารหรือแหล่งวิทยาการให้ 

3. ช่วยเหลืองานส่วนตัวซึ่งกันและกันเท่าที่โอกาสจะอำนวย 

4. ทำหน้าที่แทนกันเมื่อคราวจำเป็น 

5. ให้กำลังใจในการทำงานซึ่งกันและกันซึ่งอาจจะแสดงออกในรูปของวาจาหรือการกระทำก็ได้ 

6. กระทำตนให้เป็นผู้มีความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันเสมอ ไม่แสดงตนในทำนองยกตนข่มท่านหรือแสดงตนว่าเราเก่งกว่าผู้อื่น

ครูกับผู้ปกครอง

            ผู้ปกครองนักเรียนเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเล่าเรียนของศิษย์และความก้าวหน้าของสถานศึกษาโรงเรียนใดที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาใกล้ชิดโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอโรงเรียนนั้นจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทั้งด้านคุณภาพการเรียนของนักเรียนและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมรอบๆ โรงเรียนวิธีการที่ครูสามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น

1. แจ้งผลการเรียนหรือความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบเป็นระยะ ๆ

2. ติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อช่วยแก้ปัญหาของศิษย์ในกรณีที่ศิษย์มีปัญหาทางการเรียนความประพฤติ สุขภาพ อื่น ๆ 

Advertisements

3. หาเวลาเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม เช่น เมื่อได้ข่าวการเจ็บป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรม เป็นต้น 

4. เชิญผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน เช่น การแข่งขันกีฬา ประจำปี งานแจกประกาศนียบัตรหรืองานชุมนุมศิษย์เก่า เป็นต้น 

5. เมื่อได้รับเชิญไปร่วมงานของผู้ปกครองนักเรียน เช่น งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่งานมงคลสมรส เป็นต้น ต้องพยายามหาเวลาว่างไปให้ได้ 

6. ครูควรร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และอาชีพให้ผู้ปกครองและประชาชนในท้องถิ่นบ้างจะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของครูมากยิ่งขึ้น 

7. เมื่อชุมชนได้ร่วมมือกันจัดงานต่าง ๆ เช่น งานประจำปีของวัด หรือ งานเทศกาลต่าง ๆครูควรให้ความร่วมมืออยู่อย่างสม่ำเสมอ 

8. ครูควรแจ้งข่าวสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองได้ทราบเป็นระยะ ๆซึ่งอาจจะส่งข่าวสารทางโรงเรียนหรือการติดประกาศ
ตามที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านก็ได้
 

            นอกจากครูจะต้องพยายามสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนกลุ่มบุคคลต่าง ๆดังกล่าว ซึ่งถือว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับครูและครูก็ต้องเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลาแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอื่น ๆที่ครูจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยอีก เช่น พระภิกษุกับบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ในวัดซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินการงานต่างๆ ของ โรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้นส่วนประชาชนทั่วไปนั้นหากได้รับความประทับใจ เมื่อมาติดต่องานกับโรงเรียนก็จะเป็นส่วนเป็นพลังอีกส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนงานการศึกษาของโรงเรียนให้ก้าวหน้าต่อไป 

E (Evaluation) – การประเมินผลหมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใดดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบสำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครูสามารถใช้วิธีการต่าง ๆได้หลายวิธี ทั้งนี้อาจจะใช้หลาย ๆวิธีในการประเมินผลครั้งหนึ่งหรือเลือกใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี เช่น

1. การสังเกตหมายถึง การสังเกตพฤติกรรมการทำงานการร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

2. การสัมภาษณ์หมายถึงการสัมภาษณ์เพื่อต้องการทราบความเจริญก้าวหน้าทางด้านการเรียนของนักเรียนซึ่งอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ในเนื้อหาวิชาการที่เรียน วิธีการเรียน หรือวิธีการทำงานเป็นต้น 

3. การทดสอบหมายถึง การทดสอบความรู้ในวิชาการที่เรียนอาจจะเป็นการทดสอบทางภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติก็ได้ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ควรมีการ
ทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการเรียนการสอนทุก
ๆ วิชา 

4. การจัดอันดับคุณภาพหมายถึงการนำเอาผลงานของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาเปรียบเทียบกันในด้านคุณภาพแล้วประเมินคุณภาพของนักเรียน
แต่ละคนว่าคนใด ควรอยู่ในระดับใด
 

5. การใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจเป็นวิธีการประเมินผลการเรียนอีกแบบหนึ่งเพื่อสำรวจตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนทั้งของนักเรียนและของครู 

6. การบันทึกย่อและระเบียนสะสมเป็นวิธีที่ครูจดบันทึกพฤติกรรมความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

7. การศึกษาเป็นรายบุคคลหมายถึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ปัญหาในที่นี้หมายความว่าควบคุมทั้งเด็กที่เรียนเก่งและ
เด็กที่เรียนอ่อนรวมทั้งเด็กมีปัญหาในด้านพฤติกรรมต่าง
ๆ ด้วย 

8. การใช้วิธีสังคมมิติเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเดียวกันประเมินคุณภาพของบุคคลในสมาชิกเดียวกันเพื่อตรวจสอบดูว่า สมาชิกคนใด
ได้รับความนิยมสูงสุดในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ
ด้านก็ได้

9. การให้ปฏิบัติและนำไปใช้เป็นวิธีการที่ครูต้องการทราบพัฒนาการทางด้านทักษะหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนหลังจากที่ได้แนะนำวิธีการปฏิบัติให้แล้ว 

การประเมินผลการเรียนการสอนทุก ๆ วิชาครูควรประเมินความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ 

1. ด้านความรู้ (Cognitve Domain ) คือ การวัดความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล

2. ด้านเจตคติ ( Affective Domain) คือ การวัดความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่และความขยันขันแข็งในการทำงาน เป็นต้น 

3. ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domian) คือการวัดด้านการปฏิบัติงานเพื่อต้องการทราบว่านักเรียนทำงานเป็นหรือไม่หลังจากที่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีแล้ว
การวัดด้านการปฏิบัติงานหรือด้านทักษะนี้ครูจะใช้มากหรือน้อยจะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะวิชาที่สอนวิชาใดเน้นการปฏิบัติงานก็จำเป็นต้องมีการวัดด้านการ
ปฏิบัติงานให้มาก
ส่วนวิชาใดเน้นให้เกิดความงอกงามทางด้านสติปัญญาการวัดด้านการปฏิบัติงานก็จะลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการเรียนการสอนทุก ๆ
วิชาควรจะมีการวัดในด้านการปฏิบัติงานบ้างตามสมควร

R (Research) – การวิจัยหมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหาเพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความจริงความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี
การวิจัยของครูในที่นี้
อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุต่าง ๆที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้สาเหตุที่ครูต้องรับผิดชอบ
ในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา
ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาเด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียนเด็กที่ชอบรังแกเพื่อน
และเด็กที่ชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ถ้าครูสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            การที่ครูจะแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นครูจะต้องทราบสาเหตุแห่งปัญหานั้น วิธีการที่ควรจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้
ครูจะต้องอาศัยการวิจัยเข้ามาช่วย ดังนั้นหน้าที่ของครูในด้านการค้นคว้าวิจัยจึงเป็นงานที่ครูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูทุกคนจึงควรศึกษากระบวนการวิจัยให้มีความรู้ ความเข้าใจด้วยขั้นตอนในการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้

1. การตั้งปัญหา

2. การตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา 

3. การรวบรวมข้อมูล 

4. การวิเคราะห์ข้อมูล 

5. สรุปผล 

สำหรับขั้นตอนของการทำงานวิจัยควรดำเนินงานตามลำดับต่อไปนี้ 
1. การเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย

2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

3. การจำกัดขอบเขตและการให้คำจำกัดความของปัญหา 

4. การตั้งสมมุติฐาน 

5. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

6. การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย 

7. การรวบรวมข้อมูล 

8. การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล 

Advertisements

9. การสรุปอภิปราย และข้อเสนอแนะ 

10. การรายงานผลการวิจัย 

S (Service) บริการหมายถึง การให้บริการ คือครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังต่อไปนี้

1. บริการความรู้ทั่วไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น

2. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัยโดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน 

3. บริการด้านอาชีพ เช่นร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้ประชาชนในท้องถิ่น 

4. บริการให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรือการทำงาน 

5. บริการด้านแรงงาน เช่นครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 

6. บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ 

จะเห็นว่าหน้าที่ บทบาทที่ครูได้รับนั้นไม่ธรรมดาเลย หากทุกภาคส่วนทำหน้าที่ของตนเองโดยไม่ผลักภาระไปที่บทบาทใดบทบาทหนึ่งมากเกินไป ความสุขของทุกคนคงจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ครูประถมขอเป็นกำลังใจให้กับครูไทยทุกคนด้วยความปรารถนาดี

Comments are closed.