Take a fresh look at your lifestyle.

สพฐ. จัดงบประมาณ เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

สำหรับครูประถมที่ติดตามข่าว สพฐ. จะมีการเบิกงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562-2565 เพื่อเร่งพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล่ำทางการศึกษา

วันนี้ (6 ส.ค.) ดร.สุเทพ  ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)  เปิดเผยว่า  ในวันที่ 7 ส.ค.2562 เวลา 9.30 น. ตนจะประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนท์  เพื่อมอบนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ (สพท.) โดยตนจะกำชับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2562-2565 ใน 5 ยุทธศาสตร์ คือ

1.จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 
2.สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 
3.พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 
4.พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา  
5.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม  

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำเครื่องมือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) โดยเครื่องมือดังกล่าวจะ ทำให้รู้ว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง เพื่อจะได้จัดลำดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างถูกต้อง  อย่างไรก็ตาม ผอ.สพท.จะต้องจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30ส.ค.นี้ ซึ่งโรงเรียนใดจะควบรวมหรือเปิด ปิดโรงเรียนขนาดเล็ก ขอให้คำนึงถึงความเหมาะสมบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วย

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถิติโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทย  ปี2562  พบว่ามีโรงเรียน 15,158 โรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 981,831คน  มีครูทั้งหมด 103,079 คน  แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในภาคเหนือ 3,659 โรงเรียน หรือ 24%  มีนักเรียน 211,460 คน  มีครู23,490 คน ภาคกลาง 2,550 โรงเรียน หรือ17% มีนักเรียน 177,092คน ครู17,942 คน ภาคใต้ 1,718 โรงเรียน หรือ 11%  มีนักเรียน123,863 คน มีครู 13,157คนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,231โรงเรียน หรือ48% มีนักเรียน  469,416 คน และมีครู 48,490 คน นอกจากนั้น ยังพบว่า มีโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีนักเรียน แต่ยังไม่สามารถยุบเลิกได้ จำนวนทั้งสิ้น 305 โรงเรียน แบ่งเป็น ภาคเหนือ169 โรงเรียน ภาคกลาง 24 โรงเรียน ภาคใต้ 25 โรงเรียน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 87 โรงเรียน

“สาเหตุที่โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ไม่มีนักเรียน เนื่องจากนักเรียนได้ถูกควบรวมไปเรียนในโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งแล้ว  แต่ในส่วนของอัตราครูและผอ.ไม่ได้ถูกโอนย้ายตามนักเรียนไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการมาหารือเพื่อเกลี่ยจำนวนอัตราครูและผอ.ให้มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ครูเหล่านี้ได้ไปทำหน้าที่ช่วยราชการสอนในโรงเรียนที่มีนักเรียนควบรวม ส่วนที่ไม่สามารถยุบเลิกได้นั้น เพราะว่าการยุบโรงเรียนต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการสถานศึกษา  ต้องผ่านความเห็นชอบจากชุมชน”ดร.สุเทพ กล่าว

ที่มา: dailynews

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี