วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024

จดหมายเหตุรายเดือน กันยายน, 2017

แนวคิดทาง ปรัชญา

แนวคิดทาง ปรัชญา ปรัชญา คือกระบวนการในการตีความและการรับรู้ในสภาวะใดๆอันเป็นความจริงแท้ที่เป็นไปแห่งโลก โดยผู้ศึกษาเกี่ยวกับความจริงแท้ที่เป็นไปแห่งโลกนั้นที่เรียกว่า นักปราชญ์ หมายถึง ผู้ใคร่รู้ การเป็นผู้ใคร่รู้กับสภาวะของการเป็น ผู้มีความรู้นั้นๆ แตกต่างกันในประเด็นที่ว่า ผู้มีความรู้อาจจะพัฒนาความรู้ความชำนาญเรื่องใดๆได้ไม่จำกัด คือสามารถที่จะศึกษาเรียนรู้ได้ทั่วไปในศาสตร์ในแต่ละแขนง ส่วนนักปราชญ์นั้น ต้องมีความชำนาญในเรื่องใดๆก็ตาม(อาจจะเรื่องเดียวหรือหลายเรื่อง)อย่างถ่องแท้จนถึงที่สุด จนเลยของเขตแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง เข้าสู่สภาวะที่ปราศจากของเขตแห่งความรู้ในศาสตร์นั้น ก็คือการก้าวข้ามพ้นจากความรู้ออกไป กลายเป็น ความรู้ในขั้นหลังความรู้ การมีความรู้ในขั้นหลังความรู้จะสามารถให้คำพยากรณ์(หมายถึง การทำให้แจ้ง ไม่ใช่การทำนาย) โดยคำพยากรณ์นั้นจะมีผลผูกพันในแง่ของนัยสำคัญแห่งความรู้(ศาสตร์) กับปราชญ์แห่งความรู้นั้นๆ การเป็นปราชญ์...

ปรัชญา คืออะไร

ปรัชญา คืออะไร     ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชา ปรัชญา ความหมายของปรัชญา (Meanings of Philosophy) คำว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้คู่กับคำภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” เป็นคำมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต 2 คำคือ 1. ปฺร : ประเสริฐ 2. ชฺญา : ความรู้, รู้, เข้าใจ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น “ปฺรชฺญา”...

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษา   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับปรัชญาการศึกษา ปัญหาของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาสามารถที่จะขจัดปัญหาต่าง ๆ ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น และได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บรรจุมาตราต่าง ๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง 5...

FOCUS ประเด็นจาก PISA : การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้

      FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 21 (กันยายน 2560) FOCUS การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้การกำกับดูแล (Governance) ในระบบโรงเรียนในที่นี้มีหลายด้าน เป็นต้นว่าการจัดการโรงเรียนโดยภาครัฐบาลและเอกชน อำนาจอิสระของโรงเรียน การแข่งขันกันระหว่างโรงเรียนความเป็นผู้นำของครูใหญ่ และการจัดการด้านความสำนึกในภาระรับผิดชอบ เราจะมาดูว่าในระบบโรงเรียนตัวแปรการกำกับดูแลเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรบ้างโรงเรียนที่จัดการโดยรัฐบาลและเอกชนโรงเรียนเอกชนมาจากแนวคิดการกระจายทรัพยากรให้ภาคเอกชนเป็นตัวแทนของรัฐในการกระจายทรัพยากรการศึกษาให้ทั่วถึงโดยให้ผู้อื่นนอกจากภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน และไม่เพียงแต่เป็นการกระจายทรัพยากรเท่านั้นแต่ยังมีแนวคิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการศึกษาระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนโดยรัฐหรือโดยเอกชน ตามหลักสากลแล้วการที่รัฐให้การอุดหนุนโรงเรียนที่จัดการโดยเอกชนก็เพื่อกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึง โดยมีสมมติฐานว่าการบริหารจัดการโดยเอกชนจะทำให้นักเรียนเข้าถึงได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการจัดการโดยรัฐ ผลการประเมินจาก PISA 2015 (OECD, 2016b) ในภาพรวมนานาชาติ ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่านักเรียนจากโรงเรียนของรัฐมีคะแนนวิทยาศาสตร์เฉลี่ยต่ำกว่าโรงเรียนเอกชน แต่หลังจากอธิบายด้วยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมแล้วพบว่า...

จี้หา’โมเดลผลิตครู’ใหม่ ก่อนเคาะหลักสูตร 4-5 ปี

นายรัฐกรณ์ คิดการ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา เปิดเผยถึงผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องทิศทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสู่การรับรองปริญญาประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพแนวใหม่ จัดโดยคุรุสภา ที่โรงแรมตรังโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จากทั่วประเทศว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างมาตรฐานและประสบการณ์ วิชาชีพครู เชิงสมรรถนะ มาตรฐานและประสบการณ์ วิชาชีพครู เชิงสมรรถนะประกอบด้วย 1.ด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา 2.การจัดการเรียนรู้ 3.คุณลักษณะความเป็นครู 4.ความผูกพันกับชุมชน ซึ่งคุรุสภาได้จัดทำมาตรฐานดังกล่าว โดยความเห็นพ้องต้องกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ในอนาคตประเทศในกลุ่มอาเซียนจะใช้มาตรฐานครูเดียวกัน ตนคิดว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนทั้งนักศึกษาและครูในกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง นายรัฐกรณ์กล่าวต่อว่า ส่วนการผลิตครู จะเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งในการประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.)...

เมื่อครูประถมคิดอยากได้ แว่น ใหม่ต้องทำไงบ้าง

สมัยนี้การใส่ แว่น ตากันแดด เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็น สำหรับคนที่ต้อง ออกนอกบ้านอยู่บ่อยๆ ยิ่งปัจจุบัน แสงแดดยิ่งแรง ทวีความร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราต้องหรี่ตาทุกครั้ง เมื่อต้องเจอกับแสงแดดแรงๆ โดยตรง ทั้งคนที่เดินอยู่นอกตึก หรือคนที่ขับรถอยู่บนท้องถนน แน่นอนว่า ถ้าไม่ระมัดระวัง ดูแลตัวเองในเรื่องนี้ พอเวลาผ่านไปนานเข้า พฤติกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ จะส่งผลให้ใบหน้ามีรอยเหี่ยวย่น เนื่องจากการหรี่ตา อยู่บ่อยๆ สิ่งนี้ยังรวมไปถึงคนที่มีอาการสายตาสั้น แล้วไม่ยอมไปตัดแว่นซักที...

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

Most Read