แนวข้อสอบครู คู่มือเตรียมสอบครู กทม เปิดสอบครู กทม ปี 2556 ชุดที่ 3

แนวข้อสอบครู ใกล้สอบเข้ามาอีกแล้ว วันนี้ ครูประถม ได้นำแนวข้อสอบครูผู้ช่วย กทม พร้อมเฉลย มาให้ทุกท่านที่สนใจศึกษา และขอขอบคุณแหล่งความรู้คลังข้อสอบทุกที่ มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ข้อสอบ วิชาความรอบรู้ ครู กทม. ข้าราชการครู กรุงเทพมหานคร

1. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
ค. เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
ง. ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย
เฉลย  ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต เป็นประโยคความซ้อน
อธิบาย ก.    เป็นประโยคความเดียว ( มีกริยาตัวเดียว )
ค.    เป็นประโยคความรวม ( เพราะ … ก็ )
ง.    เป็นประโยคความรวม ( ถ้า … ก็ )
2. หมูกับไก่  ถ้านับขาหมูมากกว่าขาไก่ อยู่ 8 ขา  แต่ถ้านับหัวไก่มากกว่าหัวหมู อยู่ 8 หัว  อยากทราบว่ามีหมูกี่ตัว
1)    10                                     2)    12
3)    14                                      4)    16
เฉลย  ข.
วิธีทำ เขียนสมการ  หัว  กับ  สมการขา  ก่อน  จากนั้น  ใช้ตัวเลือกพิจารณาแทนค่าหาคำตอบ
หัว  ;   1 ไก่   –  1 หมู =    8
ขา  ; 4 หมู  –  2 ไก่   =    8
พิจารณา( สมการหัว   = จำนวนตัว )      ตัวเลือก ไก่- หมู = 8
1) 18 – 10 = 8
2) 20 – 12 = 8
3) 22 – 14 = 8
4) 24 – 16 = 8
จากตัวเลือก ที่  2  นำมาแทนในสมการ  ขา  จะได้
ขา  ;4 (12)  –  2 (20) =    8
ขา  ;   48    –     40 =    8
ขา  ;     8  =    8 ( ค่าทางซ้าย   =   ค่าทางขวา )
ดังนั้น มีหมู 12 ตัว
3. ชวด : เถาะ      ?  :  ?
ก. มกราคม : มีนาคม                          ข. เมษายน : มิถุนายน
ค. มะเมีย : มะแม                               ง. จันทร์ : พุธ
ตอบ ค. มะเมีย : มะแม
แนวคิด ชวด และ เถาะ เป็นปีนนักษัตรเหมือนกัน
เช่นเดียวกับ มะเมีย และมะแม
4. ราก : ยอด         ?  :  ?
ก. เล็บ : ขนตา ข. กันชน : ล้อ
ค. เสาเข็ม : หลังคา ง. เท้า : ผม
ตอบ ค. เสาเข็ม : หลังคา
แนวคิด รากอยู่ใต้พื้นดิน ส่วนยอดอยู่บนพื้นดิน
เช่นเดียวกับ เสาเข็มอยู่ใต้พื้นดิน และหลังคาอยู่บนพื้นดิน
5. นก : เสือ        ?  :  ?
ก. กบ : เขียด                                   ข. งู : จงอาง
ค. ไก่ : สิงโต                                    ง. พญาอินทรีย์ : ปลา
ตอบค. ไก่ : สิงโต
แนวคิด นกเป็นสัตว์ปีกเช่นเดียวกับไก่
ส่วนเสือเป็นสัตว์บกเช่นเดียวกับสิงโต
6. จมูก : คน          ?  :  ?
ก. หนวด : กุ้ง                                     ข. ผิวหนัง : แมว
ค. ครีบ : ปลา                                      ง. เหงือก : ปลา
ตอบ ง. เหงือก : ปลา
แนวคิด คนมีจมูกไว้หายใจ
7. มรณภาพ : มลพิษ           ?  :  ?
ก. พราหมณ์ : พลกาย                            ข. พลขับ : พลโลก
ค. ภาวนา : มรณกรรม                           ง. มหาตมะ : พัฒนา
ตอบ ง. มหาตมะ : พัฒนา
แนวคิด มรณภาพ มีอักษร 6 ตัว เช่นเดียวกับ มหาตมะ
ส่วน มลพิษ มีอักษร 4 ตัว เช่นเดียวกับ พัฒนา
8. ข้อความต่อไปนี้ควรจัดเรียงลำดับตามข้อใดจึงจะได้ความสมบูรณ์
(1) ดอกแตงโมอ่อนรวมกับผักอื่นๆ นำมาแกงเลียง
(2) ยอดแตงโมอ่อนคนมักเก็บมาต้มกับกะทิจิ้มน้ำพริกกิน
(3) ผลอ่อนเขาก็เอามาแกงส้มใช้เนื้อทั้งเมล็ดอร่อยมาก
(4) ผลแก่นั้นใช้รับประทาน  เนื้อหวานเย็น  ชุ่มคอชื่นใจดี
1.  (1) – (2) – (3) – (4)
2.  (1) – (3) – (4) – (2)
3.  (2) – (1) – (3) – (4)
4.  (2) – (3) – (4) – (1)
9. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1)  ดังหลักฐานภาพแกะสลักบนแผ่นหินที่ปราสาทนครธมกัมพูชา
(2)  การนำวัวควายมาใช้แรงงานเกิดขึ้นไม่น้อยกว่าห้าพันปีมาแล้ว
(3)  หากไม่มีวัวควายมาลากไถ  ก็คงจะไม่มีใครคิดถึงการใช้แรงงานอื่นๆ
(4)  การใช้แรงงานวัวควายจึงเป็นจุดเปลี่ยนของพัฒนาการด้านแรงงาน
1.  (4) – (3) – (2) – (1)
2.  (1) – (2) – (4) – (3)
3.  (2) – (1) – (3) – (4)
4.  (3) – (2) – (1) – (4)
10. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1) ผู้ป่วยเป็นต้อหินจะมีอาการตามัว  สูญเสียลานสายตา
(2) การรักษาต้อหินอาจใช้ยาหยอดตาและยารับประทาน
(3) ต้อหินเกิดจากความดันในสายตาเพิ่มสูงขึ้นจนทำลายประสาทตา
(4) ถ้าเป็นต้อหินชนิดรุนแรงจะปวดตา  ปวดศีรษะมากและคลื่นไส้อาเจียน
(5) ผู้ที่เป็นต้อหินบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาโดยแสงเลเซอร์หรือโดยการผ่าตัด
1.  (3) – (1) – (2) – (4) – (5)
2.  (1) – (2) – (5) – (3) – (4)
3.  (3) – (1) – (4) – (2) – (5)
4.  (1) – (3) – (4) – (2) – (5)
11. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1) อินเดียมีสิ่งมหัศจรรย์ถึงสองสิ่งคือปราสาททัชมาฮาลและมหาตมะคานธี
(2) บางคนบอกว่าอินเดียมิได้มีสิ่งมหัศจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น
(3) ทั้งสองสิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกตามที่เขาว่าจริงๆ
(4) อินเดียมีสิ่งมหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือปราสาททัชมาฮาล
1.  (4) – (2) – (1) – (3)
2.  (2) – (1) – (3) – (4)
3.  (3) – (1) – (4) – (2)
4.  (1) – (3) – (2) – (4)
12. นอกจากการเจรจาระหว่างรัฐทั้งสองรัฐ  ซึ่งเป็นการติดต่อระหว่างรัฐเป็นส่วนใหญ่แล้วการติดต่อกันแบบหลายฝ่ายพร้อมกันก็มีมากขึ้น  ในรูปแบบของการประชุมนานาชาติเพื่อตกลงกัน  ในปัญหาเฉพาะอย่าง
ข้อความนี้ตีความอย่างไร
ก. ปัจจุบันการติดต่อระหว่างรัฐมีมากขึ้น
ข. การเจรจาแบบหลายฝ่ายนั้นปัญหาต้องเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย
ค. การแก้ปัญหาโดยการเจรจาแบบหลายฝ่ายได้รับความนิยมมากขึ้น
ง. วัตถุประสงค์ของการเจรจาแบบรับแบบหลายฝ่ายต่างกัน
13. ความสับสนหรือไม่เข้าใจความหมายของคำ  ทำให้เลือกใช้คำผิดความหมายสื่อกันไม่เข้าใจ  เช่นคำว่าประชากร  ประชาชน  ประชาคม  แม้จะมีความใกล้เคียงกันแต่หากใช้ผิดที่ก็ผิดความข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร
ก. คำว่าประชากร  ประชาชน  ประชาคม  มีความหมายเหมือนกัน
ข. คำที่มีความหมายเหมือนกันมักทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจความหมายไม่ตรงกัน
ค. การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันต้องใช้ในที่เดียวกัน  จึงไม่สับสน
ง. การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันหากไม่เข้าใจความหมายของคำทำให้สื่อกันไม่เข้าใจ
14. การเก็บภาษีอากรนั้นเป็นมาตรการสำคัญของรัฐบาลในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของคนจนและคนรวยข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร
ก. ความเหลื่อมล้ำของคนจนและคนรวยสามารถขจัดได้ด้วยวิธีการเก็บภาษีอากร
ข. มาตรการสำคัญที่สุดของการเก็บภาษีอากรคือลดช่องว่างของฐานะในชนชั้นที่แตกต่างกัน
ค. การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยเป็นมาตรการสำคัญของรัฐบาล
ง. การเก็บภาษีอากรช่วยให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นที่ต่างกันลดน้อยลง
15. “มันเป็นคืนวันเพ็ญเดือนหงายพระจันทร์เต็มดวง” ข้อความนี้ใช้คำอย่างไร
ก. ฟุ่มเฟือย                             ข. ไม่ถูกต้อง
ค. ไม่เหมาะสม                         ง. ไม่สละสลวย
ตอบ  ก. ฟุ่มเฟือย
 การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือการใช้คำที่ไม่จำเป็นจะทำให้คำโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น  เพราะคำฟุ่มเฟือยเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไรแม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป  แต่กลับดูรุงรังยิงขึ้น  ซึ่งข้อความในข้อนี้นั้น  คำว่า  “คืนวันเพ็ญ”  มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า  เป็นคืนเดือนหงายที่มีพระจันทร์เต็มดวงดังนั้นจึงควรใช้เพียง  “มันเป็นคืนวันเพ็ญ”
16. คำทับศัพท์ตามข้อใดที่อาจใช้ในการเขียนได้
ก. โรเนียว                                     ข. โอเค
ค. โควตา                                       ง. ทุกข้อ
ตอบ ค. โควตา
 คำทับศัพท์  คือ  คำภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทยโดยการถ่ายเสียงและถอดอักษรให้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม  แต่เป็นไปตามหลักการเขียนภาษาไทยเช่น  โควตา  โอลิมปิก  รีสอร์ต  ฯลฯ  แต่คำทับศัพท์บางคำก็ควรใช้เฉพาะในภาษาพูดเท่านั้นไม่ควรนำมาใช้ในภาษาเขียน  เพราะเป็นคำที่มีคำแปลในภาษาไทย  เช่น  โอเค  โรเนียว  ฯลฯ  ก็ควรใช้ว่า  ตกลง  อัดสำเนา  เป็นต้น
ที่มา ::  http://www.sheetram.com