Take a fresh look at your lifestyle.

คณะรัฐมนตรีสรุปมติ ครม. ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2562

วันนี้ 29 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (จัดตั้งและกำหนดอำนาจหน้าที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

ให้จัดตั้งและกำหนดอำนาจหน้าที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ ตช. ดังนี้

1. หน่วยงานภายใน ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายวิทยบริการ และฝ่ายการศึกษา

2. อำนาจหน้าที่ สนับสนุนการศึกษาเพื่อผลิตแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรทางการสาธารณสุข ดำเนินการสอน ฝึกอบรมและพัฒนาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรทางการสาธารณสุขของ ตช. และหน่วยงานอื่น ส่งเสริม สนับสนุนการทำวิจัยทั้งรายบุคคล และการทำวิจัยร่วมกับสถาบันอื่น รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ดำเนินงานสารบรรณ สารสนเทศ อุปกรณ์การศึกษา การบริการวิชาการงานปกครองแก่ผู้เข้ารับการศึกษา หรืออบรมดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา งานทะเบียนและวัดผล ส่งเสริมการศึกษาทางการแพทย์ และแพทยศาสตรศึกษา ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

2. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. ….

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ 

  1. กำหนดให้กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริตได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน โดยได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะในเดือนที่มาประชุม ในอัตราดังนี้

1.1 ประธานกรรมการ อัตรา 6,250 บาท

1.2 กรรมการ อัตรา 5,000 บาท

  1. การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิเบิกเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้

  2. ให้กรรมการผู้แทนจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม และผู้ทรงคุณวุฒิ มีสิทธิได้รับค่าเดินทางและค่าที่พัก ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยอนุโลม โดยให้ใช้สิทธิเทียบเท่ากับข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง

  3. กรรมการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้ง

  4. ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก ของกรรมการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบนี้

  5. วิธีการจ่ายเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก อย่างอื่นของกรรมการซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

  6. การเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก ให้เบิกจ่ายจากสำนักงาน ป.ป.ท.

  7. กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ค่าเดินทางและค่าที่พัก ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ด้วย

  8. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคล เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 

  1. กำหนดให้ กสทช. มีกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม หรือด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.               (เดิมให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านวิศวกรรม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จำนวนด้านละ 1 คน)

  2. แก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของกรรมการ กสทช. เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น

  3. แก้ไขเพิ่มเติมผู้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการ กสทช. เช่น รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีผู้พิพากษา รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการพระธรรมนูญ รองหัวหน้าศาลทหารกลาง หรือรองอธิบดีอัยการ เป็นหรือเคยเป็นทหาร หรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี เป็นต้น และเพิ่มเติมการเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อความชัดเจน

  4. แก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสรรหา และการลงคะแนนเสียงเพื่อคัดเลือกรรมการ กสทช. ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ เช่น วิธีการลงคะแนนของคณะกรรมการสรรหาให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผย การบันทึกเหตุผลในการลงคะแนนและผู้ซึ่งจะได้รับการคัดเลือกต้องได้รับคะแนนเสียงถึงสองในสามของจำนวนคณะกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ การดำเนินการคัดเลือกกรรมการโดยวุฒิสภา ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

  5. ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ผู้ได้รับเลือกหรือผู้ได้รับการสรรหา

  6. เพิ่มบทเฉพาะกาลเพื่อให้กรรมการ กสทช. ซึ่งดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และหากมีตำแหน่งว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ จนกว่าจะมี กสทช. ใหม่ตามร่างพระราชบัญญัตินี้

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. ….

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาดำเนินการต่อไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

  1. กำหนดบทนิยามคำว่า “การตรวจสุขภาพ” และ “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง”

  2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง โดยให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรก ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงาน 3 วันทำงานติดต่อกัน เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้าง ให้นายจ้างขอความเห็นจากแพทย์ หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพ ก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน

  3. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกผล การแจ้ง และการส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง อาทิ ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้าง และให้บันทึกผลการตรวจสุขภาพ นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการจ้าง

  4. กำหนดให้กรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง หรือลูกจ้างมีอาการ หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และให้ส่งผลการตรวจสุขภาพต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยตามแบบและวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

  5. กรณีลูกจ้างมีหลักฐานทางการแพทย์แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้ตามสมควร โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง

  6. บทเฉพาะกาล กำหนดให้การดำเนินการของนายจ้างตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547 อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับนี้

5. เรื่อง ร่างกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวม 11 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง จำนวน 7 ฉบับ และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศและร่างระเบียบ จำนวน 4 ฉบับ  รวม 11 ฉบับ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ร่างระเบียบ และร่างประกาศ

ร่างกฎหมาย สาระสำคัญ
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการ ลุ่มน้ำในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยกำหนดวิธีการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดวิธีการคัดเลือกกันเองและคุณสมบัติของผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยองค์กรผู้ใช้น้ำที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นและมีการดำเนินการอยู่ในเขตลุ่มน้ำนั้น กำหนดวิธีการสรรหากรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดบทรองรับการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำในวาระเริ่มแรก
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ อันเนื่องมาจากเหตุบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำและกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ อันเนื่องมาจากเหตุบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ โดยกำหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำหรือกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องยึดถือหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมในเรื่องที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดวิธีดำเนินการกรณีที่มีการร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่ากรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำหรือกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิคนใด มีพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เป็นการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรม และกำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การพิจารณาอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลม
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจ และการดำเนินงานขององค์กรผู้ใช้น้ำ รวมทั้งหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ พ.ศ. …. กำหนดวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจ และการดำเนินงานขององค์กรผู้ใช้น้ำ หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ รวมทั้งเหตุแห่งการเลิกการดำเนินงานขององค์กรผู้ใช้น้ำ
5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดค่าทดแทนแก่บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ต้องสูญเสียน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าทดแทนแก่บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ที่ต้องสูญเสียน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง โดยกำหนดวิธีการตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้สูญเสียน้ำต้องสูญเสียไปเพื่อการกำหนดค่าทดแทน กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้สูญเสียน้ำ ซึ่งประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้แทนจากภาคเอกชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่ได้มีการเฉลี่ยน้ำ กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทน และกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนการสูญเสียน้ำ โดยให้ใช้เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
6. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการชดเชยความเสียหายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างจากการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปในที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของบุคคล เพื่อทำการสำรวจ ตรวจสอบ หรือเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งทำลายสิ่งกีดขวาง ตัดฟันต้นไม้ขุดดิน ปิดกั้นแนวเขตที่ดิน รื้อถอนสิ่งก่อสร้างซึ่งมิใช่เป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของบุคคล หรือดำเนินการอื่นใดเท่าที่จำเป็นแก่การป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมได้ โดยกำหนดให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าชดเชยความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ซึ่งประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้แทนจากภาคเอกชนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ทรัพย์สินของผู้เสียหายตั้งอยู่ และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดค่าชดเชยความเสียหาย และกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย โดยให้ใช้เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
7. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าทดแทนการใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง และชดเชยความเสียหายแก่ทรัพย์สินของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างจากการใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำท่วม พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าทดแทนการใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง และชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของบุคคลใด ๆ เพื่อก่อสร้าง วางสิ่งของ สูบน้ำหรือระบายน้ำผ่านหรือเข้าไปในที่ดิน หรือติดตั้งอุปกรณ์ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม โดยกำหนดให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ที่ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของผู้เสียหายตั้งอยู่ และผู้แทนจากภาคเอกชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของผู้เสียหายตั้งอยู่ และกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย โดยให้ใช้เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
8. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสั่งให้บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ต้องเฉลี่ยน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสั่งให้บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ต้องเฉลี่ยน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในเขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงและเพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงน้ำในพื้นที่เขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง โดยกำหนดให้ในพื้นที่ที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจสำรวจตรวจสอบแหล่งกักเก็บน้ำ ปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำและจำนวนผู้เดือดร้อน หรือเข้าไปในที่ดินของบุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้เพื่อสำรวจตรวจสอบแหล่งกักเก็บน้ำ และปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำโดยต้องดำเนินการเท่าที่จำเป็น
9. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายไปวางต่อศาล หรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน และวิธีการรับเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน และวิธีการรับเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบจ่ายให้ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 60 วรรคสอง มาตรา 66 วรรคสาม หรือมาตรา 76 วรรคสาม แล้วแต่กรณี ไม่ยินยอมตกลงในจำนวนเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย หรือพ้นกำหนดเวลาการติดต่อรับเงินดังกล่าวแล้ว
10. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัว พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกบัตร วิธีการขอบัตร แบบบัตร และ            อายุของบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
11. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเปรียบเทียบปรับในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 87 มาตรา 88 มาตรา 89 มาตรา 91 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำฯ ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ

 

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. ….

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 

กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน หรืออยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจ – สังคม

7. เรื่อง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ในวงเงินลงทุนรวม 2,265.99 ล้านบาท

  2. อนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนประจำปี 2562 สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 643.09 ล้านบาท

  3. เห็นชอบให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและเร่งรัดการพิจารณาในขั้นตอนการขออนุญาต ขออนุมัติ และขอความเห็นชอบให้ กฟผ. เข้าดำเนินกิจการใด ๆ ของโครงการโรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามที่กำหนดในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018)

สาระสำคัญของเรื่อง     

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ในพื้นที่เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ติดตั้งทั้งหมด 450 ไร่ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณ 87.53 ล้านหน่วยต่อปี มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเดือนธันวาคม 2563 โดยจะบริหารจัดการร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต 36 เมกะวัตต์ เป็นการผสมผสานระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ วงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,265.99 ล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศ 1,537.74 ล้านบาท และเงินบาท 728.25 ล้านบาท ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะพิจารณาฐานะการเงิน สภาวะตลาดเงินตลาดทุน วิธีการกู้เงินและเงื่อนไขที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยจะพิจารณาแหล่งเงินทุนจากเงินรายได้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและจากการออกพันธบัตรหรือการกู้เงินจากสถาบันการเงินตามความเหมาะสม ทั้งนี้ โครงการฯ ได้บรรจุไว้ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 เมษายน 2562) เห็นชอบแล้ว

8. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง การพัฒนาระบบการสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้

  1. รับทราบการพัฒนาระบบการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
  2. ให้ สำนักงาน ก.พ. หารือร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กำกับของฝ่ายบริหาร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงความจำเป็น เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามประเด็นต่างๆ ให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปในประเด็น ดังนี้ (1) การนำหลักสูตรการสอบและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก. ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ไปปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอบและการตัดสินการสอบผ่านฯ ของหน่วยงานตนเอง เพื่อให้แนวทางในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นมาตรฐานเดียวกัน และ (2) การนำหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ไปใช้แทนผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของหน่วยงานตนเองได้  ทั้งนี้ ให้นำความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาร่วมด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (การสอบภาค ก.) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ทั้งนี้ สามารถสรุปผลการดำเนินการ รวมทั้งหลักสูตรและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ได้ดังนี้

หัวข้อ รายละเอียด
รูปแบบการดำเนินการจัดการสอบภาค ก.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

– การดำเนินการสอบภาค ก. ประจำปีงบประมาณ จะเปิดรับสมัครสอบช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมและดำเนินการจัดสอบในเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคมตามศูนย์สอบทั่วประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

– การดำเนินการสอบภาค ก. ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  จะเปิดรับสมัครสอบเฉพาะระดับปริญญาตรีและปริญญาโทตลอดทั้งปี โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2561 มีจำนวนผู้สมัครสอบรวมทั้งสิ้น 3,840 คน มีผู้มาสอบ 3,059 คน มีผู้สอบผ่าน จำนวน 367 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ของผู้เข้าสอบ

– การดำเนินการสอบภาค ก. สำหรับส่วนราชการ เป็นการจัดสอบภาค ก. ให้แก่ผู้สอบที่สอบผ่านการสอบภาค ข. หรือการสอบภาค ค. เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการของส่วนราชการต่าง ๆ

– หลักสูตรและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.

 

หลักสูตรการสอบภาค ก. เกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.
– วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้แก่

(1) การวิเคราะห์เชิงภาษา เช่น การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย

(2) การวิเคราะห์เชิงนามธรรม  เช่น การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ  การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ และ (3) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ  เช่น การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น

– วิชาภาษาอังกฤษ

 

– วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

– ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีและไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ในระดับปริญญาโท

 

 

 

 

 

 

 

 

– ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในทุกระดับ/ใช้ผลคะแนนภาษาอังกฤษอื่นแทนได้

– ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในทุกระดับ

 

สถิติจำนวนผู้สมัครสอบและผู้สอบผ่าน การดำเนินการสอบภาค ก. ที่สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบทั้งหมดในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบจำนวนประมาณ 500,000 – 600,000 คน โดยจากข้อมูลสถิติผู้สอบผ่านการสอบภาค ก. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537  – 2561 พบว่า มีผู้มีที่ได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านทั้งหมด  จำนวน 572,860 คน แบ่งเป็น

– ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 16,852 คน

– ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) / ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)/อนุปริญญา จำนวน 86,842 คน

– ระดับปริญญาตรี จำนวน 446,666 คน

– ระดับปริญญาโท จำนวน 22,500 คน

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงสำนักงาน ก.ก. ได้ทำความตกลงร่วมกับสำนักงาน ก.พ. ในการนำหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ไปใช้ในการสมัครสอบภาค ข. ของหน่วยงานด้วยแล้ว

แนวทางการใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน การสอบภาค ก. ผู้ที่สอบผ่านการสอบภาค ก. จะได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่าน โดยผู้สอบผ่านสามารถนำหนังสือรับรองผลฯ ไปใช้ในขั้นตอนของการสอบภาค ข. และการสอบภาค ค. ซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการต่อไป
ประโยชน์ การนำหนังสือรับรองผลฯ ไปใช้กับหน่วยงานรัฐประเภทอื่นจะสามารถทำให้ประหยัดงบประมาณในการดำเนินการสอบ  และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ไม่ต้องสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปหลายครั้ง

 

9. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายไปพลางก่อน ของสำนักงานสภาเกษตรแห่งชาติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานสภาเกษตรแห่งชาติ (สกช.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 180.807 ล้านบาท ไปพลางก่อน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามกิจกรรมและรายการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ยังไม่ประกาศใช้บังคับ โดยให้นำหักออกจากงบประมาณของ สกช. เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้บังคับแล้วต่อไป

10. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2562) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (กระทรวงการคลัง)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอรายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2562) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ภาวะเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ลดลงจากช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 โดยสาเหตุมาจากการส่งออกสินค้าหดตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญและปริมาณการค้าโลก และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและรายจ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยกำลังซื้อของครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2561 สำหรับการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงเนื่องจากแนวโน้มการส่งออกและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐโดยรวมขยายตัวและมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงตามราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าเช่าบ้าน ขณะที่อัตราการว่างงานยังทรงตัวในระดับต่ำ สำหรับเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องและสามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกินดุล สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ในระดับต่ำ และสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น สถานการณ์การเมืองในประเทศมีเสถียรภาพ

2. การดำเนินงานของ ธปท. โดยมีการจัดทำแนวทางการดำเนินงานและประเมินผล 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (2) ด้านสถาบันการเงิน และ (3) ด้านนโยบายระบบการชำระเงิน สรุปได้ ดังนี้

ด้าน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล
(1) นโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเงิน : คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) (กำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5) ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาเป้าหมายเป็นหลักควบคู่กับการดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 กนง. ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน : ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 กนง. ติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไปจนกระทบต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวจากเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร กนง. จึงสนับสนุนให้ ธปท. เตรียมมาตรการต่าง ๆ  สำหรับดูแลการไหลเข้าของเงินทุนในระยะสั้น รวมถึงผ่อนคลายกฎเกณฑ์เงินทุนเคลื่อนย้ายด้านขาออกอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้เอกชนบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ กนง. ได้ติดตามพัฒนาการและประเมินความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินอย่างต่อเนื่องด้วย

(2) สถาบันการเงิน 1. การติดตามและประเมินความเสี่ยงที่มีต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ธปท. พบว่า ภาพรวมของระบบการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ แต่ยังคงมีความเสี่ยงบางจุดที่อาจสร้างความเปราะบางต่อระบบการเงินในอนาคต ได้แก่ หนี้ครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง มาตรฐานสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่ธนาคารลดลง ความเสี่ยงอุปทานคงค้างในตลาดอสังหาริมทรัพย์ พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น และสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

2. การออกนโยบายกำกับสถาบันการเงิน ได้แก่ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อส่วนบุคคลให้ครอบคลุมถึงสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (สามารถช่วยลูกหนี้ให้ปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จรวม 1,547 ราย              มีลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้น 35 ราย) ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้บริการทางการเงิน ขยายขอบเขตการกำกับดูแลด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทำความรู้จักลูกค้าและการแลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแลสถาบันการเงินระหว่างธนาคารกลางในภูมิภาค

3. การดำเนินนโยบายสถาบันการเงินในเวทีระหว่างประเทศ ธปท. ได้เจรจาเปิดเสรีภาคทางการเงิน โดยเจรจาเกี่ยวกับการจัดตั้ง Qualified ASEAN Banks (QABs) ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

4. การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้แก่ การสนับสนุนบริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและสนับสนุนการธนาคารที่ยั่งยืน

5. ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีเสถียรภาพ โดยเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์

 

ชะลอตัว สินเชื่ออุปโภคเติบโตเล็กน้อย คุณภาพสินเชื่อมีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาพรวมทรงตัว

(3) นโยบายระบบการชำระเงิน 1. โครงการระบบพร้อมเพย์ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562) มียอดการลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 48.8 ล้านเลขหมาย โดยมีปริมาณธุรกรรมโอนเงิน 2.2 พันล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 11.3 ล้านล้านบาท

2. การดำเนินการตามกรอบการพัฒนา 5 ด้าน ของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 ธปท. ได้จัดทำและเผยแพร่แผนกลยุทธ์ดังกล่าว ซึ่งมีเป้าหมายให้ Digital Payment เป็นทางเลือกหลักในการชำระเงิน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่เชื่อมโยงกัน เช่น การใช้มาตรฐาน Thai Standard QR Code สำหรับการชำระเงินและโอนเงิน (2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการการชำระเงิน เช่น ผลักดันการพัฒนาบริการชำระเงิน/โอนเงินระหว่างประเทศด้วย Interoperable QR Code (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ประชาชนทั่วไปผ่านสื่อต่าง ๆ (4) การกำกับดูแลและการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ กำกับดูแลระบบการชำระเงินของไทยตามมาตรฐานสากล (IMF และ World Bank) และออกประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินและบริการการชำระเงินตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้พระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 และ (5) การพัฒนาข้อมูลการชำระเงิน โดยอยู่ระหว่างการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการข้อมูลการชำระเงิน

 

11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2562 (กระทรวงการคลัง)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 28/7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. เป้าหมายนโยบายการเงิน

                       กนง. ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 ซึ่งเป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2562 ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาเป็นเป้าหมายหลักควบคู่กับ            การดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ

                   2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม

                       2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม       

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ลดลงจากช่วงครึ่งหลังปี 2561 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 โดยสาเหตุมาจากการส่งออกสินค้าและบริการหดตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญและปริมาณการค้าโลกและจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและรายจ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลง อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มเอเชียไม่รวมจีนยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยกำลังซื้อของครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยจากภาครัฐ สำหรับการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงเนื่องจากแนวโน้มการส่งออกและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐโดยรวมขยายตัวและมีส่วนช่วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 โดยประเมินจากปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนเติบโตชะลอลงจากปีก่อนตามแนวโน้มการส่งออกสินค้าและความเชื่อมั่นในระยะข้างหน้าที่ปรับลดลง ด้านการใช้จ่ายภาครัฐมีส่วนช่วยเศรษฐกิจลดลงจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ล่าช้า

                       2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ลดลงจากปีก่อนที่ ร้อยละ 1.1 โดยสาเหตุเกิดจากราคาพลังงานที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 0.7 โดยสาเหตุเกิดจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลุ่มอาหารที่ปรับลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลุ่มที่ไม่ใช่อาหารปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการปรับขึ้นค่าโดยสารสาธารณะเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จากผลสำรวจผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระยะสั้นอาจปรับสูงขึ้น

การคาดการณ์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2562 และ 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 เท่ากัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2562 และ 2563 คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มต่ำกว่าในอดีต สาเหตุเกิดจากการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ที่ทำให้การแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ตลอดจนการเข้าสู่สังคมสูงวัยที่อาจทำให้การบริโภคชะลอลง

2.3 เสถียรภาพระบบการเงิน

                        สถาบันการเงินมีฐานะการเงินที่เข้มแข็งสะท้อนจากเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินสำรองสำหรับรองรับการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อร้อยละ 195.0 ของเงินสำรองพึงกันและมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ร้อยละ 18.2 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดที่ร้อยละ 11 โดยเกณฑ์ดังกล่าวได้รวมอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation Buffer) แล้ว รวมถึงธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนในระดับสูงเช่นกัน สำหรับเสถียรภาพภาคต่างประเทศของไทยเข้มแข็งและอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี กนง. และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ได้ติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบทางการเงินใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากสินเชื่อหมวดรถยนต์และที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น (2) ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่เกณฑ์มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value: LTV) มีผลบังคับใช้ จำนวนบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ปรับลดลงและมีความเสี่ยงจากอุปทานคงค้างยังมีอยู่  เนื่องจากอุปสงค์ต่างชาติโดยเฉพาะจีนมีสัญญาณชะลอลง และ (3) พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นที่มีอยู่ต่อเนื่องในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานและอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร โดยเฉพาะสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบมากขึ้น

3. การดำเนินนโยบายการเงิน

                      กนง. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายการเงิน 4 ด้าน ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ย (2) อัตราแลกเปลี่ยน (3) การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และ (4) การสื่อสารนโยบายการเงิน สรุปได้ ดังนี้

          ด้าน การดำเนินการ
(1) อัตราดอกเบี้ย กนง. ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สนับสนุนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน
(2) อัตราแลกเปลี่ยน กนง. ได้ติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไปจนกระทบต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร และให้ ธปท. เตรียมมาตรการต่าง ๆ สำหรับดูแลการไหลเข้าของเงินทุนในระยะสั้น รวมถึงผ่อนคลายกฎเกณฑ์เงินทุนเคลื่อนย้ายด้านขาออกอย่างต่อเนื่อง
(3) การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ได้ประเมินและสนับสนุนให้ ธปท. ดำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน ได้แก่ (1) ออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน รวมถึงร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการศึกษาและจัดทำแนวนโยบายการให้สินเชื่ออย่างเหมาะสม และกำหนดมาตรฐานกลางในการคำนวณภาระผ่อนชำระหนี้เทียบกับรายได้ (2) ออกมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยลดการสะสมความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ (3) กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อเร่งผลักดันเกณฑ์การกำกับดูแลที่สำคัญ เช่น ด้านเครดิต สภาพคล่อง และการก่อหนี้ของลูกหนี้ ให้ออกบังคับใช้โดยเร็ว รวมถึงดูแลความเสี่ยงเชิงระบบเพิ่มเติมในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่บางกลุ่มที่ระดมทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
(4) การสื่อสารนโยบายการเงิน

 

กนง. ใช้วิธีการจัดประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) เพื่อนำเสนอแนวโน้มเศรษฐกิจและแนวนโยบายการเงิน โดยมีประธานและรองประธาน กนง. ให้ความเห็นและตอบคำถามของนักวิเคราะห์ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของ ธปท.

4. ประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่ กนง. ให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบายการเงิน

                       การให้ความยืดหยุ่นกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ เช่น มองเป้าหมายในระยะปานกลางและมองไปข้างหน้า (Forward-looking) มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นโยบายการเงินสามารถให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านอื่นๆ ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพระบบการเงินได้มากขึ้น

12. เรื่อง รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 และ 10 กันยายน 2562

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ ดังนี้

  1. ความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 และ10 กันยายน 2562

  2. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและอุทกภัยภาคใต้

  3. เห็นชอบต่อมาตรการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งปี 2562/63 และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ปี 2562 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเพื่อลดผลกระทบความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

สาระสำคัญ

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงขอรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และการเกษตรในปี 2562/2563 ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ (ยกเว้นภาคใต้) ฤดูแล้งปี 2562/63จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 และมาตรการรองรับ และในช่วงนี้เป็นฤดูฝนของภาคใต้จึงได้มีการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2562 และมาตรการรองรับ เพื่อกำหนดแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น    กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สรุปได้ดังนี้

1. ความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี

ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2562 เกิดพายุโพดุลและคาจิกิ ส่งผลให้มีการกักเก็บน้ำเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมและเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 7,785 ล้านลูกบาศก์เมตร (จากเดิม 44,583 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 52,368 ล้านลูกบาศก์เมตร) แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 2,254 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคกลาง 392 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,784 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 275 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันตก 1,933 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคใต้ 147 ล้านลูกบาศก์เมตร และแหล่งน้ำขนาดใหญ่และกลางทั้งประเทศที่เคยมีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุ จากเดิมที่มีจำนวน 146 แห่ง ลดลงจำนวน 75 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล จำนวน 46 แห่ง

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งได้รับอิทธิพลพายุทั้ง 2 ลูก และส่งผลกระทบโดยตรงบริเวณลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น 2,485 ล้านลูกบาศก์เมตร (จากเดิม 4,089 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 6,574 ล้านลูกบาศก์เมตร) นอกจากนี้ ยังได้มีการเก็บน้ำในลำน้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา โดยการใช้เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ฝาย เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เสนอมาตรการรองรับให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 และจะรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะต่อไป

2. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ปี 2562/63 และมาตรการรองรับ

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์น้ำ โดยได้สรุปการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งปี 2562/63 (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562) พร้อมมาตรการรองรับสถานการณ์ สรุปได้ดังนี้

1) ด้านการอุปโภคบริโภค มีการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจากพื้นที่สาขาให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 42 สาขา 22 จังหวัด 56 อำเภอ จำนวนผู้ใช้น้ำ 717,765 ราย ทั้งนี้ การประปาส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำแผนและมาตรการรองรับไว้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีปริมาณฝนสะสมน้อย ไม่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทาน และไม่มีแหล่งเก็บน้ำสำรอง อาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในแต่ละท้องถิ่น จำนวน 38 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 16 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคตะวันตก 2 จังหวัด จึงต้องมีการจัดทำแผนและมาตรการสำรองน้ำล่วงหน้า

2) ด้านการเกษตร มีการคาดการณ์มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในเขตชลประทาน ที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น (1) พื้นที่ที่ไม่มีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะสนับสนุนการเพาะปลูก จำนวน 5 แห่ง (8 จังหวัด) (2) พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการเกษตรต่อเนื่อง (พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืน) จำนวน 9 แห่ง (28 จังหวัด) (3) พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการเกษตรนาข้าวรอบที่ 2 บางพื้นที่ จำนวน 11 แห่ง (13 จังหวัด) และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุ ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร จำนวน 50 แห่ง ส่วนพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำนอกเขตชลประทาน 20 จังหวัด 54 อำเภอ 109 ตำบล ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 จังหวัด และภาคกลาง จำนวน 3 จังหวัด ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับทราบข้อมูลปริมาณน้ำที่สามารถจัดสรรได้ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาวางแผนการเพาะปลูกพืช ฤดูแล้งปี 2562/63 ให้เหมาะสมต่อไปด้วยแล้ว

3) มาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง เห็นสมควรมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

(1) ด้านน้ำต้นทุน (Supply)

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนสำรองน้ำ/แหล่งน้ำสำรอง/ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ รวมถึงดึงน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียง

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดปริมาณน้ำจัดสรรในฤดูแล้งให้ชัดเจนและแจ้งให้รับทราบแผน

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำทะเบียนผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำเพื่อตรวจสอบข้อมูลแหล่งน้ำและเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

(2) ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand)

เพื่อการอุปโภคบริโภค

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ตอนบน ให้เป็นไปตามแผน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคของพื้นที่ตอนล่าง

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควบคุมการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ให้เป็นไปตามแผน เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำด้านอุปโภคบริโภค

เพื่อรักษาระบบนิเวศ

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคุมการปล่อยน้ำเสีย

จากภาคอุตสาหกรรม และชุมชน ลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่สถานีสูบน้ำดิบสำแลของการประปานครหลวงอย่างใกล้ชิด

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควบคุมและขึ้นทะเบียนการเลี้ยงปลากระชัง  ในแหล่งน้ำและลำน้ำ

  • กระทรวงคมนาคม สำรวจ ตรวจสอบ ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำในพื้นที่

อ่อนไหวต่อการทรุดตัวของคันคลองเนื่องจากระดับน้ำลดต่ำกว่าปกติ

เพื่อการเกษตร

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จัดทำทะเบียนผู้ปลูกพืช โดยระบุพื้นที่เพาะปลูก และแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน

(3) การติดตามประเมินผล

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ติดตาม ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และกิจกรรมการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ติดตาม เฝ้าระวัง และรายงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ

(4) การเตรียมการและสร้างการรับรู้ โดยประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้หน่วยงาน คณะกรรมการลุ่มน้ำ และประชาชนทราบ

3. คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้และมาตรการรองรับ

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย น้ำล้นตลิ่ง และน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายนปี 2562 พร้อมมาตรการรองรับสถานการณ์ สรุปได้ดังนี้

1) พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ประกอบด้วย

(1) เดือนตุลาคม 2562 มีพื้นที่เสี่ยง 9 จังหวัด 61 อำเภอ 3๐ ลำน้ำ

(2) เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2562 มีพื้นที่เสี่ยง 7 จังหวัด 37 อำเภอ 13

ลำน้ำ

2) มาตรการรองรับสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้

(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตรวจสอบสภาพอาคารบังคับน้ำ ระบบการระบายน้ำ สถานีโทรมาตร ให้มีความพร้อมใช้งาน

(2) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมจัดทำแผนการบริหารจัดการ น้ำหลากโดยใช้เกณฑ์ปฏิบัติการ (Rule Curve) ที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพื่อช่วยป้องกันและลดผลกระทบน้ำท่วม

(3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย สำรวจ แหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติ พร้อมทั้งจัดทำแผนการบริหาร จัดการน้ำหลาก สำหรับเตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนและแผนการป้องกัน รับมือ และเผชิญเหตุอุทกภัย

(4) กระทรวงมหาดไทย เตรียมความพร้อม วางแผน เครื่องจักร เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เครื่องมือ  บริเวณพื้นที่ใกล้เคียง มาสนับสนุนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

(5) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน

13. เรื่อง การพิจารณากำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ในปี 2562

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้

  1. กำหนดให้วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2562 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ อีก 1 วัน ในปี 2562

  2. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันดังกล่าวโดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและประชาชน

  3. ส่วนรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงาน พิจารณาความเหมาะสมให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดให้วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2562 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ในปี 2562 เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสนับสนุนภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในช่วงเวลาดังกล่าว

14. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ  ดังนี้

  1. เห็นชอบให้ ยธ.  ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

  2. เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) [ร่างแผนปฏิบัติการฯ] โดยหากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ยธ. ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบในภายหลัง

  3. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในร่างแผนปฏิบัติการฯ ดำเนินการให้บรรลุผลตามแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

  1. กระทรวงยุติธรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) [ร่างแผนปฏิบัติการฯ] และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในร่างแผนปฏิบัติการฯ ดำเนินการให้บรรลุตามแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป ซึ่งร่างแผนปฏิบัติการฯ จัดทำขึ้นตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐาน 3 เสาหลัก ได้แก่ (1) การคุ้มครอง (Protect) (2) การเคารพ (Respect) และ (3) การเยียวยา (Remedy) ทั้งนี้ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการฯ ของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำหนดแนวทาง จัดทำ ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2562 – 2565) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น กิจกรรม ตัดชี้วัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1) แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน เช่น
1) การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน/ทำงาน ส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานให้กับคนพิการในสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ  โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการกับคนพิการพร้อมทั้งมีระบบคัดกรองความสามารถคนพิการเพื่อจัดหางานให้อย่างเหมาะสม เชิงปริมาณ

– คนพิการมีงานทำ จำนวน 1,750 คน

เชิงคุณภาพ

– คนพิการมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ 62

– คนพิการมีงานทำในหน่วยงานภาครัฐ 88 คน

– ส่งเสริมให้คนพิการทำงานในหน่วยงานรัฐในอัตราส่วนตามที่กฎหมายกำหนด 100:1

– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

– กระทรวงแรงงาน

2) การปฎิบัติตามกฎหมายแรงงานมาตรฐานแรงงานและหลักการสิทธิมนุษยชน ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจต้องดำเนินการตามมาตรฐานแรงงานไทย เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานอย่างเคร่งครัด

(*ไม่มีการระบุตัวชี้วัดสำหรับภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ)

– ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3) การเยียวยา กำหนดให้มีกลไกเยียวยาทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ การเยียวยาควรสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ – จำนวนสิทธิประโยชน์หรือหลักเกณฑ์ที่ได้มีการทบทวนหรือปรับปรุง – กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

– กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)

2) ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
1) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special  Economic Zone : SEZ) พิจารณาจัดทำแนวทาง/มาตรการกำกับให้ผู้ปฏิบัติงานใน SEZ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  (Eastern Economic Corridor : EEC)    ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดเรื่องธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติของบรรษัท  โดยความมุ่งมั่นในการนำหลักการ UNGPs ไปใช้ควรจะปรากฏอยู่ในวิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวด้วย มีแนวทาง/มาตรการกำกับให้ SEZ  รวมถึง EEC  ปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดเรื่อง            ธรรมาภิบาล และ UNGPs – สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

– กระทรวงพาณิชย์

– กระทรวงอุตสาหกรรม

– มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง)

2) การจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment Report : EIA) ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจควรดำเนินการประเมิน EIA  และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ  ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมาย/ระเบียบ/มาตรการที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3) ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น
1) การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กำหนดหรือทบทวนนโยบาย กลไก   กระบวนการ มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิง  เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย และอบรม ส่งเสริมให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปฏิบัติได้จริง – มีการกำหนด ทบทวน หรือปรับปรุงนโยบายกลไก  กระบวนการ หรือ มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิง

– อบรมนโยบาย กลไก กระบวนการหรือมาตรการฯ ให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย

– ยธ.

– สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

– สำนักงานอัยการสูงสุด

2) การจัดทำมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจควรเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
4) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ เช่น
1) การปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐาน และหลักการสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎระเบียบ มาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  การกำกับดูแลธุรกิจและการลงทุนทั้งของประเทศไทยในกรณีที่ลงทุนในประเทศไทยและของประเทศที่ทำการลงทุนในกรณีการลงทุนระหว่างประเทศ ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
2) การช่วยเหลือทางการเงิน/ เยียวยา พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบทั้งในด้านอาชีพ  วิถีชีวิต  สังคม วัฒนธรรม  สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ มีการประชุมเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ต่างประเทศ

15. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับคณะกรรมการบริหารงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ดังนี้

  1. ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) จัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับคณะกรรมการบริหารงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Letter of Intent on Cooperation in Science, Technology and Industry for Defence between the Ministry of Defence of the Kingdom of Thailand and the State Administration of Science, Technology and Industry for National Defence of the People’s Republic of China)

  2. ให้ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ให้ กห. พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม (จะมีการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2562 ณ ประเทศไทย)

          สาระสำคัญของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมและร่วมมือกันเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และขยายความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างกันภายใต้กรอบของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของแต่ละประเทศ และพันธสัญญาที่ทั้งสองประเทศได้ทำร่วมกัน โดยรูปแบบของความร่วมมือ เช่น ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศและข้อมูลทางเทคนิค และผลงานวิจัยพัฒนาการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เทคนิค การจัดสัมมนา การประชุม และการฝึกอบรมร่วมกัน

ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่าย ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารที่จะนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศในอนาคต

16. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการและนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ)

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว  ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

  1. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) ให้แก่ ผู้ลงนามในข้อ 2

(คาดว่าจะมีการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในช่วงการเยือนของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2562 )

สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมบนหลักของการต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ข้อริเริ่มเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยมีความร่วมมือ 11 สาขา ได้แก่ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) เทคโนโลยีการเกษตร 3) เทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4) เทคโนโลยีพลังงาน 5) เทคโนโลยีวัสดุและการผลิต 6) เทคโนโลยียานยนต์และรถไฟความเร็วสูง 7) เทคโนโลยีการบินและอวกาศ 8) นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม 9) การถ่ายทอดเทคโนโลยี 10) โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีพรสวรรค์ และ 11) สาขาอื่น ๆ ซึ่งอาจเห็นพ้องร่วมกัน รวมทั้งขอบเขตความร่วมมือครอบคลุม 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) การวิจัยและพัฒนาร่วม 2) การแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ ผู้ชำนาญการ และนักวิจัย 3) การแลกเปลี่ยนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และประสบการณ์ความเป็นผู้ประกอบการ 4) การประชุมทางวิชาการ หลักสูตร การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา การฝึกอบรม การฝึกงานวิจัยและการดูงานของกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน และ 5) รูปแบบอื่นๆ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตัดสินร่วมกัน

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยหรือผู้แทนที่ได้มอบหมายและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้

17. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 ฉบับ (ตามข้อ 1–3) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผล เพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารที่ผู้นำจะรับรอง จำนวน 13 ฉบับ (ตามข้อ 1 ) รวมทั้งออกแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน จำนวน 8 ฉบับ (ตามข้อ 2 ) ในฐานะประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างตราสารขยายจำนวนอัครภาคีในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตามข้อ 3 ) หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมิได้เป็นผู้ลงนามในตราสารฯ อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) ให้กับผู้แทนเพื่อลงนามในตราสารฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กต. รายงานว่า

ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน ปี 2562 มีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2562 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมฯ จำนวน 22 ฉบับ ดังนี้

1. เอกสารที่ผู้นำจะรับรอง (to be adopted) จำนวน 13 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ในสื่อออนไลน์ในอาเซียน (2) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิของเด็กในบริบทของการโยกย้ายถิ่นฐาน (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการยืนยันคำมั่นในความก้าวหน้าการดำเนินงานสิทธิเด็กในอาเซียน (4) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงและการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน [สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)] (5) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน – จีน ว่าด้วยข้อริเริ่มความร่วมมือด้านเมืองอัจฉริยะ (6) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน – จีนว่าด้วยการสอดประสานแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 กับข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (7) ร่างแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศและแนวทางที่ไม่มีข้อผูกมัดสำหรับการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลในทะเลจีนใต้ (8) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนบวกสามว่าด้วยข้อริเริ่มการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง (9) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน – สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน (10) ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดผิดกฎหมาย (11) ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (12) ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน (13) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ว่าด้วยความเชื่อมโยง

2. เอกสารที่ต้องออกแถลงการณ์ของประธานการประชุมฯ (to be issued) จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (2) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน – จีน ครั้งที่ 22 (3) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน – อินเดีย ครั้งที่ 16 (4) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหประชาชาติ ครั้งที่ 10 (5) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22 (6) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7 (7) ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 14 (8) ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22

3. เอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศจะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างตราสารขยายจำนวนอัครภาคีในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

18. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาความร่วมมือด้านการป่าไม้เพื่อความผาสุกและความเจริญมั่งคั่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความร่วมมือด้านการป่าไม้เพื่อความผาสุกและความเจริญมั่งคั่ง (Declaration on Forest Cooperation for Peace and Prosperity) และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาดังกล่าว ที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

สาระสำคัญร่างปฏิญญาฯ เป็นการเน้นย้ำและให้คำมั่นระหว่างกันว่าจะร่วมมือกันในการดำเนินการด้านการป่าไม้ของอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี โดยมุ่งดำเนินการ 1) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการป่าไม้ 2) สนับสนุนการป้องกันพิบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับป่าไม้ 3) สนับสนุนโครงการความร่วมมือด้านการป่าไม้สำหรับแนวชายแดนพื้นที่รอยต่อ ซึ่งต้องการการบริหารจัดการที่เหมาะสม 4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการบริหารจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 5) สนับสนุนการจัดตั้งสวนสาธารณะอาเซียน – เกาหลีใต้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือ และ 6) ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรความร่วมมือด้านการป่าไม้แห่งเอเชีย โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาฯ แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ จะต้องได้รับการรับรองในการประชุม The ASEAN – Republic of Korea (ROK) High – Level Meeting on Forestry 2019 ในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

19. เรื่อง การรับรองแผนแม่บทและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อแผนแม่บทและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองแผนแม่บทฯ ร่วมกับรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ

                   สาระสำคัญ

  1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทและแนวทางการ

พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน ซึ่งจะช่วยพัฒนาเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ อาทิ วัฒนธรรม ศิลปะ การท่องเที่ยวและอาหาร รวมถึงเยาวชนรุ่นใหม่ ทุกเพศ  ทุกวัยในการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านศาสตร์ด้านอาหาร เช่น รูปแบบอาหาร เรื่องราวของอาหาร ของที่ระลึกที่มาจากอาหาร เป็นต้น โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่นของประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว (ภาครัฐและภาคเอกชน) เยาวชน เซฟ และเกษตรกร เป็นต้น โดยเครือข่ายดังกล่าว จะทำงานร่วมกับสถาบันการท่องเที่ยวเชิงอาหารวัฒนธรรมและศิลปะ (International  Institute of Gastronomy, Culture, Arts and Tourism : IGCAT) แห่งสหภาพยุโรป ในการเพิ่มคุณค่าห่วงโซ่อาหารและยกระดับไปสู่สากล โดยการออกแบบ รูปแบบ (Platfrom) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน การแบ่งปันองค์ความรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการริเริ่มนำนวัตกรรมและวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อาหาร มรดกทางวัฒนธรรม สินทรัพย์ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อแสดงให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน และยังเป็นเครื่องมือในการสร้าง “gastro-diplomacy” (ทูตด้านอาหาร) และการสร้างแบรนด์ไปสู่การแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน

  1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รายงานการดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทและ

แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียนให้แก่ประเทศสมาชิกทราบเป็นระยะๆ รวมทั้งได้แจ้งวียนประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อขอความเห็นต่อร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าว และจากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 50 เมื่อวันที่ 7 – 13 กรกฎาคม 2562 ณ เมืองเสียมเรียบ  ราชอาณาจักรกัมพูชา   ได้ให้การรับรองแผนแม่บทฯ ดังกล่าว

  1. แผนแม่บทและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอาเซียน ประกอบด้วย เนื้อหาหลัก

ดังนี้ (1) นิยามและองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เช่น การผลิตอาหารอย่างเพียงพอและคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค  การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม  การร่วมมือกับภาคการศึกษาเพื่อให้ความรู้และปลูกฝังค่านิยมและความเข้าใจเรื่องอาหารที่ดี การนำนวัตกรรมและเทคโนโลนีมาปรับใช้  การสร้างความเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนตลอดจนมุ่งสู่ตลาดโลก (2) การสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารจากหลากหลายสาขา  อาทิ  การเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ศาสตร์และศิลปะเกี่ยวกับอาหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบ (platform)  สำหรับการแบ่งปันความรู้และร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในอาเซียนและเชื่อมโยงสู่ชุมชนท้องถิ่น  และ (3) การสร้างเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร  เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้นำไปคัดเลือกเมืองที่มีความโดดเด่นในการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารและวัฒนธรรมบนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะพิจารณาจากเรื่องราวเฉพาะของเมืองนั้น ๆ จัดรวบรวมเสนอเป็นหนังสือ (Bid Book)  และเมืองที่ชนะการประกวดจะได้รับรางวัล (คล้ายคลึงกับรางวัลมิชลินสตาร์) ซึ่งจะช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น โดยมีร่างโครงการแผนงานที่จะสามารถขับเคลื่อนให้ได้ผลเป็นรูปธรรมต่อไป

20. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการตระหนักถึงเมืองอัจฉริยะและชุมชนในภูมิภาคเอเชียผ่านแนวทางแก้ไขและมาตรการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาฮานอยว่าด้วยการตระหนักถึงเมืองอัจฉริยะและชุมชนในภูมิภาคเอเชียผ่านแนวทางแก้ไขและมาตรการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฮานอยฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกและหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย (Regional Environmentally Sustainable Transport (EST) Forum in Asia) ครั้งที่ 12 รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ องค์กรทวิภาคีและพหุภาคีต่าง ๆ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งที่ยั่งยืน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะและมีความทนทาน รวมถึงพัฒนาการเคลื่อนที่ในเมืองโดยตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและชุมชนในภูมิภาคเอเชีย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ตลอดจนสนับสนุนต่อข้อผูกพันและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ จะมีการรับรองโดยที่ประชุมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 12 ในวันที่ 30 ตุลาคม 2562

21. เรื่อง บันทึกช่วยจำว่าด้วยกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ระยะที่สาม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกช่วยจำว่าด้วยกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ระยะที่สาม (Memorandum on Japan-Thailand Partnership Programme Phase 3 (JTPP3) เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนาม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาสาระสำคัญก่อนการลงนาม ขอให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

  2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในบันทึกช่วยจำว่าด้วยกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ระยะที่สาม (Memorandum on Japan-Thailand Partnership Programme Phase 3 (JTPP3))

สาระสำคัญของร่างบันทึกช่วยจำฯ JTPP3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคที่มีพลังและมีประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของประชาคมอาเซียนที่จะก่อให้เกิดแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ยุทธศาสตร์โตเกียว ค.ศ. 2018 เพื่อความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น และแผนแม่บทยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS)) ระยะ 5 ปี (2562 – 2566) รวมทั้งสนับสนุนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแสวงหาการผสานข้อริเริ่มใหม่ ๆ ที่รวมถึงการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและนโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นต้น โดยมีแผนงานและโครงการความร่วมมือที่ให้แก่ประเทศที่สามทั้งในรูปแบบกิจกรรมที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และการแสวงหาความร่วมมือรูปแบบใหม่ๆ เช่น ข้อริเริ่มแผนงานเพื่อการรวมตัวของอาเซียน การจัดสัมมนา การวิจัยร่วม และการร่วมสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นเป้าหมายสำคัญ

22. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ฯ กับนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้ ในขั้นตอนการเจรจากับฝ่ายจีน ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำของร่างแถลงการณ์ฯ ได้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยไม่ต้องเสนอการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำนั้น ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนอย่างรอบด้าน ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์ในภาพรวม (2) เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว (3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (4) การศึกษา วัฒนธรรมและความเชื่อมโยงระดับประชาชน (5) การเมืองและความมั่นคง และ (6) ความร่วมมือในภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ

23.  เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 22

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 22 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 22 ร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 22 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ

          สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ สนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย ชื่นชมถึงความพยายามต่าง ๆ และความก้าวหน้าที่โดดเด่นต่อการบรรลุและการขับเคลื่อนแผนงานหลักต่าง ๆ ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย และคาดหวังถึงการดำเนินงานในระยะต่อไปและการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามผลลัพธ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนต่าง ๆ ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย

รวมทั้งรับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญสำหรับการพิจารณาของผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ดังนี้

1. เอกสารเพื่อการรับรอง ได้แก่ (1) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (2) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ในสื่อออนไลน์ (3) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิของเด็กในบริบทของการโยกย้ายถิ่นฐาน (4) ปฏิญญาฯ กรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (5) แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการยืนยันคำมั่น ในความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสิทธิเด็กในอาเซียน (6) ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงและการพึ่งตนเองด้านวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน

2. เอกสารเพื่อทราบ ได้แก่ (1) แนวทางและกระบวนการในการตอบสนองต่อความต้องการของเหยื่อการค้ามนุษย์ตามอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (2) แผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (3) ถ้อยแถลงอาเซียน ว่าด้วยการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการเร่งยกระดับภาคราชการพลเรือนในยุคดิจิทัล

24. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 และ (2) ร่างข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030

  2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าว

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ 2 ฉบับ

                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น โดยร่างถ้อยแถลงฯ ให้ความสำคัญกับประเด็น เช่น 1) การติดตามความคืบหน้าของการดำเนินโครงการความร่วมมือภายใต้ยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 เพื่อความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น 2) การขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือให้สอดคล้องกับทิศทางความร่วมมือตาม 3 แนวทาง ได้แก่ (1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และ (3) การดำเนินการตามแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี (ค.ศ. 2019 – 2019) และ 3) การหารือประเด็นภูมิภาคและโลกที่ส่งผลต่อเสถียรภาพ ความมั่นคง และผลประโยชน์ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น

2. ร่างข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เป็นเอกสารที่จะนำมาใช้แทนแผนปฏิบัติการทศวรรษที่มุ่งสู่การเป็นภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสีเขียวซึ่งได้รับการรับรองเมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยร่างข้อริเริ่มฯ ให้ความสำคัญกับประเด็น เช่น 1) การบูรณการการทำงานทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับความท้าทายที่อนุภูมิภาคกำลังเผชิญในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหามลพิษ การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม 2) การแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) แนวทางความร่วมมือระดับภูมิภาค (Region-wide Approach) (2) แนวทางความร่วมมือที่เปิดกว้าง (Open Approach) และ (3) แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Cooperative Approach) 3) การสร้างกลไกติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

25. เรื่อง เอกสารที่จะรับรองในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ 9 ที่สาธารณรัฐโดมินิกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบในหลักการต่อร่าง Santo Domingo Declaration ที่จะรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (Forum for East Asia – Latin America Cooperation: FEALAC) FMM ครั้งที่ 9 ซึ่งมีภาคผนวกคือ Guideline for FEALAC Cooperation Projects และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย หรือต้องรับรองเอกสารดังกล่าวโดยที่มีสาระบางประการต่างจากที่ปรากฏในร่างปฏิญญาฯ ให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมฯ ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

  2. อนุมัติให้นางพรพิมล กาญจนลักษณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม FEALAC FMM ครั้งที่ 9 ในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และร่วมรับรองเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าว

ร่างเอกสาร Santo Domingo Declaration และภาคผนวก ซึ่งประเทศเจ้าภาพได้เวียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณา มีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) ร่าง Santo Domingo Declaration สะท้อนเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิก FEALAC ที่จะร่วมกันกระชับความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอกาสที่ FEALAC ครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งในปี 2562 โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรและการทบทวนแผนปฏิบัติการ FEALAC ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางของการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและแสวงหาแนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพของเวทีความร่วมมือ FEALAC ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการยกระดับให้มีกลไกความร่วมมือระดับการประชุมสุดยอด การส่งเสริมให้คณะทำงานต่าง ๆ หารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น การให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง FEALAC กับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ การส่งเสริมการค้าเสรีและเศรษฐกิจดิจิทัล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมและการเมืองระหว่างภูมิภาค อีกทั้งมีการผนวกข้อความตามข้อเสนอของไทยซึ่งระบุถึงการจัดทำแอปพลิเคชัน Discover Latin America บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ FEALAC ในหมู่สาธารณชนไทย โดยถือเป็นกิจกรรมพิเศษที่ไทยจัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้ง FEALAC

(2) ร่าง Guideline for FEALAC Cooperation Projects กำหนดวัตถุประสงค์หลักการและแนวทางการดำเนินโครงการความร่วมมือภายใต้ FEALAC รวมถึงขั้นตอนการดำเนินโครงการการประเมินและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะทำงานต่าง ๆ  ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของประธานร่วมของคณะทำงาน

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางสาวกัญญารักษ์ ศรีทองรุ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 2 ราย ดังนี้

                   1. นายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ

2. นายสุริยา จินดาวงษ์ อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมอาเซียน ให้ไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายมานพชัย วงศ์ภักดี ซึ่งเกษียณอายุราชการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นางศรีสมร กสิศิลป์ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กปร. (สำนักงาน กปร.)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน กปร. เสนอแต่งตั้ง นางสาวอุศนีย์ ธูปทอง ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ กปร. สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

30. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการ (ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้ทรงคุณวุฒิ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการ (ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้ทรงคุณวุฒิ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน ดังนี้

  1. นาวาอากาศเอก ศักรินทร์ ไชยวาน       ผู้แทนกองทัพอากาศ

  2. นางสาริณี อังศุสิงห์                        ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารกิจการการบินพาณิชย์

  3. นายชนินทร์ แก่นหิรัญ                     ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย

  4. นางอินทิรา โภคปุณยาภรณ์               ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินหรือการคลัง

  5. นางสาวเยาวนุช วิยาภรณ์                 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน จำนวน 7 คน แทนกรรมการเดิมที่ขอลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้

  1. นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ

  2. นายกฤชเทพ สิมลี

  3. นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์

  4. นางสาริณี อังศุสิงห์

  5. นายชยธรรม์ พรหมศร

  6. นายปฐม เฉลยวาเรศ

  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ ในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ ในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการมาตรฐานสินค้า

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการมาตรฐานสินค้า จำนวน 5 คน แทนกรรมการเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้

  1. นายอิทธิพล ช้างหลำ            ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานสินค้า

  2. นายอภิชาติ วรรณวิจิตร         ผู้ทรงคุณวุฒิด้านห้องปฏิบัติการ

  3. นางลัดดาวัลย์ กรรณนุช         ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว

  4. นางภาณุมาศ สิทธิเวคิน         ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย

  5. นางสาวเกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมันสำปะหลัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายอนุชา บูรพชัยศรี ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

35. เรื่อง ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมสอบสวนคดีพิเศษ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม อีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563

36. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายขึ้นใหม่ โดยปรับเปลี่ยนชื่อของคณะกรรมการและชื่อตำแหน่งของกรรมการดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

ตช. รายงานว่า เนื่องจากคณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ยังมีความจำเป็นต้องคงอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายสหรัฐอเมริกาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จึงขอเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยขอเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการจากเดิม “คณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย” เป็น “คณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย โครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งของคณะกรรมการในลำดับที่ 9. จากเดิม “ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ” เป็น “อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ” และ ในลำดับที่ 11. จากเดิม “ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย” เป็น “ผู้อำนวยการบริหาร โครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย” ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อของหน่วยงาน โดยมีรายละเอียดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ดังนี้

คณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย โครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

องค์ประกอบ

  1. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                             ประธานกรรมการ

  2. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                                         กรรมการ

  3. ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                                 กรรมการ

  4. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                          กรรมการ

  5. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                         กรรมการ

  6. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด           กรรมการ

  7. อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ                                         กรรมการ

  8. อธิบดีกรมศุลกากร                                                     กรรมการ

  9. อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ                              กรรมการ

  10. ผู้บัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ                         กรรมการ

  11. ผู้อำนวยการบริหาร โครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย             กรรมการ/เลขานุการ

อำนาจหน้าที่ (คงเดิม) ดังนี้

  1. กำกับดูแลการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายร่วมกับฝ่ายสหรัฐอเมริกา

  2. ประสานความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นๆ ในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

  3. ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกและเสนอแนะบุคลากรฝ่ายไทยที่จะดำรงตำแหน่งต่างๆ ในโครงการความร่วมมือฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

  4. สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และการเบิกจ่ายอื่น ๆ ตามอำนาจหน้าที่ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ที่มา: naewna

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี