ความรู้สำหรับครู

ระเบียบการลา

เรื่องราวว่าด้วย การลา ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ ใกล้ตัวที่บางครั้ง บางคนอาจมองข้ามความสำคัญ แต่จริงแล้วการลาเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและองค์กรของเพื่อนครูอย่างเลี่ยงไม่ได้

เพราะการลาป่วย ลากิจส่วนตัว ซึ่งเป็นการลาที่ส่วนใหญ่พวกเราใช้บริการบ่อยครั้ง มีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเกี่ยวโยงไปถึงการขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ของเพื่อนข้าราชการครูที่รับข้าราชการมาเป็นระยะเวลานาน ๒๕ ปีขึ้นไป

การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ มี ๑๑ ประเภท คือ
๑. การลาป่วย
๒. การลาคลอดบุตร
๓. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
๔. การลากิจส่วนตัว
๕. การลาพักผ่อน
๖. การลาอุปสมบทหรือการไปประกอบพิธีฮัจย์
๗. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
๘. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
๙. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
๑๐. การลาติดตามคู่สมรส
๑๑. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

การลาป่วย

หมายความว่า เป็นการลาหยุดเพื่อรักษาตัวเมื่อมีอาการป่วย

การลาป่วย ; หยุดรักษาตัวเมือมีอาการป่วย
• อำนาจการลา ไม่เกิน 60 วัน (ผอ.รร.สำหรับบุคลากรในโรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่สำหรับผอ.รร. และบุคลากรใน สนง. เขตพื้นที่ฯ)
• อำนาจการลา ไม่เกิน 120 วัน (ผอ.เขตพื้นที่สำหรับทุกตำแหน่งในสังกัด)
หลักเกณฑ์การลา
– ลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่สามสิบวันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์
– การลาป่วยไม่ถึงสามสิบวัน ไม่ว่าจะเป็นครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควรจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้
– มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาป่วยปีหนึ่งได้ ๖๐ – ๑๒๐ วัน
การเสนอหรือจัดส่งใบลา
– ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
– ให้เสนอ หรือจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลาก็ได้ ยกเว้นในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
– กรณีป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
– การลาป่วย แม้จะมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลาป่วยอยู่นั้น ผู้มีอำนาจอนุญาตก็ไม่สามารถเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้เพราะการลาป่วยเป็นเรื่องจำเป็น

ลาคลอดบุตร

การลาคลอดบุตร ; สำหรับสตรีมีครรภ์รวมก่อนคลอดและหลังคลอดด้วย
• อำนาจการลา ไม่เกิน 90 วัน (ผอ.รร.สำหรับบุคลากรในโรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่สำหรับผอ.รร. และบุคลากรใน สนง. เขตพื้นที่ฯ)

ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ; ลาช่วยเหลือภริยาเลี้ยงดูบุตร
• อำนาจการลา ไม่เกิน 15 วันทำการ (ผอ.รร.สำหรับบุคลากรในโรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่สำหรับผอ.รร. และบุคลากรใน สนง. เขตพื้นที่ฯ) ; ภริยาชอบด้วยกฎหมาย

การลากิจส่วนตัว

หมายความว่า เป็นการลาหยุดเพื่อทำธุระ เช่น ลาหยุดเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
การลากิจส่วนตัวอาจแยกได้ ดังนี้
(๑) การลากิจส่วนตัว (ด้วยเหตุอื่น)
(๒) การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

การลากิจส่วนตัว ; ลากิจส่วนตัวทั่วไปและลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
• อำนาจการลา ไม่เกิน 30 วัน (ผอ.รร.สำหรับบุคลากรในโรงเรียน )
• อำนาจการลา ไม่เกิน 45 วัน (ผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับทุกตำแหน่งในสังกัด)
• ข้าราชการที่ได้ลาคลอดบุตร 90 วัน (นับวันหยุดราชการรวม) โดยได้รับเงินเดือนแล้ว มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
หลักเกณฑ์การลากิจส่วนตัวด้วยเหตุอื่น
– มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา เมื่อมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลากิจส่วนตัวอยู่นั้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานก็ได้
หลักเกณฑ์การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
– ข้าราชการที่ได้ลาคลอดบุตร ๙๐ วัน (นับวันหยุดราชการรวมด้วย) โดยได้รับเงินเดือน(ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙)แล้ว มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
– ระหว่างลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร แม้จะมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลาอยู่นั้นผู้มีอำนาจอนุญาตก็ไม่สามารถเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานได้
การเสนอหรือจัดส่งใบลา (ลากิจส่วนตัวด้วยเหตุอื่น หรือเพื่อเลี้ยงดูบุตร)
– ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
– ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับอนุญาตได้
-ให้จัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นไว้แล้วลาหยุดไปก่อนได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว หรือมีเหตุพิเศษ ที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนหยุดได้ เมื่อหยุดไปแล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทราบทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ลาพักผ่อน

การพักผ่อน ; ลาหยุดเพื่อพักผ่อนประจำปี
• อำนาจการลา (ผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับทุกตำแหน่งใน สนง.เขตฯ)
• มีสิทธิลาในปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ (เว้นแต่ทำงานยังไม่ครบ 6 เดือน) สะสมวันลาได้ ไม่เกิน 20 วันทำการ หรือ 30 วันทำการ (สำหรับผู้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี)
• ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน เพราะมีวันหยุดภาคการศึกษา และได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อน

ลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ; ลาหยุดของข้าราชการผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธ ศาสนา และสำหรับข้าราชการนับถือศาสนาอิสลามประสงค์จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
• อำนาจการลา (ผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับทุกตำแหน่งในเขตพื้นที่) ;อำนาจเลขา กพฐ.มอบ
• ยื่นก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน ต้องบวชหรือเดินทางภายใน 10 วันนับตั้งแต่วันเริ่มลา กลับมารายงานตัวภายใน 5 วันนักจากสิกขาหรือเดินทางกลับถึงไทยหลังพิธีฮัจย์

ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ;
• อำนาจการลา (เลขา กพฐ.) การหยุดราชการต้องไม่นานจนเกินไป หากนานเช่นเข้าเป็นทหารประจำการต้องสั่งให้ออกตามกฎหมายบริหารงานบุคคล
• การลาเข้ารับการตรวจเลือก ; ลาหยุดราชการของข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับ ราชการเป็นทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
• การลาเข้ารับการเตรียมพล ;ลาหยุดราชการของข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกให้ไปเข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
• รายงานการลาไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง(ตรวจเลือก) ภายใน 48 ชั่วโมง(เตรียมพล) เมื่อพ้นแล้วต้องรายงานตัวต่อ ผบ.ภายใน 7 วันขยายได้ไม่เกิน 15 วัน

ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน

การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ; การลาเพื่อไปศึกษา ฝึกอบรมปฏิบัติงานวิจัย หรือดูงานทั้งในและต่างประเทศ
• ภายในประเทศ (อำนาจ ผอ.รร.สำหรับบุคลากร.ในโรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับ ผอ.รร.และบุคลากรในสำนักงานฯ)
• ต่างประเทศ เฉพาะกรณีดูงาน (อำนาจผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับบุคลากรในเขตพื้นที่ฯ) ; อำนาจเลขา กพฐ.มอบ ,ต่างประเทศ กรณี ศึกษาต่อ ฝึกอบรม วิจัย (อำนาจ เลขา กพฐ.)

ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ;
• อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นับเวลาเหมือนเต็มเวลาราชการ
• ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศที่มีเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดเวลา
• ให้รายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 30 วัน

ลาติดตามคู่สมรส

การลาติดตามคู่สมรส ; ลาหยุดราชการเพื่อติดตามคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงาน (1 ปีขึ้นไป)ในต่างประเทศ ไม่รวมถึงการลาศึกษา ฝึกอบรมฯ
• อำนาจเลขาธิการ กพฐ. นับเวลาเหมือนเต็มเวลาราชการ
• ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และ ขอลาต่อได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี (เกิน4ปี ต้องลาออก)
• ไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลาติดตามคู่สมรส
• ลาได้ใหม่อีก เมื่อคู่สมรสได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานประจำในประเทศไทย แล้ว ต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศอีก

ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ; ลาสำหรับข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการใน หน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่จนทำให้ตกเป็นผู้ ทุพพลภาพหรือพิการ
• อำนาจเลขาธิการ กพฐ. ไม่เกิน 12 เดือน
• มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน

 

Related Articles

Back to top button
QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี