สาระน่ารู้

มารี กูรี (Marie Curie)

มารี กูว์รี เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักรวรรดิรัสเซีย  ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์ เป็นบุตรของบรอนีสวาวา กับววาดึสวอฟ มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูว์รีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน

ววาดึสวอฟ (บิดา) เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องปฏิบัติการเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แม้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครองโปแลนด์และบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการก็ตาม

ในสมัยนั้นค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ซึ่งมารี กูว์รี แตกต่างโดยสิ้นเชิง ที่ใส่ใจค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาล สอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ แถว ๆ นั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอเนีย ไปเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาวไม่พอต่อค่าใช้จ่าย เธอจึงดิ้นรนหางานทำจนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมีของปีแยร์ กูว์รี จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ปีแยร์เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน ระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนมาพบรังสีแร่ธาตุเรเดียม โดยได้มาจากแร่พิตช์เบลนด์ที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่กระจายรังสีได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่าง ๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอกในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม

 

จนในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่างและความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลต่อมา

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม เมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่าง ๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

หลังจากปีแยร์ กูว์รี สามีของเธอจากไป มารีเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับนักฟิสิกส์ที่มีภรรยาแล้ว มีหลักฐานปรากฏชัดเป็นจดหมายรักที่เธอเขียน เรื่องได้เปิดเผยสู่สาธารณชนก่อนที่เธอจะเข้ารับรางวัลโนเบลครั้งที่สอง มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และกีดกันไม่ให้เธอเข้ารับรางวัล แต่เธอกลับกล่าวว่าเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับการรับรางวัล

อนึ่ง มารี กูว์รี สามารถจดสิทธิบัตรได้ และทำให้เธอเป็นเศรษฐีได้ในพริบตา แต่เธอกลับเลือกที่จะมอบสิ่งที่เธอค้นพบให้กับโลก ทำให้เธอและครอบครัวเป็นเพียงครอบครัวนักวิทยาศาสตร์จน ๆ ตลอดจนเสียชีวิต

หลังการเสียชีวิตของ มารี กูว์รี หนึ่งในลูกสาวของเธออีแรน ฌอลีโย-กูว์รี ก็ได้ค้นคว้างานวิจัยของเธอต่อไป จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

 

Related Articles

Back to top button
QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี