สาระน่ารู้

นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)

 

 

นิโคลา เทสลา เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 – ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี)
เป็นนักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย – ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน

เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย

ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นที่สนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาณ หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญาณไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญาณวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล

เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น “นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน”

เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486

หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ “The Greatest American” โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery

การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียม, ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย

ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

เทสลาถึงแม้จะเป็นคนที่สุภาพและมีผู้หญิงหลายคนพยายามแข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจเขา แต่เทสลา
กลับไม่เคยแต่งงานหรือพบว่ามีความสัมพันธ์ใดๆ โดยเทสลากล่าวว่าการถือพรหมจรรย์ของเขานั้นช่วยได้มากในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปั้นปลายชีวิตเขากล่าวว่า “บางทีการที่เขาเลือกที่จะไม่แต่งงานอาจเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับงานของเขา”

เทสล่าค่อนข้างเป็นคนสันโดษและปลีกตัวจากสังคมเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเข้าสังคม ผู้คนรอบข้างต่างพูดถึงในเชิงบวกและชมเชยเขา Robert Underwood Johnson บรรยายถึงลักษณะเฉพาะตัวของเทสล่าว่า “เป็นคนอ่อนหวาน, จริงใจ, ถ่อมตัว, เรียบร้อย, มีความกรุณา, และน่าเชื่อถือ” Dorothy Skerrit เลขาส่วนตัวของเทสลากล่าวว่า “ความมีไมตรีและบุคลิกส่วนตัวที่ดูสูงส่งและสง่าผ่าเผยแสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเขา” Julian Hawthorne เพื่อนของเทสลากล่าวว่า “หายากมากที่คุณจะพบนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่เป็นทั้งกวี, นักปรัชญา, ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีดีๆ, นักภาษาศาสตร์, และผู้ที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม”

ผู้คิดค้นเทคโนโลยีล้ำยุคหรือนักฝันสติเฟื่อง

 

เทสลาทุ่มเทเวลาและความพยายามที่จะพัฒนาการส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายโดยต่อยอดจากหลอดไฟไร้สายที่เขาทำสำเร็จมาแล้ว เทสลามีเป้าหมายยิ่งใหญ่เขาคิดว่านี่ไม่เพียงแต่เป็นวิธีส่งพลังงานไปได้ทั่วโลกเท่านั้น มันยังสามารถส่งสัญญาณการสื่อสารไปได้ทั่วโลกอีกด้วย เขายังมีแนวคิดจะทำโลกทั้งใบให้เป็นสื่อนำไฟฟ้าเพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปให้คนทุกคนในโลกได้ใช้กระแสไฟฟ้าอย่างเสรี

ปี 1899 เทสลาได้สร้างสถานีทดลองที่เมือง Colorado Springs ที่ประกอบด้วยขดลวดขนาดใหญ่สามารถสร้างความดันไฟฟ้าหลายล้านโวลต์ สามารถปล่อยประกายไฟยาวถึง 41 เมตร เพื่อทดลองแนวคิดด้านการส่งพลังงาน ระหว่างอยู่ที่นี่เทสลาได้สังเกตพบสัญญาณประหลาดจากเครื่องรับ เขาคิดว่าสัญญาณส่งมาจากดาวอื่น ไม่มีใครเชื่อเขา แต่ภายหลังได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง

ปี 1901 เทสลาทำโครงการใหญ่สร้างหอคอยสูง 57 เมตร เรียกว่า Wardenclyffe Tower ที่เมือง Shoreham บนเกาะ Long Island เพื่อทดลองส่งพลังงานไฟฟ้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก หอคอยเสร็จราวกลางปี 1902 เทสลาไปทำงานทดลองที่หอคอยได้ราว 3 ปีก็เกิดปัญหาเงินทุนหมด ประกอบกับเทสลามีหนี้สินมาก เขาจึงต้องจำนองหอคอยใช้หนี้ แล้วหอคอยก็ถูกยึดไปในปี 1915 สุดท้ายเทสลากลายเป็นบุคคลล้มละลาย

วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 ร่างของนิโคลา เทสลาถูกพบเสียชีวิตที่ห้อง 3327 โรงแรม New Yorker Hotel ในเมืองนิวยอร์ก โดยผู้พบศพเป็นคนแรกคือพนักงานทำความสะอาดชื่อ อลิซ โมนาร์คฮัน ที่เธอถือวิสาสะเปิดประตูห้องของเทสลาเข้าไปโดยไม่สนใจป้ายห้ามรบกวนที่เทสลาแขวนไว้ที่ประตูห้องเมื่อ 2 วันก่อน แพทย์วินิจฉัยว่าเทสลาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว รวมอายุได้ 86 ปี ซึ่งไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่นอนของการเสียชีวิตได้ แต่มีการคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างช่วงบ่ายของวันที่ 5 มกราคม ถึงช่วงเช้าของวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943

หลังจากที่นิโคลาเสียชีวิตลง ผู้อำนวยการ FBI เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป

ผลงานเด่น

  1. ผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา(Tesla coil) และค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา
  2. ผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)
  3. ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟแบบใช้ก๊าซให้แสงสว่าง หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์
  4. ผู้คิดทฤษฎีของเครื่องเรดาร์
  5. ผู้คิดรีโมตคอนโทรล

 

Related Articles

Back to top button
QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี