ด่วนล่าสุด! กรมบัญชีกลางปรับปรุงหลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล

วันนี้ ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับกรมบัญชีกลางปรับปรุงหลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล มาฝากกันค่ะ ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่า หลักเกณฑ์ ที่มีการปรับปรุงใหม่จะเริ่มใช้วันที่ 16 เม.ย. 64

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ได้ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตั้งแต่ปี 2553 โดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ายาจำนวน 3 รายการ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติก (Rheumatic Disease Prior Authorization : RDPA) ประกอบด้วย

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างสูง จึงทำให้มีรายการยาชีววัตถุ (Biologic drugs) หรือยาสังเคราะห์มุ่งเป้า (Targeted therapies) ซึ่งเป็นยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่ใช้ในการรักษากลุ่มโรครูมาติกเพิ่มมากขึ้น กรมบัญชีกลางร่วมกับสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพและครอบคลุมการรักษาที่จำเป็นมากขึ้น รวมทั้ง เพิ่มการเข้าถึงยาในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก โดยกำหนดรายการยาจำนวน 8 รายการ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ประกอบด้วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ในเด็กชนิดมีอาการทางซิสเต็มมิก และโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดไม่มีอาการทางทางซิสเต็มมิก โดยจะเริ่มใช้สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

การเบิกค่ายารักษาผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกข้างต้นในระบบเบิกจ่ายตรง ให้สถานพยาบาลดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ RDPA เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกจ่ายค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยา สำหรับผู้ป่วยรายเดิมที่เคยได้รับการอนุมัติเบิกจ่ายค่ายาในระบบ RDPA แล้ว ให้เบิกจ่ายตรงค่ายาได้จนกว่าจะหยุดการรักษาด้วยยาดังกล่าว
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า การเบิกจ่ายค่ายาของสถานพยาบาลที่ผ่านมามีการส่งเบิกค่ายาเกินอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดส่งผลให้ต้องมีการเรียกเงินคืนค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล และอาจเกิดข้อโต้แย้งจากสถานพยาบาล ดังนั้น เพื่อให้การส่งเบิกค่ายาของสถานพยาบาลเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงกำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา บางรายการ โดยให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งชี้ เช่น ยา Infliximab และ Secukinumab ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกและผู้ป่วยกลุ่มโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการทบทวนอัตราการเบิกค่ายาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับอัตราเบิกจ่ายค่ายาที่กำหนดนั้น ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 127 7000 ต่อ 6850 ในวัน เวลาราชการ

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ได้ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตั้งแต่ปี 2553 โดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ายาจำนวน 3 รายการ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติก (Rheumatic Disease Prior Authorization : RDPA) ประกอบด้วย

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างสูง จึงทำให้มีรายการยาชีววัตถุ (Biologic drugs) หรือยาสังเคราะห์มุ่งเป้า (Targeted therapies) ซึ่งเป็นยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่ใช้ในการรักษากลุ่มโรครูมาติกเพิ่มมากขึ้น กรมบัญชีกลางร่วมกับสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพและครอบคลุมการรักษาที่จำเป็นมากขึ้น รวมทั้ง เพิ่มการเข้าถึงยาในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก โดยกำหนดรายการยาจำนวน 8 รายการ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ประกอบด้วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ในเด็กชนิดมีอาการทางซิสเต็มมิก และโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดไม่มีอาการทางทางซิสเต็มมิก โดยจะเริ่มใช้สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

การเบิกค่ายารักษาผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกข้างต้นในระบบเบิกจ่ายตรง ให้สถานพยาบาลดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ RDPA เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกจ่ายค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยา สำหรับผู้ป่วยรายเดิมที่เคยได้รับการอนุมัติเบิกจ่ายค่ายาในระบบ RDPA แล้ว ให้เบิกจ่ายตรงค่ายาได้จนกว่าจะหยุดการรักษาด้วยยาดังกล่าว
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า การเบิกจ่ายค่ายาของสถานพยาบาลที่ผ่านมามีการส่งเบิกค่ายาเกินอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดส่งผลให้ต้องมีการเรียกเงินคืนค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล และอาจเกิดข้อโต้แย้งจากสถานพยาบาล ดังนั้น เพื่อให้การส่งเบิกค่ายาของสถานพยาบาลเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงกำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา บางรายการ โดยให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งชี้ เช่น ยา Infliximab และ Secukinumab ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกและผู้ป่วยกลุ่มโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการทบทวนอัตราการเบิกค่ายาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับอัตราเบิกจ่ายค่ายาที่กำหนดนั้น ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 127 7000 ต่อ 6850 ในวัน เวลาราชการ

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่ได้รับยากลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine) จำนวน 39,560 ราย ผลการเบิกจ่าย ค่ายาดังกล่าว เป็นจำนวนเงินกว่า 101.4 ล้านบาท ประกอบกับหลักเกณฑ์การเบิกค่ายาบรรเทาอาการข้อเสื่อม ที่ออกฤทธิ์ช้า และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 รวมถึงราชวิทยาลัยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ได้ทำการศึกษาวิจัยข้อมูลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันผู้ป่วย มีอายุเฉลี่ยลดลง อีกทั้งการได้รับยากลูโคซามีนซัลเฟตต้องได้รับยาในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี จะช่วยลดอาการปวดและช่วยลดการแคบของข้อได้ดีกว่าการใช้ยาในระยะสั้น กรมบัญชีกลางจึงร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และชมรมศัลยแพทย์ข้อสะโพกข้อเข่าแห่งประเทศไทย พิจารณาทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกค่ายาบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. การเบิกจ่ายค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ให้เป็นไปตามแนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต โดยให้ใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ (ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีผล X-ray ตั้งแต่ Kellgren and Lawrence grade 1 – 3 ) เท่านั้น โดยการสั่งใช้ยาต้องไม่เกินครั้งละ 12 สัปดาห์

2. การเบิกจ่ายค่ายาคอนดรอยตินซัลเฟต ไดอะเซอเรน และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อมให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติในหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 111 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555

3. การเบิกจ่ายค่ายาบรรเทาอาการข้อเสื่อมตามข้อ 1 และ 2 ให้เบิกจ่ายในระบบเบิกจ่ายตรง ค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงิน มายื่นเบิกค่ายากับส่วนราชการต้นสังกัดได้ทุกกรณี

“การปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว มีความมุ่งหวังให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาเพื่อทำการรักษาโรคได้ตั้งแต่ ระยะเริ่มต้น ส่งผลให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางมารับยา อีกทั้งจะทำให้กรมบัญชีกลางมีฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบและประเมินคุณภาพในการรักษาร่วมกับ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ สถานพยาบาล ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.2/ว 167 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2564

 

 

ขอขอบคุณที่มา : กรมบัญชีกลาง

Advertisements
Advertisements

Comments are closed.