เตรียมชี้ขาด! จ่อทบทวนเกณฑ์จัดสรรอัตราครู สพฐ. โยน “ก.ค.ศ.” ชี้ขาดชะลอหรือไม่

วันนี้ ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์จัดสรรอัตราครู  มาฝากกัน ล่าสุดมีรายงานด่วนว่า สพฐ. โยน ก.ค.ศ. เป็นผู้ชี้ขาดทบทวนเกณฑ์จัดสรรอัตราครู  ว่าจะมีการชะลอหรือไม่ สำหรับใครที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างได้เลยค่า

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ได้ยื่นหนังสือถึงน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ขอให้ชะลอการบังคับใช้เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาหรือ ว23/2563 สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กค.ศ.) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ขณะเดียวกันสพฐ.ได้ชะลอการสอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ และสอบบรรจุครูผู้ช่วยทั่วไป ประจำปี 2564 ทำให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) แต่ละแห่งไม่สามารถบรรจุครูผู้ช่วยได้ทันในภาครียนที่ 1/2564 หากใช้เกณฑ์ดังกล่าว จะทำให้ถูกตัดอัตรากำลังที่ว่างลงทันทีขณะที่โรงเรียนไม่สามารถหาครูมาทำหน้าที่สอนทดแทนอัตราดังกล่าวได้ทัน ขณะที่นโยบายของ สพฐ.มุ่งเน้นแก้ปัญหาโดยการยุบและควบรวมโรงรียนขนาดเล็กเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาในขณะที่เกณฑ์อัตรากำลังของสำนักงาน ก.ค.ศ.มุ่งเน้นเกลี่ยอัตรากำลังจากโรงเรียนขนาดกลางขนาดใหญ่ และขาดใหญ่พิเศษไปสู่โรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนต่ำกว่า 120 คน จึงขัดแย้งกับนโยบายของสพฐ. ที่สำคัญการให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนทำหน้าที่ปฏิบัติงานสอนด้วย อาจส่งผลต่อการบริหารและการนิเทศก์ติดตาม จึงขอให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น การตัดสินใจชะลอหลักเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่เป็นอำนาจของก.ค.ศ ทั้งนี้การจัดอัตราครูตามเกณฑ์ใหม่ในช่วงแรก จะทำให้อัตราครูลดลงแต่ระยะยาวจะทำให้มีจำนวนครูต่อนักเรียนที่เหมาะสม เพราะนำจำนวนเด็กมาคำนวณร่วมด้วย จากเดิมที่ใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ทำให้บางโรงเรียนที่ครูเกินกว่าความต้องการขณะที่บางโรงเรียนมีปัญหาขาดแคลนครู

Advertisements

“ยอมรับว่า เกณฑ์นี้จะทำให้อัตราครูลดลง ถามว่าเป็นธรรมกับโรงเรียนแต่ละขนาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมุมมอง ซึ่งหากจะว่าตามจริงโรงเรียนที่กระทบมากที่สุดคือโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนเด็กน้อยอยู่แล้ว หากใช้จำนวนนักเรียนมาคำนวณร่วมด้วย ก็จะทำให้จำนวนครูลดลงไปอีก แต่ระยะยาวหากเรามีโรงเรียนที่มีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกัน ก็จะเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา ใช้เกณฑ์นี้อยู่แล้ว แต่โรงเรียนมัธยมศึกษา เพิ่งมาใช้ ดังนั้นต้องรอดูข้อดีข้อเสีย อย่างไรก็ตามยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีโรงเรียนใดนำเกณฑ์การจัดสรรอัตราครูใหม่ ไปใช้ เพราะก.ค.ศ.จะเริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการหลังวันที่ 10 มิถุนายน เป็นต้นไป” นายอัมพร กล่าว

นายวิสิทธิ์ ใจเถิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในฐานะนายกส.บ.ม.ท. กล่าวว่า ทางส.บ.ม.ท.ได้ยื่นหนังสือ เพื่อขอให้รัฐมนตรีว่าการศธ. พิจารณาทบทวนและแก้ไขหลัเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางน.ส.ตรีนุช ได้เชิญ นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการก.ค.ศ. มาหารือ คิดว่าจะมีการพิจารณาทบทวนเพราะเรื่องนี้โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง ทำให้อัตรากำลังครูลดลง อาจจะกระทบต่อคุณภาพการศึกษาในอนาคต

Advertisements

 

ขอขอบคุณที่มา : มติชน

Comments are closed.