หลายคนสงสัย สาขาขาดแคลน หมายถึงอะไร? อธิบายให้เข้าใจชัด

วันนี้ ครูประถม.คอม ข่าวการศึกษา ได้นำคำตอบที่หลายคนสงสัยมาฝากกัน เพราะมีหลายคนสงสัยว่า สาขาขาดแคลน หมายถึงอะไร? ซึ่งปัจจุบันมีการพูดถึง สาขาขาดแคลนมากขึ้น สำหรับใครที่ต้องการทราบความหมาย เราได้นำความหมายพร้อใมตัวอย่างเข้าใจง่ายมาฝากแล้วค่ะ

#สาขาขาดแคลน หมายถึงอะไร?
ตอบ : หมายถึง วิชาเอกที่ไม่มีผลิตในครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่สถานศึกษามีความต้องการในคราวนั้น ๆ หรือ ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ผลิต แต่ในขณะนั้น ไม่เพียงพอ
ยกตัวอย่าง ในปี 2560 ในการสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยของ สพฐ. มีการรับผู้จบสายวิทยาศาสตร์นอกครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เป็นสาขาขาดแคลน
แต่ในปี 2564 (ตามภาพประกอบ) ไม่ปรากฎสายวิทยาศาสตร์ เช่นนี้เป็นต้น
สาขาขาดแคลน เกิดขึ้นจากความต้องการของสถานศึกษา ซึ่งเป็นไปตามหลักการของหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุง 2560 ที่ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
ยกตัวอย่าง กรณีสภาพท้องถิ่น โรงเรียนในแถบมหาชัย จ.สมุทรสาคร เขตนี้มีแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะแรงงานพม่าเป็นจำนวนมาก นำเอาลูกหลานมาเข้าโรงเรียนด้วย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีครูที่เข้าใจภาษาพม่า เช่นนี้เป็นต้น
หรือ โรงเรียนที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น เขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมมีความต้องการภาษาต่างประเทศที่หลากหลาย เช่น เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส ฯ
หรือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ครูเฉพาะทางจริง ๆ ในการช่วยนักเรียน เช่น การบำบัดทางจิต การบำบัดทางร่างกาย ฯ
*ข้อสังเกตคือ มีการรับครูจำนวนน้อย ไม่มีทุกโรงเรียน ไม่ได้รับเป็นประจำ
สาขาขาดแคลน ปัจจุบัน ปรากฎในสายอาชีวะเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจาก การผลิตครูสายช่างมีจำนวนน้อยสาขา ซึ่งเป็นไปตาม Demand ของผู้เรียน
ครูสายช่าง มีชื่อว่า ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ชื่อย่อวุฒิ คอ.บ.
โรงเรียนในสังกัดอาชีวะ เฉลี่ย จังหวัดละ 1 แห่ง รวมทั้งหมด 429 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ สอศ.)
ขณะที่สายสามัญเฉพาะที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีจำนวนถึงสี่หมื่นกว่าโรงเรียน
ในการจัดการเรียนการสอนสายอาชีวะนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เป็นวิชาสามัญ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ฯ อันนี้ใช้ครูจากครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้เลย
2. ส่วนที่เป็นวิชาช่าง ส่วนนี้ครุศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตเอง แต่อย่างที่เขียน ผลิตเฉพาะที่เป็น Demand หลัก
สาขาวิชาขาดแคลนที่ สอศ. เคยขอรับรองไว้เมื่อปี 2558 มีจำนวนถึง 98 สาขา ปัจจุบันการรับรองนี้หมดอายุลงแล้ว
(อ้างอิงจากการขอรับรองวิชาเอกสาขาขาดแคลนต่อคุรุสภา ในประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่องกำหนดประเภทวิชาและสาขาวิชาขาดแคลน ลงวันที่ 9 มกราคม 2558)
สาขาขาดแคลน เข้าสู่กระบวนการเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร?
1. สอบบรรจุให้ได้ก่อน หรืออยู่ในวิชาชีพครูก่อน แล้วค่อยไปเรียนวิชาชีพครูเพิ่ม เพื่อสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป
2. เรียนวิชาชีพครูไว้ก่อนได้ไหม? ได้คะ ถ้าขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้แล้ว ครบ 5 ปี ยังไม่ได้เป็นครู อย่าลืมมาต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไว้ด้วยนะ
วิชาชีพครูที่ ป.ตรีอื่นเรียนเพิ่มมีอะไรบ้าง (คุรุสภาต้องรับรองและตรวจสอบการรับรองที่หน้าเว็บไซต์คุรุสภา)
1. ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (เรียกกันติดปากว่า ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)
2. ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) ข้อนี้มีหลายวิชาเอกนะ และวิชาเอกหลักสูตรและการสอนไม่ใช่หลักสูตรวิชาชีพครูทุกที่นะคะ
3.ปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพครู)
ดังนั้น การจะเข้าสู่การเป็นข้าราชการครูโดยการตั้งเป้าหมายว่า จะสมัครในสาขาขาดแคลนจึงไม่สมควรทำ แต่เราสามารถเลือกเรียนวิชาชีพอื่นที่เรารักโดยมีสาขาขาดแคลนเป็นโอกาสในอนาคต (someday) อันนี้สวยงามกว่า
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ต้องการจะเป็นครู และผู้เป็นครู จำเป็นต้องรู้คือ “หลักสูตรแกนกลาง” ซึ่งจะกำหนดการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติเอาไว้ว่าต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง? เพื่อให้เป็นประชากรของชาติแบบใด? ต้องการให้ประชากรขั้นพื้นฐานเรียนรู้อะไร? นั่นจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับต่ำกว่าปริญญาตรีต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และถ้าเราจะเลือกวิชาเอกที่มีการสมัครสอบบรรจุบ่อย ๆ เราควรเลือกวิชาเอกอะไร?
หลักสูตรแกนกลาง จะเป็นแผนที่นำทางให้