ดาวน์โหลดฟรี! คู่มือสู่เส้นทาง สู่เส้นชัย วPA รวบรวมโดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา

เป็นอีกเรื่องราวที่หลายคนติดตามกันมาก ขอแนะนำเสนอไฟล์เอกสาร คู่มือสู่เส้นทาง สู่เส้นชัย วPA รวบรวมโดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา คุณครูที่สนใจสามารถเข้าดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรี จากลิ้งค์ที่แนบมาในบทความได้เลยนะคะ

Advertisements

ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 การประเมินคุณสมบัติการเปลี่ยนผ่าน
ส่วนที่ 2 การประเมินคงสภาพวิทยฐานะ
ส่วนที่ 3 การประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

1.1 คุณสมบัติผู้ที่จะขอมีและเลื่อนวิทยฐานตามเกณฑ์ PA

หลักเกณฑ์ข้อ 1. ผู้ขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการหรือขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องมีคุณสมบัตินับถึงวันที่ยื่นคำขอ ดังต่อไปนี้

1.1 การขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งครูมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 4 ปี ติดต่อกัน หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
สำหรับการขอวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ติดต่อกัน หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่า

1.2 มีการพัฒนางานตามข้อตกลงในตำแหน่งครู หรือในวิทยฐานะครูชำนาญการ แล้วแต่กรณี ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 3 รอบการประเมิน โดยในแต่ละรอบการประเมินต้องมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

1.3 มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่เคยถูกวินิจฉัยขี้ขาดทางจรรยาบรรณวิชาชีพที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ หากปีใดข้าราชการครูถูกลงโทษทางวินัยหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือถูกวินิจฉัยขี้ขาดทางจรรยาบรรณวิชีพที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ ไม่ให้นำระยะเวลาในปีนั้นมาใช้เป็นคุณสมบัติตามข้อนี้

กรณีผู้ขอมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง หรือการดำรงวิทยฐานะของผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามที ก.ค.ศ. กำหนด ให้ลดระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ ข้อ 1.1 เหลือ 3 ปี ติดต่อกัน มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 1.2 จำนวน 2 รอบการประเมินและลดช่วงระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ข้อ 1.3 เหลือ 4 ปี

ทั้งนี้ ให้ผู้ขอและผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้รับรองข้อมูล หลักฐาน และคุณสมบัติชของผู้ขอ หากภายหลังตรวจสอบแล้วพบว่า มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ

2.2 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคงสภาพวิทยฐานะ

  1. เมื่อข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงวิทยฐานะใดแล้ว จะต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

2.ให้ข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะ ทุกวิทยฐานะ ได้รับการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงจากคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ตามที่กำหนดไว้ในหมวด 2 เป็นประจำทุกรอบการประเมิน โดยให้ถือว่า คณะกรรมการดังกล่าว เป็นคณะกรรมการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ด้วย

3.ข้าราชการครู ที่มีผลการประเมินการพัฒนางนตามข้อตกลง ผ่านเกณฑ์ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผู้ที่ผ่นการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงในรอบการประเมินใดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแจ้งให้ข้าราชการครูผู้นั้นทราบ และให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ผ่านการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะเพื่อดำรงไว้ ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่บรรจุและแต่งตั้งในรอบการประเมินนั้น

4.ข้าราชการครูที่มีผลการประเมินการพัฒนางนตามข้อตกลง ไม่ผ่านเกณฑ์ ในรอบการประเมินใดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแจ้งให้ข้าราชการครูผู้นั้นทราบ และให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะเพื่อดำรงไว้ ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับกรบรรจุและแต่งตั้ง ในรอบการประเมินนั้น โดยให้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตามนัยมาตรา 55 วรรค ต่อไป

กรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ดำเนินการตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

(๑) ให้มีการพัฒนาข้าราชการผู้นั้นให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพื่อให้สามารถผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานได้

(๒) ให้ดำเนินการในมาตรการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา ๗๓ หรืองดเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินวิทยฐานะ แล้วแต่กรณี

(๓) ในกรณีที่ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับที่กำหนด ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา *๓ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๑๑ㆍ (๖) การดำเนินการตามวรรคสองให้

เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

*(พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 55)

2.3 การเขียนข้อตกลง การพัฒนางานตามข้อตกลง ก่อนจะมีการประเมินผลงาน

ตามข้อตกลงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่ ศธ 0206.3/ ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 หมวด 2 กำหนดไว้ว่า ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) มีองค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน

Advertisements

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของ

ผู้เรียน โดยครูต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดคัน ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้อมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทของสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการ และกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

ให้ข้าราชการครูจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามแบบ ที่ก.ค.ศ.กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกรณีที่ข้าราชการครูย้ายระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานกับผู้อำนวยสถานศึกษาคนใหม่

4. การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง

4.1 ให้คณะกรรมการประเมิน ตามข้อ 3 ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงของข้าราชการครูในแต่ละรอบการประเมิน โดยพิจารณาประเมินตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะ ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด

4.2 ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบระบบ DPA และนำเข้าข้อมูลผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงในแต่ละรอบการประเมินของข้าราชกรครูแต่ละราย เข้าสู่ระบบดังกล่าวเป็นประจำทุกรอบการประเมิน โดยให้ดำเนินการตามคู่มือการใช้งานระบU DPA ที่ ก.ค.ศ. กำหนด (ครู 6 แสน คน จะต้องนำเข้าทั้งหมดหรือไม่)

4.3 ข้าราชกาครูต้องมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมินการพัฒนางาน ตามข้อตกลง ผ่านเกณฑ์ โดยต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

ตัวอย่างไฟล์ คู่มือสู่เส้นทาง สู่เส้นชัย วPA

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ขอบคุณที่มา : ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา ประธานหน่วยพัฒนาหจก.เพื่อครู เฟชกลุ่ม “พาคิด พาทำ ตาม วPA”

Comments are closed.