อานักซิมานเดอร์ ANAXIMANDER
-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
อานักซิมานเดอร์เกิดราว 610 B.C. เป็นกรีกคนแรกที่เขียนหนังสือเป็นร้อยแก้ว(prose) หนังสือเล่มนี้สูญหาย แต่ก็มีคุณค่าต่อนักปราชญ์ มักถูกใช้อ้างบ่อยๆ คำอ้างอิงที่เกี่ยวกับความคิดเริ่มต้นและทั่วไปของปัญหาของอานักซิมานเดอร์ที่ธาเลสยกขึ้นม่าดังนี้
๑) สาเหตุของวัตถุและธาตุแรกเป็นอนันต์ สาเหตุของมวลไม่ใช่น้ำหรือธาตุอื่นแต่เป็นสาเหตุที่แตกต่างไป เป็นอนันต์ที่เกิดจากสวรรค์ทั้งหมดและโลกภายในของมัน
๒) นี่เป็นชั่วนิจนิรันดร์และไม่มีอายุที่ครอบคลุมคำทั้งหมด
๓) สิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องผ่านการตายอีกครั้ง ทำการซ่อมแซม พอใจต่อกันตามการเรียงลำดับเวลา
๔) มีการเคลื่อนที่นิรันดร์ที่นำมาให้กำเนิดแก่โลก
๕) ไม่ได้บอกกำเนิดของสิ่งกับการเปลี่ยนแปลงในมวลสารแต่บอกว่าsubstratum แยกกันอยู่
จากคำอ้างอิงเหล่านี้มีหลายค่าที่อานักซิมานเดอร์ไม่ได้ใช้ด้วยตัวเอง เขาอาจสมมุติมาจากกวี ยากที่จะนึกภาพว่าเขาคิดได้อย่างไรถ้าไม่มาจากตัวเอง
เป็นศิษย์ธาเลส ศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำแผนที่โลก เผยแพร่นาฬิกาแดดแก่กรีก เขียนหนังสือปรัชญา On Nature ซึ่งเป็นตำราเล่มแรกของกรีก ปฐมธาตุเป็นอนันต์ ที่ไม่มีลักษณะตายตัว เป็นอะไรก็ได้หรือเป็นพลังงาน
อแนกซีเมเนส(Anaximenes) เป็นศิษย์อานักซิมานเดอร์บอกว่าน้ำและอนันต์ไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุ
Anaximander นักปราชญ์ชาวกรีก ผู้วางรากฐานดาราศาสตร์ ผู้เขียนตำราภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาด้วย ซึ่งนักศึกษาในสมัยโบราณได้ใช้ศึกษาและใช้สืบต่อกันมาในอีกหลายศตวรรษ และเขายังเป็นผู้ที่นิยมในหลักเหตุผล โดยใช้ทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแนวคิดทางดาราศาสตร์ของเขาได้ต่างไปจากแนวคิดดั้งเดิมก่อนหน้านี้อย่างมาก และเบิกทางให้กับความสำเร็จของนักดาราศาสตร์ในรุ่นหลัง
อานักซิมานเดอร์ Anaximander
อานักซิมานเดอร์ Anaximander 611 – 524 B.C.) จากการตอบคำถามเรื่องปฐมธาตุของธาเลสได้ก่อให้เกิดวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป แต่ธาเลสก็ไม่ได้ให้คำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลมากนักกับการตอบปัญหาเรื่องปฐมธาตุ อนักซิแมนเดอร์ซึ่งเป็นศิษย์ของธาเลสเสนอว่า สิ่งที่เป็นปฐมธาตุน่าจะเป็นสิ่งที่มีสภาวะไม่จำกัดมากกว่าจะเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะดังเช่นน้ำที่ธาเลสเสนอ เขามีความเห็นว่าหากเสนอว่าสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งเป็นสิ่งจำกัดจะเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่าสิ่งจำกัดดังกล่าวจะกลายเป็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร ดังนั้นหากเป็นสิ่งที่มีลักษณะไม่จำกัดที่เรียกว่า สิ่งไม่จำกัด (Infinite being) ที่มีลักษณะไร้รูป (Formless) น่าที่จะเป็นคำอธิบายเรื่องปฐมธาตุอันเป็นที่มาของสรรพสิ่งได้ดีมากกว่า ข้อเสนอของอนักซิแมนเดอร์มีความน่าสนใจอยู่ที่ว่า นอกจากการอธิบายถึงสิ่งที่เป็นปฐมธาตุ เขาคิดถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เป็นปฐมธาตุไปเป็นสิ่งต่างๆ ด้วย ซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งว่ามีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตามมา
อานักซิมินิส (Anaximenis 588 – 524 B.C.) เขาเห็นด้วยกับ อานักซิมานเดอร์ ที่ว่า ปฐมธาตุน่าจะเป็นสิ่งไม่จำกัดหรือเป็นสิ่งไร้รูป แต่เขาเห็นว่า เราไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่าสิ่งไม่จำกัดหมายถึงสิ่งใด หรือหากสิ่งที่ไม่จำกัดมีอยู่จริงมนุษย์ทำไมเราถึงไม่สามารถรับรู้การมีอยู่ของมันได้ จากพื้นฐานแนวคิดเช่นนี้จึงทำให้เขามีความเห็นว่าปฐมธาตุน่าจะเป็น อากาศ (Air) เนื่องจากมีลักษณะตรงกับที่อนักซิแมนเดอร์กล่าวถึง คือ เป็นสิ่งที่ไม่จำกัดและไร้รูป ในขณะเดียวกันอากาศก็มีอยู่มากมายในโลก และมนุษย์ก็สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของอากาศได้ด้วย เขาอธิบายถึงกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของอากาศไปเป็นสิ่งต่างๆ ว่า เมื่ออากาศอัดตัวกันแน่นเข้าก็จะเกิดเป็นของเหลว หรือหากแน่นมากยิ่งขึ้นก็จะกลายเป็นของแข็ง ดูตัวอย่างได้จากเมฆที่เป็นอากาศชนิดหนึ่ง เมื่อเมฆรวมตัวกันมากขึ้นก็จะกลายเป็นฝนตกลงมา ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ หรือกลายเป็นพื้นดิน และการอัดตัวแน่นจะทำให้มีลักษณะที่แข็งขึ้น กลายเป็นโคลน เป็นดิน เป็นก้อนหิน และวัตถุอื่นๆ ตามลำดับ หรือหากอากาศรวมตัวกันเจือจางลงก็จะกลายเป็นไฟ เป็นต้น คำอธิบายของอนักซิมินิสมีความสนใจคือ เขาอธิบายถึงสิ่งที่เป็นที่มาของสรรพสิ่งได้อย่างมีรายละเอียด และอธิบายถึงขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เป็นปฐมธาตุไปเป็นสิ่งต่างๆ อย่างมีขั้นตอนสามารถทำความเข้าใจได้ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแนวคิดเรื่องปฐมธาตุของธาเลสและอนักซิแมนเดอร์ไปไกลขึ้นอีกขั้นตอนหนึ่ง
นักปรัชญากลุ่มไอโอนิกยังมีอีกหลายท่าน แต่นักปรัชญาทั้ง 3 คนนี้ เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนา ริเริ่มการตอบปัญหาในเชิงปรัชญาและวิธีการแบบปรัชญาในยุคเริ่มแรก มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวคิดของนักปรัชญากลุ่มนี้ที่สำคัญ 2 ข้อ คือ 1) นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อในเอกภาวะ หรือที่เรียกว่า แนวคิดแบบเอกนิยม (Monism) นั่นคือ มีแนวคิดว่าสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดอันแท้จริงของสรรพสิ่งมีเพียงสิ่งเดียว ซึ่งอาจตั้งคำถามได้ว่า ทำไมต้นกำเนิดของสรรพสิ่งจึงต้องเป็นสิ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น และ 2) นักปรัชญากลุ่มนี้เป็นนักสสารนิยม (Materialism) หรือเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า สิ่งที่มีอยู่แท้จริงเป็นสสาร หรือเป็นวัตถุที่สามารถรับรู้ได้ในเชิงกายภาพ