การวัดและประเมินผลครูประถมความรู้สำหรับครู

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน จะยึดตามตัวชี้วัด จะประเมินโดยใช้วิธีการ 4 รูปแบบ (โดยสถานศึกษา / ครูผู้สอนเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมิน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

รูปแบบที่ 2 การใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

รูปแบบที่ 3 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ

รูปแบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

  • สถานศึกษาส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบที่ 1 คือ บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
  • การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ควรประเมินในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด
  • หากประเมินโดยใช้เวลานอกห้องเรียน ควรมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มที่สะท้อนความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นพิเศษ
  • จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินเป็นครั้งๆ แล้วนำผลมาสรุปรวมโดยควรแบ่งระยะเวลาสรุปเป็นช่วงๆ
  • สำหรับตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับประถมศึกษามีดังนี้

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3

  1. สามารถอ่านหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย

  2. สามารถอ่านจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน

  3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม

  4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ

  5. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

  1. สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่างๆ

  2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน

  3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน

4.สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน

  1. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

การตัดสินผลการประเมินเพื่อเลื่อนชั้น – ใช้ผลการประเมินปลายปี

การตัดสินผลการประเมินเพื่อจบระดับการศึกษา- ใช้ผลการประเมินปลายปี

สุดท้ายของระดับการศึกษา

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มี ๔ ระดับ ดังนี้

ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

เขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

ดี           หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

       เขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

ผ่าน       หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

        เขียนที่มีข้อบกพร่องบางประการ

ไม่ผ่าน   หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์

  และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุง

  แก้ไขหลายประการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก krupuk

Related Articles

Back to top button
QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี