แก้วิกฤตงานบริหารบุคคลของ สพฐ. ขาดแคลน ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ สังกัด สพฐ.

ข่าวดีสำหรับผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษามือใหม่ หรือแม้กระทั้งบุคลากรคนใดที่มีประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ ที่พร้อมมาบริหารโรงเรียนของเราให้มีประสิทธิภาพ สำหรับครูประถมอย่างเราก็จะมีผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ เพื่อพัฒนาโรงเรียนของเราแทนผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เกษียณอายุราชการ

วันนี้ (29 ก.ค.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รายงานข้อมูลประเด็นปัญหาความเร่งด่วนเรื่องการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบแล้ว โดยเป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. เนื่องจากในเดือนตุลาคม 2562 นี้จะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 2,293 คน และยังมีตำแหน่งรองผอ.สถานศึกษาที่ว่างอยู่อีก ประมาณ 4,000 อัตรา ซึ่งถือเป็นเรื่องวิกฤตอย่างมาก รวมถึงการเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่จะให้มีการสอบขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี

Advertisements

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ให้ครบทุกจังหวัด จากเดิมมีเพียง 42 เขตเท่านั้น โดยบางสพม.ต้องดูแลโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายจังหวัด อาจจะทำให้การขับเคลื่อนงานบางเรื่องมีความล่าช้า ดังนั้นเรื่องนี้ถือมีความจำเป็นเช่นกัน  ทั้งนี้ยืนยันว่าการเพิ่ม สพม.ให้ครบทุกจังหวัดจะไม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณและบุคลากรอย่างแน่นอน เนื่องจากจุดประสงค์หลักของเราคือต้องการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เพราะขณะนี้ สพม.บางเขตต้องดูแลโรงเรียนในหลายจังหวัดบุคลากรก็ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามคาดว่า ในเร็วๆนี้ รมว.ศึกษาธิการ จะมีการประชุมคณะกรรมการการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อที่จะได้มีมติขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลของสพฐ. ที่เป็นเรื่องวิกฤต ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะตนได้รายงานข้อมูลเบื้องต้นเป็นองค์ประกอบให้รับทราบแล้ว

ที่มา: เดลินิวส์

Advertisements

Comments are closed.